Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

อัพเวล..วิศวะ พีไอเอ็ม สร้างคนดิจิทัลพันธุ์ล้ำ ทันเทรนด์อาชีพอนาคต

Posted By PR PIM | 25 ก.พ. 63
56,225 Views

  Favorite

 

Banner
PR PIM

    “Digital Transformation” ยุคที่โลกพัฒนาแบบติดสปีด เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีบทบาททั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม การปรับเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ สำหรับคนรุ่นใหม่การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ทำให้คำว่า “ดิจิทัล” กลายเป็นเป็นส่วนหนึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน อาชีพต่อจากนี้ไปจนถึงอนาคตจะเกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานที่ใช้ชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ ให้สามารถใช้งานง่าย สะดวกขึ้น ในยุคของข้อมูลที่ข่าวสารเทคโนโลยี เป็นส่วนผลักดันให้อาชีพเก่าบางอาชีพจะลดความสำคัญลง จากเดิมที่คุ้นเคยกับอาชีพด้านนี้ เช่น IT Support, Software Developer Programmer ปัจจุบันเราจะได้เห็นอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นอาทิ AI and Machine Learning Engineer, Data Scientist, Cloud Computing Engineering และ E-sports ซึ่งยังต้องการผู้มีความรู้ความสามารถด้านนี้อีกมากสำหรับภาคธุรกิจในอนาคต  

อ.พิสิษฐ์
PR PIM

     รองศาสตราจารย์ ดร. พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) กล่าวว่า “80% ของเทคโนโลยีใหม่ปี 2020 มีพื้นฐานมาจาก AI ทั้งหมด จึงปรับปรุงสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ที่เดิมเข้มแข็งอยู่แล้ว ให้นักศึกษามีความเข้าใจในระดับที่ลึกขึ้นตั้งแต่ปี 1 เช่นวิชาคณิตศาสตร์ก็สอดแทรก AI เข้าไป ส่วนทางสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, Blockchain, Cloud และ Big Data สอดรับกับเทรนด์ของโลกและนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ โดยทางคณะวิชาได้มีการวางแผนการปรับหลักสูตรมาก่อนหน้านี้แล้ว 2-3 ปี ผนวกกับการเรียนรูปแบบ Work-based Education ที่ส่งนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 2 ถึงปี 4 ค่อย ๆ สะสมข้อมูลว่าความรู้ที่จะต้องใช้มันเปลี่ยนไปแล้ว ประกอบกับได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการคอยอัพเดทข้อมูลความรู้ซึ่งกันและกันกับทางพีไอเอ็มอยู่เสมอ ๆ ไม่เพียงเท่านี้พีไอเอ็มได้ลงทุนเพิ่มเพื่อรองรับการทดลองของนักศึกษา ทั้งแอปพลิเคชันใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับห้องปฏิบัติการด้วย Hardware และ Software ที่ครอบคุมทั้งปัจจุบันและในอนาคต ทั้ง 2 สาขาวิชาตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ทั้ง A B C D (AI, Blockchain, Cloud, (Big) Data) เมื่อก่อนจะแทรกอยู่ในวิชาต่าง ๆ แต่ตอนนี้ดึงขึ้นมาให้ลึกให้ชัดเจนขึ้น เพิ่มความสดใหม่ของวิชา ให้เข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ได้”

รวมรูป
PR PIM

      สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)  จึงให้ความสำคัญและออกแบบหลักสูตรให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว มีแนวคิดยกระดับคุณภาพบัณฑิต ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรหลากหลายทั้งในและต่างประเทศ เสริมทัพด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง สนับสนุนการฝึกฝนทักษะ ปรับวิธีการสอน พัฒนาหลักสูตร มุ่งสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพพร้อมทำงาน  เพื่อป้อนสู่สถานประกอบการได้อย่างเหมาะสม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ

(Bachelor of Engineering; Program in Digital and Information Technology)

อ.พรรณเชษฐ
PR PIM

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรรณเชษฐ ณ ลำพูน หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี  พีไอเอ็ม ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จาก Polytechnic institute of New York University กล่าวว่า “ต้องการให้สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ ยกระดับหลักสูตรในเชิงรุก นักศึกษาที่จบไปสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย เราจึงคุยกับสถานประกอบการในแวดวงอุตสาหกรรมดิจิทัลว่า ทิศทางความต้องการของงานในอนาคตเป็นอย่างไรผนวกกับแนวโน้มการพัฒนาประเทศ ผลก็คือ งานด้านการพัฒนาโปรแกรม ด้านสื่อกราฟิก ด้านวิทยาการข้อมูล ระบบ Cloud กำลังมาแรง นี่จึงเป็นเหตุผลว่า จะเรียนไอทีอย่างเดียวคงไม่พอ เราจะเน้นหนักไปกับสื่อดิจิทัลและจะเทรนนิ่งให้นักศึกษาเน้นการลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงมีความสามารถใช้เครื่องมือด้านกราฟิกได้อย่างเชี่ยวชาญ เช่น Software ที่นิยมในปัจจุบัน สำหรับวิชาวิทยาการข้อมูล (Data Science) เป็นอีกหนึ่งวิชาที่เพิ่มขึ้นในหลักสูตร นักศึกษาจะได้เรียนครบตั้งแต่การเก็บข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูล การสกัดคุณลักษณะข้อมูล การสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายหรือจำแนกข้อมูล การจัดกลุ่มข้อมูล รวมไปถึงการสร้างรายงานและการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต และอีกหนึ่งโปรแกรมที่น่าสนใจ คือ 3D Animation เน้นให้เก่งแอนิเมชัน สร้างตัวละครได้ มีไอเดียการเล่าเรื่อง ดึงความรู้สึกของตัวละครออกมานำเสนอได้ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จด้านนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ไปคว้าแชมป์แอนิเมชัน “โครงการ Software Park – Wealth Magik เงินออมสร้างชาติ Awards Season 4” ซึ่งเป็นการ์ตูนเผยแพร่ความรู้ด้านการเงิน เรียนรู้การนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือช่วยบริหารเงินออมให้งอกเงย”

รวม 2 รูป
PR PIM

      คำว่า “IT” จึงกลายเป็นคำที่ General สำหรับยุคนี้ พีไอเอ็มจึงยกคุณภาพหลักสูตรให้นักศึกษาสามารถต่อยอดเชิงธุรกิจทันกระแสของอุตสาหกรรมในอนาคต “New S-curve” ตอบโจทย์ที่รัฐบาลต้องการให้มีการขับเคลื่อนและทำทุกกระบวนการให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดแรงงานอย่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) งานด้านดิจิทัลจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในปี 2562 – 2566 ถึง 25% โดยเฉพาะด้านดิจิทัลคอนเทนต์ เช่น  แอนิเมชัน เว็บไซต์ กราฟิก ทั้งเกมเพื่อสนุกสนานทั่วไปและเกมที่สนับสนุนธุรกิจ เกมต่าง ๆ ในแอปพลิเคชัน ตัวละคร 3D หรือ ซอฟท์แวร์เฮ้าส์ มาใช้ทำสื่อให้แก่องค์กรทำให้มีมูลค่ามากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมบางอย่างต้องใช้สื่อเหล่านี้ในการทำประชาสัมพันธ์ หรือเป็นสื่อการสอนให้กับพนักงานในองค์กร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่พีไอเอ็ม เรามุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ช้อปปิ้ง และลองเลือกเรียนสาขาวิชาที่เขาชอบเพื่อค้นหาตัวเอง สร้างแพสชันในการเรียนและรู้เป้าหมายของอาชีพให้มากขึ้น เช่น โปรแกรม Java, Digital Infrastructure, AI, Blockchain, Cloud, และ IoT มีความพร้อมสู่อาชีพงานใหม่ ๆ ของคนในอนาคต เช่น ดูแลระบบโครงข่าย Network & Cloud,  ผู้ออกแบบดิจิทัลกราฟิก และแอนิเมชันนักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิทยาการข้อมูล”

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (Bachelor of Engineering ; Computer Engineering and Artificial Intelligence) 

        หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญด้าน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สำรวจจากเทรนด์ทั่วโลกให้ความสนใจ AI ตำแหน่งงานในด้านนี้จำนวนมาก อาทิ วิศวกรปัญญาประดิษฐ์, วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่อง, นักวิทยาการข้อมูล, วิศวกรคอมพิวเตอร์, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ, นักโปรแกรมและระบบ/ นักพัฒนาระบบและทดสอบระบบ เป็นต้น  พร้อมดึงทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจมาช่วยกันระดมสมองว่า คนแบบไหนที่ต้องการ เพื่อเตรียมพร้อมผลิต บุคลากรได้เหมาะสม

อ.ปริญญา
PR PIM

      รองศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา สงวนสัตย์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์  คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม, นักเขียนหนังสือด้านปัญญาประดิษฐ์ฉบับภาษาไทยเล่มแรกของไทยที่เคยขึ้นอันดับหนึ่งขายดีที่สุด กล่าวว่า “สมัยนี้ การเรียนแค่เลข เคมี ฟิสิกส์ ไม่เพียงพอ เราต้องติดอาวุธ  เพิ่มความเชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ การเขียนโปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ จนสามารถนำมาใช้วิเคราะห์และสามารถมองเห็นปัญหาที่มีอยู่จริงทั้งในและนอกองค์กรได้ รวมถึงเพิ่มวิชาสำคัญที่จำเป็น เช่น  Mathematics for Artificial Intelligence, Programming, Infrastructure, IoT, Machine Learning, Computer Vision, Natural Language Processing, Object Oriented Cross-Platform Programming  และเสริมจุดเด่นในวิชาที่ทางพีไอเอ็มเปิดสอนในหลักสูตรคือ “AI Hardware Accelerator” เพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็น Computer Engineering ที่เก่ง AI และมีความเชี่ยวชาญในสาขานี้โดยเฉพาะ”  ที่ผ่านมามีผลงานของนักศึกษาที่น่าสนใจ ได้รับการจดลิขสิทธิ์โปรแกรมระบบตัดจ่ายไส้กรอกอัตโนมัติเป็น AI ที่ใช้ Computer Vision และ IoT ร่วมกัน ในการระบุว่าไส้กรอกชิ้นไหนสุกระดับใด เพื่อลดความสูญเสียจากไส้กรอกที่สุกเกินไป นอกจากเรียนทฤษฎีในห้องเรียนแล้ว ยังส่งนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานบริษัท Ryowa และบริษัท JMACS ด้านระบบอัตโนมัติ ที่เมืองคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้โอกาสนักศึกษาต่อยอดการเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะ และเปิดประสบการณ์ การลงมือปฏิบัติงานจริงในต่างประเทศ

AD.ET
PR PIM

บัณฑิตวิศวะฯ พีไอเอ็ม จึงมีทักษะความพร้อมรับ  New S-Curves การพัฒนา 5 อุตสาหกรรมใหม่ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics)

2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation & Logistics)

3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels & Biochemicals)

4) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)

5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

   อุตสาหกรรมดิจิทัล ได้แก่

- ธุรกิจพัฒนาและให้บริการซอฟต์แวร์ ทั้ง Embedded Software, Enterprise Software และ Digital Content

- ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและต่างประเทศ (Domestic and International E-commerce Player)

- จัดตั้งศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภค (Analytics and Data Center)

- บริการเกี่ยวกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลออนไลน์ (Cloud Computing) และการป้องกันอันตรายในโลกออนไลน์ (Cyber Security) 

- พัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ต่างๆ (Internet of Things - Enabled Smart City)

 - อุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์และแอนิเมชัน (Creative Media and Animation)

- ศูนย์นวัตกรรม วิจัย และออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์อนาคต

วิศวะ พีไอเอ็ม มีสาขาวิชาอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง ?

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
คุมทุกโรงงาน วางแผนทุกการผลิต ประสบการณ์วิชาชีพ และความชำนาญเฉพาะทาง สร้างวิศวกรอุตสาหการ วิศวกรประเมินคุณภาพ วิศวกรฝ่ายผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง

สาขาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ (Automotive Manufacturing Engineering)

รู้ลึก...รู้ดี... เรื่องยานยนต์มากกว่าใคร เรียนรู้พื้นฐานองค์ประกอบของรถยนต์ และระบบการทำงานของเครื่องยนต์กลไกต่างๆ การผลิตยานยนต์ในปัจจุบัน เป็นได้ทั้งวิศวกรยานยนต์ วิศวกรการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน ส่วนประกอบ วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม

สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation Engineering)

เรียนผสานหลายศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งวิศวะไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ ปฎิบัติจริงกับหุ่นยนต์ตัวจริง ที่ศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (iCRAS) เน้นการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมกับโรโบติกส์และดิจิทัลเทคโนโลยี

ที่ทันสมัยที่สุด เรียนจบทำงานเป็น วิศวกรหุ่นยนต์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบหุ่นยนต์ วิศวกรระบบแมคคาโทรนิกส์

สนใจเป็นคนแห่งอนาคต สมัครได้แล้ววันนี้ !
ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08:30-16:00 น. และ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:30-14:00 น. เว้นวันหยุดราชการ

ณ ห้องรับสมัครนักศึกษา อาคาร CP ALL ACADEMY ชั้น L

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  (พีไอเอ็ม) ถนนแจ้งวัฒนะ

รายละเอียดทุน https://www.pim.ac.th/pim/faculty/bachelor/scholarship/scholarship-62-et

Facebook: https://www.facebook.com/pimfanpage/

Line: @PIM.Line
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:  02-855-0360

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • PR PIM
  • 0 Followers
  • Follow