www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




คลังความรู้ > สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม > ม.1

บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง การบริโภค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-01-28 16:48:24

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 


1. พฤติกรรมการบริโภค
    ความหมายและความสำคัญของการบริโภค คือ การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของตนเอง โดยมีรายจ่ายของครัวเรือนที่ใช้ในการบริโภคมี 3 ประเภท ได้แก่
        - การบริโภคสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน
        - การบริโภคสินค้าที่มีอายุการใช้งานไม่นาน
        - การบริโภคบริการ

 

  

 

    หลักการบริโภคที่ดี ได้แก่
        - ประหยัด โดยบริโภคตามความเหมาะสม
        - ประโยชน์ สินค้าและบริการที่เลือกบริโภคนั้นมีประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวอย่างไร
        - คุณภาพและราคาเหมาะสมกัน
        - ปลอดภัย ต้องตรวจสอบสินค้าโดยดูฉลากสินค้า รวมทั้งส่วนผสมและวันหมดอายุ

 

    

 

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลพฤติกรรมการบริโภค ได้แก่
        - รายได้ของผู้บริโภค
        - ราคา
        - รสนิยม
        - สังคมสิ่งแวดล้อม
        - ฤดูกาล
        - การคาดคะเนราคา
    ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมปัจจุบัน ค่านิยมมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งมีหลายแบบ

 

  

 

2. ทรัพย์สินทางปัญญา
    ความหมายและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา เป็นผลผลิตที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์
    ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา มี2 ประเภท ได้แก่
        - ลิขสิทธิ์

 

            

 

        - ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
    กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันมี 7 ฉบับ ดังนี้
    พระราชบัญญัติสิทธิบัตร สิทธิบัตรมี 2 ประเภท คือ
        - สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือหนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการคิดค้นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใหม่

 

            

 

        - สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ หนังสือสำคัญที่ออกเพื่อคุ้มครองรูปร่างของผลิตภัณฑ์หรือองค์ประกอบ
และกฎหมายยังกำหนดให้มี อนุสิทธิบัตร มี 2 ประเภท คือ
        - การประดิษฐ์ขึ้นใหม่
        - การประดิษฐ์ที่ประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม
    พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับลักษณะของเครื่องหมาย 4 ประเภท ได้แก่
        - เครื่องหมายการค้า
        - เครื่องหมายบริการ
        - เครื่องหมายรับรอง

 

    

 

        - เครื่องหมายร่วม
    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายที่ให้ประโยชน์ในการคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อให้มีสิทธิที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียงให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิได้ และให้การคุ้มครองสิทธิของนักแสดงไว้
    พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม เป็นกฎหมายที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้สร้างสรรค์แบบผังภูมิของวงจรรวม และส่งเสริมให้มีการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ทั้งนี้แบบผังภูมิมี 2 ประเภท ได้แก่
        - แบบผังภูมิที่สร้างขึ้นเอง
        - แบบผังภูมิที่สร้างขึ้นใหม่
    พระราชบัญญัติความลับทางการค้า เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างเสรีและป้องกันมิให้เกิดการไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ
    พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนสับสนในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า โดยให้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ และห้ามใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่จะทำให้เกิดความสับสนในแหล่งภูมิศาสตร์ที่แท้จริงของสินค้าที่ระบุในทะเบียน

 

  

 

    พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวดำเนินการผลิตสินค้าที่ถูกกฎหมาย และป้องปรามปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
    การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
    ลักษณะการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ในไทย มีลักษณะเป็นขบวนการหรือองค์กรอาชญากรรม
    รูปแบบและแนวโน้มการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
        - การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
        - การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    สาเหตุและวิธีการซื้อขาย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งมีราคาถูก ผู้ขายจะมีวิธีการซื้อขายที่หลากหลาย
    ผลของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มีดังนี้
        - การได้รับสินค้าปลอม
        - การขาดผู้สร้างสรรค์ผลงาน
        - การขาดรายได้ของรัฐ
        - การลงทุนไม่ต่อเนื่อง
        - การกีดกันทางการค้า

 

  แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th