ยาประเภทต่างๆ
การแบ่งยาออกเป็นประเภทนั้น มีวิธีแบ่งหลาย อย่าง เช่น
ก. แบ่งตามยุคหรือสมัย
ได้แก่ ยาแผนโบราณ หรือยาไทย หรือยาสมุนไพร และยาแผนปัจจุบัน หรือยาฝรั่ง หรือยาเทศ
ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุ
ยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่
ยานัตถุ์ ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่
ยาหอม ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่
 ยาแผนโบราณบรรจุเสร็จ
ยาไทยโบราณ ซึ่งใช้ชื่อ ปริมาณของวัตถุส่วนประกอบ วิธีการผสม และคำอธิบายสรรพคุณตรงตามตำรายา ซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษารวม 16 ขนานคือ ยามหานิลแท่งทอง ยาเทพมงคล ยาเขียวหอม ยาประสะกะเพรา ยาเหลืองปิดสมุทร์ ยาอัมฤควาที ยาประสะมะแว้ง ยาตรีหอม ยาจันทน์ลีลา ยา ประสะจันทร์แดง ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมนวโกฏ ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาประสะ ไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
 ยาสามัญประจำบ้าน ๔๙ ขนาน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้ได้มี ๔๙ ขนาน คือ
ควินินซัลเฟตเม็ด คลอโรควินเม็ด โซดามินท์เม็ด ยาลดกรดเม็ด ซัลฟากัวนิดินเม็ด โดเวอร์สเม็ด แอสไพรินเม็ด วิตามินบี ๑ เม็ด วิตามินบีรวมเม็ด วิตามินซีเม็ด ยาธาตุน้ำแดง เหล้าสะระแหน่ ทิงเจอร์ ฝิ่น การบูร ยาถ่ายพยาธิ (บิเปอราซีน) น้ำมันละหุ่ง น้ำมันละหุ่งหอมหวาน ดีเกลือ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ น้ำมัน ยูคาลิปตัส ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ยาแก้ไอน้ำดำ ยากวาดคอ เหล้าแอมโมเนียหอม ยาหยอดตา (ซัลฟา) ยาหยอดหู (ไนโตรฟูราโซน) ยาแก้ปวดฟัน ยารักษาหิดเหา ขี้ผึ้ง กำมะถัน ขี้ผึ้งซัลฟา ขี้ผึ้งน้ำมันระกำยา รักษากลาก เกลื้อน ยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ยาใส่แผลสด ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาเหลือง ยาแดง ด่างทับทิม ยาสูดดม (สำหรับกันหรือแก้วิงเวียน หรือสำหรับสูดดม เพื่อแก้หวัดคัดจมูก ทั้งนี้ต้องไม่มียาเสพติดให้โทษ ยา อันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่) ยาอมแก้เจ็บ คอ (ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่) และยาที่ใช้ภายนอก จำพวกถู นวดกล้ามเนื้อ ยกเว้นน้ำมันระกำ
|