Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

สารคดี "กว่าจะมาเป็นพระมหาชนก" (4 ตอน)

Posted By ดาวแม่ไก่ | 22 พ.ย. 59
19,908 Views

  Favorite

 

 

จากบทพระราชนิพนธ์สู่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นสุดยิ่งใหญ่ “พระมหาชนก” ฝีมือคนไทยใช้เวลาสร้างสรรค์นานถึง 4 ปี แฝงความรู้เชิงปรัชญาและจริยธรรมเรื่องความเพียร-สติปัญญา

“ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์”

 

โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 3 องค์ คือ

  • องก์ 1 กำเนิด
  • องก์ 2 ความเพียร
  • องก์ 3 ปัญญา

 

 

  • ความเป็นมาของโครงการ 

  • “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2539 แต่ด้วยความลึกซึ้งของบทพระราชนิพนธ์และความซับซ้อนในการตีความจากภาพประกอบ จึงทำให้หนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกฉบับแรกนี้ค่อนข้างจะเป็นที่นิยมในหมู่คนที่เข้าถึงเท่านั้น แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนทั่วๆ ไป

 

ต่อมาในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์บทพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” อีกครั้ง ในรูปแบบของการ์ตูน โดยมี ชัย ราชวัตร ศิลปินผู้ชำนาญการเป็นผู้วาดภาพการ์ตูนประกอบ โดยได้วาดด้วยเทคนิคสีน้ำจากฉบับขาวดำที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อปี 2541 กลายเป็นบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกฉบับการ์ตูนที่เป็นภาพสีตลอดเล่มที่มีความวิจิตรและงดงามเป็นอย่างยิ่ง

 

นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พิมพ์และจัดจำหน่าย จนเป็นที่แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนทั่ว ๆ ไป

 

ในขณะนั้นจากพระราชปรารภในพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ฉบับการ์ตูน จะสามารถเห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงมีความตั้งพระหฤทัยที่จะดัดแปลง “พระมหาชนกชาดก” ให้เป็น “พระมหาชนก” ที่ทันสมัยและเผยแพร่ผ่านสื่อสมัยใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน

 

       ในระหว่างพิธีชัยมังคลาภิเษก เหรียญพระมหาชนก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานนั่งปรก พร้อมด้วยพระคณาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงตามหาบัว ญาณสังปันโน, หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ หลวงพ่อเปิ่นวัดบางพระ, หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน

 

       ในพิธีดังกล่าว สมเด็จพระสังฆราชตรัสว่า

"ไทยเราในขณะนี้แม้เปรียบกับพระมหาชนก ย่อมมีอันตรายเบากว่ามากมายนัก วิกฤตก็แตกต่างกัน แต่สามารถบำเพ็ญวิริยบารมีให้เกิดผลสำเร็จอย่างวิเศษยิ่งได้เช่นเดียวกัน

 

ขอให้ตั้งใจแผ่ความปรารถนาดีไปให้ทั่วถึงเพื่อนร่วมทุกข์ทั่วหน้าให้สามารถคิดถึงอนุภาพความเพียร คือ วิริยบารมี แล้วทุ่มกำลังกายกำลังใจ ให้สามารถประคับประคองประเทศชาติให้พ้นวิกฤตการณ์ขณะนี้ให้ได้และโดยเร็ววิริยบารมีสำคัญ และพลังจิตสำคัญและสำคัญสำหรับนำมา ประคองวิริยบารมีให้เกิดผลเต็มที่ด้วย นั่นคือ ให้มีกำลังใจเข้มแข็งเต็มที่ ที่จะพยายามทำแต่ความดี วิริยะในการทำดีเท่านั้นที่จะถูกที่จะให้ พ้นทุกข์ทั้งหลายได้

 

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงกล่าวไว้ว่า โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว เพราะฉะนั้นพึงตั้งเพียรทำใจให้ดี ให้มั่นคงในการดีทั้งปวง ให้พ้นการไม่ดีทั้งปวง งานมงคลนี้จะสำเร็จด้วยดี เกิดคุณประโยชน์แก่ ผู้คนที่กำลังทุกข์ร้อนทั้งปวง"

 

 

ทรงปรับเนื้อหาในตอนจบ เพื่อให้พระมหาชนกได้ทรงอยู่ช่วยเหลือประชาราชให้มีปัญญา ก่อนจะเสด็จออกแสวงโมกขธรรม

 

 พระราชปรารภให้เห็นถึงที่มาว่า

"เมื่อ พ.ศ. 2520 พระองศ์ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธัมมสาโร มหาเถร) วัดราชผาติการาม เรื่องพระมหาชนก เสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยาน ในกรุงมิถิลา

 เรื่องมีใจความว่า

ที่ทางเข้าสวนหลวงมีต้นมะม่วงสองต้น ต้นหนึ่งมีผล อีกต้นหนึ่ง ไม่มีผล ทรงลิ้มรสมะม่วงอันโอชาแล้วเสด็จเยี่ยมอุทยาน เมื่อเสด็จกลับออกจากสวนหลวง ทอดพระเนตรเห็นมะม่วงที่มีผลรสดี ถูกข้าราชบริพารดึงทึ้งจนโค่นลง ส่วนต้นที่ไม่มีลูกก็ยังคงตั้ง อยู่ตระหง่าน

 

แสดงว่า

สิ่งใดดี มีคุณภาพ จะเป็นเป้าหมายของการยื้อแย่งและจะเป็นอันตรายใน ท่ามกลางผู้ที่ขาดปัญญา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฏกขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2) และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนก ชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่องโดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

 

พระมหาชนกบำเพ็ญวิริยะบารมีไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ จนกระทั่งได้ทรงครองราชสมบัติ และนำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลาด้วยพระปรีชาสามารถ

 

เมื่อมาถึงตอนเรื่อง ต้นมะม่วง พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า 

“การที่พระมหาชนก จะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรม ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร     เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ครบถ้วน   

 

กล่าวคือข้าราชบริพาร"นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้าง   รักษาม้าและนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราชและโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์   ล้วนจารึกในโมหภูมิทั้งนั้น  ไม่มีความรู้ทั้งวิทยาการ  ทั้งทางปัญญายังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง  จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ"

 

อนึ่ง  พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่  เก้าวิธีอีกด้วย

ด้วยประการเช่นนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงดัดแปลงเนื้อเรื่องในมหาชนกชาดกให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน  โดยมีพระราชดำริว่าพระมหาชนกจะบรรลุโมกขธรรมได้ง่ายกว่า หากได้ ประกอบพระราชกรณียกิจในโลกให้ครบถ้วนก่อน

 

 

นายขวัญแก้ว  วัชโรทัย  รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ  ได้สรุปที่มาของพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ว่า 

"ระหว่าง 50  ปีที่ทรงครองราชย์ทรงผ่านพ้นอุปสรรคนานาชนิด อุปสรรคนั้นคือวิกฤตการณ์ต่างๆเกิดเหตุเภทภัย  ลุกลามถึงประชาชน  โดยที่พระองค์ทรงเปรียบเสมือนพระพรหมของประชาชนทุกคน  เมื่อมีเหตุการณ์ก็พึ่งพระองค์  ขณะที่บ้านเมืองกำลังลุกเป็นไฟ  พระองค์รับสั่งกับผู้ที่ทำให้เกิดเรื่องก็จะสงบทันที  ชึ่งไม่มีที่ไหนในโลกนับว่าทรงเป็นมิ่งขวัญของประชาชน  ชาวไทยยากหาผู้เปรียบปาน

 

 ในหลวงทรงลำบากมากกกว่าชาวไทยเป็นไหน ๆ ปัจจุบันไม่เคยมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ไหน ทรงเหนื่อยมาก ๆ เหมือนพระองค์  ทรงงานจนพระเสโทไหล ยากที่สามัญจะทำไดั ทรงเป็นยอดมนุษย์ 

 

ยิ่งภาวะปัจจุบันคนไทยต้องมีความเพียรอดทน  ไม่ย่อท้อโดยยึดเอาแบบอย่างจากพระองค์ก็จะประสบความสำเร็จในชีวิต

 สมเด็จพระญานสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  ทรงอ่านแล้วถึงกับตรัสว่า 

“ถ้าใครได้อ่านแล้ว มีปรัชญาชีวิต  สิ่งที่ดีงาม

สอนให้ผู้คนอดทนไม่ท้อแท้ เหมาะสมกับยุคนี้ 

ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์

 

ถ้าอ่านให้ลึกซึ้งจริง ๆ

ประชาชนชาวไทยคงไม่มีใครฆ่าตัวตาย”

  

 

ถอดพระราชประวัติสู่พระมหาชนก

ทรงถอดประวัติของพระองค์ตลอดระยะเวลา  50  ปีที่ครองราชย์  ทรงประสบอุปสรรค  ความยากลำบาก เหมือนพระมหาชนก เมื่อเรือแตกก็ทรงว่ายน้ำถึง  7  วัน  จนเทวดามาช่วย 

ในหลวงก็ทรงประสบวิกฤต  แต่ทรงมีความเพียรไม่ท้อแท้  ซึ่งบางคนก็มีความเพียรอยู่แต่ท้อแท้  ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต  และเหรียญที่จัดสร้างขึ้นนี้ไม่ใช่เครื่องรางของขลัง  แต่เป็นสิ่งเพิ่มกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต  เป็นประทีปส่องทาง"

 

 ใครที่ได้อ่านเรื่องพระมหาชนกต่างพูดตรงกันว่า 

พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านวรรณกรรมยิ่งนักทรงใช้ภาษาที่กระชับ  สละสลวยอ่านง่าย  แสดงให้เห็นชัดแจนว่าพระองค์ท่านทรงได้ศึกษา เรื่องที่จะเขียนและทรงมีความรู้อย่างลึกซึ้ง

 

 พระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์นี้  เป็นวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก  ซึ่งเป็นชาดก  10  ชาติสุดท้าย  ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ  และตรัสรู้เป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ชาดกเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญบารมีของพระมหาชนก วิริยะบารมี" ซึ่งเต็มไปด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด 

 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • ดาวแม่ไก่
  • 1 Followers
  • Follow