อาหารที่มีโซเดียมมักมีรสเค็ม มักอยู่ในอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ขนมกรุบกรอบ และขนมหวาน
ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายต้องการ = 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ข้อนชา)
เช็กเมนูอาหารที่เรากินว่ามีโซเดียมเท่าไหร่ได้ที่นี่ >> คลิก <<
อาหารรสเค็มจะทำให้ไตเราทำงานหนักขึ้น พร้อมแถมอาการตัวบวมหน้าบวมให้ด้วย การดื่มน้ำจะช่วยให้ไตทำงานดีขึ้น และช่วยขับโซเดียมออกจากร่างกาย
เปิดเพลงโปรดแล้วเต้นให้เหงื่อออก เป็นอีกวิธีที่ช่วยขับโซเดียมได้ดี แถมยังสดชื่นขึ้นด้วยนะ หรือจะเปิดคลิปออกกำลังกายง่าย ๆ ใน Youtube แล้วทำตามก็ได้
งดตามใจปากด้วยการกดสั่งอาหารฟาสต์ฟู้ดไปก่อน เพราะในอาหารฟาสต์ฟู้ดจะมีโซเดียมสูงมาก รวมถึงงดกินอาหารที่แก๊สเยอะด้วย เช่น กะหล่ำปลี ชะอม สะตอ บร็อคโคลี่ ถั่วงอก ถั่ว ฯลฯ เพราะถ้ากินเยอะมากไปอาจทำให้ท้องอืดจนรู้สึกว่าพุงป่องได้ และขอให้งดดื่มเครื่องดื่มอัดแก๊สที่มีน้ำตาลสูงอย่างน้ำอัดลมและโซดาด้วย ถ้าอยากหายพุงป่อง ท้องบวมงดไปก่อนนะ
กล้วยหอมและกีวีสามารถช่วยลดโซเดียมในร่างกายได้ เพราะมีโพแทสเซียมที่จะช่วยจัดการโซเดียมที่เป็นส่วนเกินในร่างกาย
ถ้ารู้สึกแน่นท้องมาก ๆ แนะนำให้กินโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวเพื่อเพิ่มโพรไบโอติก แบคทีเรียที่ดีที่จะช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ และยังช่วยย่อยสลายกากอาหารได้ด้วย แนะนำให้เลือกหยิบโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่ระบุไว้ว่า มีโพรไบโอติกอย่างน้อย 20,000,000,000 ตัว
แหล่งข้อมูล
What to Do After Eating Too Much Salt
4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์
เว็บไซต์ปลูกเฟรนส์ดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป