Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เพียร โดย พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) จากโครงการสามเณรปลูกปัญญาธรรม

Posted By มหัทธโน | 06 พ.ย. 62
5,693 Views

  Favorite

"เพียร"
โดย พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) 
ธรรมบรรยายคัดสรร จาก โครงการ สามเณรปลูกปัญญาธรรม

 

ที่มา : สามเณรปลูกปัญญาธรรม

 

แม้ว่าจิตใจจะเป็นนามธรรม
เป็นสิ่งที่ไม่เห็นเป็นตัวเป็นตน

แต่จิตใจนั้น
หากฝึกฝนก็สร้างความรู้สึกที่เป็นบวกและเป็นลบได้
ทำให้เกิดความพอใจและไม่พอใจได้

 

มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วต่างมีหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องฝึกหัดสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์มากมายให้กับชีวิต มีหลักในการฝึกตนมากมายที่แต่ละคนต้องใช้พัฒนาตนเอง
 

การพากเพียรฝึกฝนทางกายและวาจา เริ่มตั้งแต่การฝึกฝนร่างกายให้เติบโต แข็งแรง ฝึกฝนกิริยามารยาทให้ดีงาม ฝึกวาจา ฝึกการใช้สื่อที่เราเรียกว่าภาษา ตั้งแต่ให้รู้จัก เข้าใจ สื่อสารได้ ไปถึงการใช้ภาษาในรูปแบบที่เหมาะสม มีความอ่อนน้อม อ่อนโยน เป็นภาษาที่สื่อสารออกไปด้วยความสุภาพเรียบร้อยสร้างความรู้สึกเป็นที่ยอมรับ เป็นกิริยามารยาทที่เราจะต้องแสดงออกด้วยความเอื้อเฟื้อ เหล่านี้เป็นความงามในเบื้องต้น
 

นอกจากความพากเพียรในการฝึกฝนทางกายและวาจาแล้ว สิ่งสำคัญคือการฝึกฝนด้านจิตใจ แม้ว่าจิตใจจะเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่ไม่เห็นเป็นตัวเป็นตน แต่จิตใจนั้น หากฝึกฝนก็สร้างความรู้สึกที่เป็นบวกและเป็นลบได้ ทำให้เกิดความพอใจและไม่พอใจได้
 

 หากสร้างความรู้สึกให้เกิดความพึงพอใจมากเกินไป ก็อาจเป็นอุปสรรคให้กับการทำสิ่งต่าง ๆ ได้เช่นกัน เพราะความพอใจนั้นจะบดบังความจริงต่าง ๆ และมักก่อให้เกิดความรู้สึกยินดี และเมื่อยินดีมากเกินไปก็เป็นโอกาสให้ความรู้สึกที่เรียกว่า “ความพร่อง” หรือ “ความอยาก” มาชักจูงผู้ที่เกิดความยินดีนั้นเดินไปในทิศทางที่ไม่เหมาะสม และเกิดเป็นความอยากที่ไม่รู้จักจบจักสิ้น สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความระมัดระวัง หากปราศจากการฝึกจิตใจให้ควบคู่กับการฝึกฝนด้านอื่น ๆ นั่นเอง

 

 

 

 

©ทรูปลูกปัญญา

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow