เมื่อวิทย์และพุทธศาสนา อธิบายกันได้อย่างลงตัว โดย พระมหาพงศ์นรินทร์

โพสต์เมื่อ : ๓o ตุลาคม

มาในชั่วโมงการเรียนนี้ ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เนื้อหาในพระไตรปิฏาสอดคล้อง และสามารถอธิบายได้ลงตัวด้วยวิทยาศาสตร์  

ในชั่วโมงนี้ พระอาจารย์ พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส ซึ่งท่านจบปริญญาตรีและโท สาขาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และปริญญาโทพุทธศาสตร์บัณฑิต และโยมครูพล่ากุ้ง เป็นนักวิทยาศาสตร์กระโหลกกะลา ผู้ช่วยการสอนที่ทำให้เป็นชั่วโมงที่สนุกและได้ความรู้จากเนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจง่าย ใกล้ตัว  

 

พระอาจารย์ชี้ให้เห็นว่า เรื่องวิทยาศาสตร์ที่ว่าแสนยาก กลับสามารถนำมาประยุกต์ในการพิสูจน์พุทธศาสนาได้อย่างลงตัว ดั่งหัวข้อว่า “เล่นจักรวาล บันดาลสัจธรรม”     

 --------------------------------------------------

สรุปเนื้อหาบางส่วน ในชั่วโมงเรียน

-- เริ่มต้นด้วยการสร้างสติ กับกิจกรรมน่ารักจากพระอาจารย์เป๊บซี่ โดยมีพระอาจารย์ไพรสณฑ์เป็นพระอาจารย์คุมสอน

-- จากนั้นเริ่มชั่วโมงด้วยการทำความรู้จักกับโยมครูพล่ากุ้ง เป็นนักวิทยาศาสตร์กระโหลกกะลา ผู้ช่วยการสอนที่ทำให้ชั่วโมงนี้ต้องอมยิ้มไปตาม ๆ กัน เหล่าสามเณรต่างต้องการพิสูจน์ถึงทรงผมของโยมพล่ากุ้งว่า เป็นผมปลอมหรือไม่ และขอให้โยมถอดแว่นให้ดูหน่อย

ชีวิตรักของไอน์สไตน์

-- พระอาจารย์พงศ์นรินทร์ ถิตวังโสเล่าถึง ชีวิตรักของไอน์สไตน์กับสาวคนรักนักฟิสิกส์ ผ่านการพิสูจน์แสง ว่าไอน์สไตน์บอกว่า “ จะเป็นอย่างไร ถ้าเรานั่งขี่แสงไปด้วยกัน”

ความหมายในเชิงวิทยาศาสตร์ก็คือ “ถ้าความเร็วของเขา มีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง เวลาจะหยุด” นั่นคือ การเปรียบความรักของเขา ว่ารักของเขา เหมือนการหยุดเวลา

ปริศนาปัญหาฝาแฝด” (Twin Paradox )

-- และสิ่งนั้นเอง ทำให้เขารู้ว่า “เวลาอย่างสมบูรณ์ไม่มีอยู่จริง” นั่นคือ เวลาแต่ละจุดในจักรวาลนี้จะไม่เท่ากัน เพราะเวลาบิดและโค้งงอได้ โดยสามารถพิสูจน์ผ่าน “ปริศนาปัญหาฝาแฝด” (Twin Paradox )

หลักการ:

นั่นคือ หากฝาแฝดคนหนึ่งขึ้นเครื่องบินที่บินใกล้ความเร็วแสง

ถ้าคนหนึ่งในยานบินนานไป 4 ชั่วโมง เมื่อกลับมาพบอีกคนที่อยู่ทางโลก จะพบว่าเวลาทางโลกผ่านไปหลายสิบปี

ตัวอย่างเช่นในหนังจะพบว่า นักบินอวกาศบินกลับมาโลก และพบว่า อยู่ในอวกาศผ่านไปแค่ไม่กี่ปี เวลาทางโลกกลับผ่านไปหลายสิบปี

สูตรว่าด้วย E=MC2

-- ไอน์สไตน์ได้สื่อทฤษฎีดังกล่าว ผ่านสูตรว่า E=MC2

ความหมาย : ทุกอย่างขึ้นกับมวลหรือน้ำหนัก ซึ่งถ้ามวลหรือน้ำหนักนั้น มีการเคลื่อนที่เท่ากับความเร็วแสง คนรอบข้างจะมองเห็นไม่ทัน

ตัวอย่างเช่น : แสงจากดวงอาทิตย์มาถึงโลกใช้เวลาเดินทางแค่ 8 นาที เพราะดวงอาทิตย์ห่างจากโลกมาก

 ซึ่งแสงมีภาวะเป็นอนุภาคหรือเป็นก้อน และหากภาวะอนุภาคที่เป็นก้อนนั้นถูกมาทำเป็นแสง ก็จะปลดปล่อยพลังงานมหาศาล

จึงมีผู้นำแนวคิดดังกล่าวของไอน์สไตน์ไปพัฒนาต่อ เป็นระเบิดนิวเคลียร์  ทำให้ไอน์สไตน์รู้สึกผิดมากที่ความคิดของเขาถูกนำไปสังหารคนจำนวนมาก

 พระพุทธเจ้าทรงค้นพบหลักการดังกล่าว ก่อนไอน์สไตน์

ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบความลับของแสงมาก่อนไอน์สไตน์มาก ดังเช่นสวรรค์  ในพระไตรปิฏกบอกว่า

 ชั้นสวรรค์แต่ละชั้นจะมีเวลาไม่เท่ากับโลก เมื่อเรียงจากชั้นต่ำสุดไปชั้นสูงสุดดังนี้

เวลาในสวรรค์ ชั้นจาตุมหาราชิกา ผ่านไป 1 วัน จะเท่ากับเวลาบนโลกผ่านไป 50 ปี  
เวลาในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ ผ่านไป 1 วัน จะเท่ากับเวลาบนโลกผ่านไป 100 ปี  
เวลาในสวรรค์ ชั้นยามา ผ่านไป 1 วัน จะเท่ากับเวลาบนโลกผ่านไป 200 ปี  
เวลาในสวรรค์ ชั้นดุสิต ผ่านไป 1 วัน จะเท่ากับเวลาบนโลกผ่านไป 400 ปี  
เวลาในสวรรค์ ชั้นนิมมานรดี ผ่านไป 1 วัน จะเท่ากับเวลาบนโลกผ่านไป 800 ปี  
เวลาในสวรรค์ ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ผ่านไป 1 วัน จะเท่ากับเวลาบนโลกผ่านไป 1,600 ปี  

 

ซึ่งจะพบว่า มีเรื่องเล่าว่า มีผู้นั่งกรรมฐาน ไปเที่ยวเล่นสวรรค์แต่กลับมาเข้าร่างไม่ได้ เพราะเวลาทางโลกผ่านไปนานมาก หรือเรื่องของเทวดาลงมาเล่นเพลินบนโลกมนุษย์โดยเกิดเป็นผู้หญิง และมีลูกและแก่ตาย กลับไปเป็นเทวดา แต่เพื่อนเทวดางงว่า หายไปไหนมาแป๊บเดียว แสดงให้เห็นถึง ตัวอย่างของ twin paradox ที่เวลาแต่ละที่จะต่างกัน ตามความเร็วแสงและมวล

 

 และพระอาจารย์พบว่า ตัวเลขจากพระไตรปิฏกสามารถนำมาลงตัวกับสูตรของไอน์สไตน์ ตัวเลขจากพระไตรปิฏกลงตัวกับสูตรคำนวณของไอน์สไตน์

นั่นคือ แสดงว่า ในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้น มีพลังงานที่มีสภาวะของชั้นนั้น ๆ แตกต่างไปจากโลก โดยชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จะมีความเร็วเข้าใกล้แสงมากที่สุด จึงมีเวลาที่แตกต่างกันมากกับเวลาทางโลก

เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงไปโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดุสิต แทนที่จะเป็นดาวดึงส์

-- ในพุทธประวัติ เช่นกัน  หลังจากพุทธมารดาเสียชีวิต ก็ได้ไปเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต

เมื่อพระพุทธเจ้าขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาช่วงเข้าพรรษา ทรงไปในชั้นดาวดึงส์ เพราะนอกจากทรงไปเพื่อโปรดพระพุทธมารดาแล้ว ยังทรงโปรดเทวดาชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป เพราะเทวดาในชั้นล่าง ๆ จะไม่สามารถมีพลังงานพอไปถึงชั้นดุสิตได้นั่นเอง

เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงเปล่งพระรัศมี และเทวดาจึงมีประกายแสง

ซึ่งหากฟังผิวเผินจะดูเหมือนเป็นเรื่องเหนือสมมติ แต่แท้จริงแล้ว สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์

อีกข้อสังเกตหนึ่งคือ เทวดาจะเปล่งแสง นั่นก็เพราะเมื่อระดับพลังงานจากที่สูงกว่าลงมาที่ระดับชั้นต่ำกว่า จะให้พลังงานเแสงออกมาด้วย เรียกว่า เพื่อให้เสถียรจะต้องคายพลังงาน คือการเปล่งแสงนั่นเอง

แต่ในทางตรงกันข้าม พลังงานจากที่ระดับต่ำกว่าจะขึ้นสูงกว่า จะต้องรับพลังงานมากขึ้น

เช่นกัน จึงสอดคล้องกันในหลักการว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงเปล่งพระรัศมี เพราะพระองค์มาจากพลังงานในระดับสูงกว่า มาโปรดระดับต่ำกว่า จึงต้องเปล่งพระรัศมีแผ่ปกไปทั่ว  ซึ่งเปรียบดั่งการคายพลังงานแสงนั่นเอง

ด้านการระลึกชาติ

การจะระลึกชาติได้ จะต้องมีสติ กับสมาธิเต็มเปี่ยมก่อนตาย จึงจะย้อนระลึกได้ ดั่งเช่นดาไลลามะ ที่ย้อนระลึกชาติมาเกิด

ด้านขนาดของเทวดา

ความขัดแย้งที่ลงตัวกับทฤษฏีไอน์สไตน์ คือเรื่องชนาดของเทวดา

เทวดาใน 1 ชั้นมีขนาด ¾ โยชน์ (1 โยชน์ คือ 16 กิโลเมตร) ซึ่งก็คือสูง 12 กิโลเมตร เมื่ออยู่ชั้นของตน

แต่ขณะเดียวกัน  ในโลกของเรา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า แม้แค่ปลายขนยังมีเทวดามาฟังอัดแน่น ทำให้รู้ว่าเมื่อมาโลกขนาดเล็กมาก

 

หากฟังเผิน ๆ ทำให้รู้สึกว่า ข้อมูลดังกล่าวขัดแย้งกัน

แต่เมื่อมาลงกับสมการของไอน์สไตน์ คือ

“ ถ้าขนาดเท่าเดิม เวลาจะต่าง”

 แต่ก็เช่นกัน “ถ้าเวลาเท่าเดิม ขนาดจะเปลี่ยนแปลง”

คำอธิบายคือ :  ในมุมของคนบนโลก ถ้ายิ่งเคลื่อนใกล้ความเร็วแสงเท่ากัน คนบนโลกจึงเห็นสิ่งนั้นมีขนาดลดลงเรื่อย ๆ

นั่นคือเหมือนเป็นการมองผ่าน 2 มิติ 2 โลก ในมุมของโลกมนุษย์ และมุมของ

-- เทวดาชั้นปรนิม และ นิมมารนรดี จะเป็นชั้นมาร นั่นคือ ติดการทำดี แต่มีนิสัยอิจฉาริษยา ไม่อยากให้ใครทำดีกว่าตน ผู้บำเพ็ญโพธิสัตว์มักจะไปชั้นดุสิต

 

เวลาในขณะสุข หรือทุกข์ จะรู้สึกต่างกัน

-- เช่นกัน เวลามีสุข เวลาจะผ่านไปเร็ว ทุกข์ก็จะช้า การทำชั่วก็จะตกนรกนานแสนนาน

จักรวาล และการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นวัฎจักร

 

-- จักรวาล เกิดจากบิ๊กแบงค์ เกิดระเบิดออกมาเป็นจักรวาล และท้ายสุดก็ถูกดูดกลับคืนสู่ตามเดิม เช่นกัน จักรวาลและสวรรค์ท้ายที่สุดก็ตามวัฎจักร การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ซ้ำไปมา ซึ่งสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์

สิ่งที่มนุษย์อย่างเราพึงทำและพึงระลึกก่อนตาย เพื่อสร้างพลังงานดี

 -- ที่สำคัญ ก่อนตายต้องมีสติ และสมาธิ เพื่อจะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี

-- นั่นคือ ก่อนตาย ตลอดชีวิต มีการทำความดีสั่งสมพลังงานดี ๆ พลังงานดีนั้น จะสั่งสมเป็น แรงส่งให้ไปอยู่ภพภูมิที่สูงขึ้น

 

ท่าทีที่จะเรียนรู้และพิสูจน์พุทธศาสนา จะเหมือนกับวิทยาศาสตร์ คือ ต้องมีการทดลองและพิสูจน์ด้วยตัวเอง จึงจะเห็นผลด้วยตัวเอง นั่นคือ สัจธรรม

 

สรุปบทเรียนโดยพระอาจารย์พงศ์นรินทร์

- ความท้าทายคือ หัวข้อยาก และต้องส่องให้เห็นถึงสัจธรรม เป็นในด้านของพุทธศาสนาวิทยาศาสตร์

- เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนาไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่ในทางตรงกันข้าม วิทยาศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้อธิบายพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว สอดคล้องกัน

การมองว่า เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องงมงาย จึงควรต้องท้าพิสูจน์กันต่อไป ซึ่งจะใช่หรือไม่ใช่ ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไป และต้องพิสูจน์ด้วยการทดลองด้วยตัวเอง เห็นผลด้วยตัวเอง

-- ซึ่งแม้แต่ไอน์สไตน์ในช่วงแรก ก็โดนต่อต้านว่า เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีไปถึง จึงเกิดการพิสูจน์ให้เห็นจริง

-- เช่นกัน ในองค์พระพุทธเจ้า เมื่อทรงชี้ให้เห็นถึงสิ่งเหล่านี้ ก็ทรงทำให้เกิดคำถามในกลุ่มผู้ที่ความเจริญทางจิตใจยังไปไม่ถึง แต่ท้ายที่สุดก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริง ด้วยตนเอง และเห็นผลด้วยตนเอง

-- ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร สัจธรรมที่แท้ แม้แต่จักรวาลที่ยิ่งใหญ่ ยังหนีสัจธรรมไม่พ้น คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป