คลังวิดีโอ > ห้องเรียนธรรม > อรุณธรรม ตอน "พอ - ไม่ก่อเวรก่อกรรม" โดย พระราชญาณกวี วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
2023-02-28 09:37:10

"พอ - ไม่ผูกเวร ก่อกรรม"

 โดย พระราชญาณกวี วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

.......................................................

เนื้อหาโดยย่อ: 

คนผูกเวร คือ คนที่ไม่พอใจในสิ่งใด เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ไม่พอใจในการแบ่งสรรประโยชน์ การไม่พอใจในอารมณ์ การไม่พอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  

สาเหตุเพราะ ไม่รู้จักคำว่า "พอ" และ "พอใจ"
 ถ้าพอ และพอใจ ได้ดั่งใจ ก็จะไม่เกิดปัญหา 
 

โทษภัยของการก่อเวรยิ่งใหญ่มาก 
 การก่อเวรนั้น เริ่มแต่การแพ้ตัวเองตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ ในจิตตนเอง จึงต้องไปเอาชนะไปก่อเวรก่อภัยกับคนอื่น

คนที่ชอบเอาชนะคนโน้นคนนี้ คือ คนที่แพ้ตนเอง หรือคนที่ชอบมีอำนาจ นั่นเพราะในใจไม่มีอำนาจนั่นเอง 

ดังเช่นสามีภรรยาที่เอาชนะคะคานกัน นั่นเพราะแพ้ตัวเอง จึงอยากจะเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง  เรียกว่า แพ้ตนเองจนต้องก่อเวรก่อกรรมเอาชนะข้ามภพข้ามชาติ 


ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะแท้ที่จริงแล้ว การแพ้ตัวเองนั่นคือ กำลังทำให้มีคู่เวรคู่กรรมต่อกัน ที่มีผลข้ามภพข้ามชาติเลยทีเดียว

ดังเช่นการมีลูกที่ปัญญาอ่อน เกิดเพราะการมีเวรกรรมเป็นการก่อเวรก่อกรรมแต่ก่อนมา
ซึ่งควรอโหสิกรรมให้ลูก และคิดว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ชดใช้เวรกรรมที่ยังไม่ได้อโหสิกรรมต่อกันจากภพที่แล้ว 
จึงควรดูแลเขา และถือว่าตนได้ชดใช้กรรมที่ยังไม่ได้อโหสิกรรมต่อกัน 
 

ทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ ได้แก่ 
ทุกข์เพราะรัก ทุกข์เพราะคนรัก ทุกข์เพราะไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์เพราะไม่สมหวัง
ทุกข์แต่อดีตชาติ คือการผูกเวร ซึ่งไม่ได้จบลงตอนที่ตายจากกัน
 

แนวทางพ้นเวรกรรม

เพราะทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว - ทำกรรมใดไว้ต้องรับผลเช่นนั้น หว่านพืชเช่นไรได้ผลเช่นนั้น 
ยิ่งคิดแค้นใจยิ่งขุ่น แต่หากคิดว่า มันคือกรรมที่ต้องเจอ ใจจะเบาทันที 

ฉนั้นจึงต้องรู้จักการให้อภัยการไม่ผูกเวร

โดยคู่เวรคู่กรรมอาจจะมาในรูปแบบศัตรูกัน หรือ ในรูปคนรักกันที่กลายเป็นศัตรูต่อกัน

 

วิธีการยกเลิกเป็นคู่เวรคู่กรรมต่อกัน 

ส่วนที่ 1 ป้องกันการเป็นคู่เวรคู่กรรมต่อกัน 
ควรรู้จักอโหสิกรรมกันทุกวัน นั่นคือ คำว่า "ขอโทษ" ที่คนไทยควรจะพูดต่อกันทุกวัน
โดยหาความผิดของตัวเองก่อน เพื่อจะได้ขอโทษต่อกันและกัน และอย่าไปเป็นคู่กรณีกับใคร

สิ่งที่สำคัญคือ อย่าไปยอมแพ้การยั่วยุของคู่กรณีเพื่อให้เราไปเป็นคู่เวรคู่กรรมกัน
เช่น บางคนยั่วยุให้เราโกรธ เราพยาบาท 
 ควรป้องกัน การหลงไปเป็นคู่กรณี คู่เวรคู่กรรม
 

ส่วนที่ 2 กรณี เป็นคู่เวรคู่กรรมกันไปแล้ว ให้กรวดน้ำทำบุญ และขออโหสิกรรมต่อกัน
ให้นึกถึงสิ่งดี ๆ ที่เคยร่วมกันมา  และจุดธูปบอกเทพเทวดาฟ้าดิน เป็นการชำระใจเราก่อน
ทำใจเราให้สบาย เมื่อใจเราสบาย สิ่งที่ตกค้างต่อกันก็คลายไป

ในสมัยโบราณ ทุกวันพระ
แม่ลูกจะกราบเท้าพ่อก่อนนอน เพื่อเป็นการคลายเครียด
ซึ่งสอดคล้องกับอิทธิพลของดวงจันทร์ ที่มีผลต่อธาตุน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดราคะ หรือพยาบาทจัด
นับเป็นกุศลโลบายของคนโบราณที่จะถือศีล กันในวันพระ เพื่อให้ใจร่มเย็น 
 

© ทรูปลูกปัญญา