บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เวลา ยุคสมัย และวิธีการทางประวัติศาสตร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-07-13 15:03:20
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
คำว่า ประวัติศาสตร์ มาจากภาษาอังกฤษ history ซึ่งมาจากภาษากรีก histori หมายถึง การตรวจตรา การค้นคว้า ปัจจุบัน หมายถึง การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ในอดีต
การนับเวลา
1. การนับเวลาแบบไทย เป็นการนับตามประเพณีถือใช้กันมาแต่โบราณ
– การนับเวลาในรอบวัน เทียบตามเวลาสากลกับเวลาที่เรียกตามแบบไทย
– การนับยามกลางคืน
ยาม 1 ตรงกับ 21.00 น.
ยาม 2 ตรงกับ 24.00 น.
– การบอกวัน เดือน ขึ้นแรม
– การนับปีนักษัตร 1 รอบมี 12 ปี มีชื่อเรียกและรูปสัตว์ประจำปี
2. ศักราชและการเทียบศักราช
ศักราช (era) หมายถึง เวลาที่ตั้งขึ้นโดยถือเหตุการณ์สำคัญเป็นจุดเริ่มต้น แล้วนับเรียงตามลำดับ
– พุทธศักราช (Buddhist Era) ใช้ย่อว่า พ.ศ. (B.E.) เป็นศักราชที่พุทธศาสนิกชนกำหนดขึ้น
– คริสต์ศักราช (Christian Era) ผู้นำถือคริสต์ศาสนาตั้งขึ้นโดยเริ่มนับจากวันสมภพของพระเยซู (Jesus Christ)
– มหาศักราช (Shaka Era) ย่อว่า ม.ศ. ผู้ตั้งคือ พระเจ้ากนิษกะ (Kanishka) กษัตริย์ของพวกกุษาณะ (Kushana) เป็นชนชาติที่ครอบครองอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ และได้ตั้งมหาศักราชใน พ.ศ. 622
– จุลศักราช ย่อว่า จ.ศ. ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1182 โดยพระเจ้าบุพพะโสระหัน กษัตริย์พม่า จุลศักราชจึงน้อยกว่าพุทธศักราช 1181 ปี การเทียบเปลี่ยน คือ
– รัตนโกสินทรศก ย่อว่า ร.ศ. เป็นศักราชที่ รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยนับปีที่ รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และให้เริ่มใช้ในราชการตั้งแต่ 1 เมษายน
ร.ศ. 108 (พ.ศ. 2432) โดยนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี
– ฮิจเราะห์ศักราช ฮิจเราะห์ (Hijrah) ย่อว่า ฮ.อ. เป็นศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ตั้งแต่นบีมุฮัมมัด (ศาสดา) อพยพชาวมุสลิมออกจากนครมักกะฮ์ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ ใน ค.ศ. 622 (พ.ศ. 1165)
3. ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ
– ทศวรรษ (decade) หมายถึง รอบ 10 ปี เช่น ทศวรรษ 2540 ตามพุทธศักราช หมายถึง พ.ศ. 2540-2549
– ศตวรรษ (century) หมายถึง รอบ 100 ปี เช่น คริสต์ศตวรรษที่ 1 หมายถึง ค.ศ. 1-100
– สหัสวรรษ (millennium) หมายถึง รอบ 1000 ปี เช่น สหัสวรรษที่ 3 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ. 2001-3000
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
– สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistory) เป็นช่วงที่ยังไม่มีตัวอักษร อาศัยหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลัก
– สมัยประวัติศาสตร์ (History) เป็นช่วงที่มนุษย์มีตัวอักษร อาศัยหลักฐานจากการบันทึกลายลักษณ์อักษรเป็นหลัก
วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นวิธีการหาข้อเท็จจริงในอดีต โดยสนใจการตรวจสอบหลักฐาน
– หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
1. จารึก เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของไทย คงทนไม่สลายไปตามกาลเวลา
2. ตำนาน มาจากการบอกเล่าสืบต่อกันมา แล้วรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลัง นิยมจารลงในใบลานและคัดลอกต่อ ๆ กันมา
– หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
1. หลักฐานทางโบราณคดี (archaeological source) คือร่องรอยทางวัตถุที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีตซึ่งได้สร้างหรือทิ้งไว้ นักโบราณคดี (archaeologist) เป็นผู้สำรวจและตีความเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต
2. หลักฐานประเภทคำบอกเล่า เป็นหลักฐานที่ถ่ายทอดด้วยคำพูดสืบต่อกันมา
– วิธีการประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1. การกำหนดปัญหา ต้องตัดสินใจว่าจะค้นคว้าเรื่องอะไร โดยพิจารณา เหตุการณ์เกิดที่ไหน
เป็นของใคร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ เป็นต้น
2. การรวบรวมหลักฐาน ต้องพยายามค้นคว้าหลักฐานให้ได้มากที่สุด
3. การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน
4. การตีความหลักฐาน คือทำความเข้าใจหลักฐานว่ามีความหมายอย่างไร
5. การเรียบเรียงและการนำเสนอ คือการนำข้อมูลที่ตีความแล้วมารวมเข้าด้วยกันเพื่อตอบปัญหาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 แล้วนำไปเสนอด้วยวิธีที่เหมาะสม
คำสำคัญ
การนับเวลาแบบไทย
ศักราชและการเทียบศักราช
ทศวรรษ
ศตวรรษ
สหัสวรรษ
วิธีการทางประวัติศาสตร์
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th