บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ ตอนที่ 2
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2012-05-22 16:28:49
แรกมีวิชาถ่ายรูปในกรุงสยาม
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ถือเป็นบุคคลแรกที่สั่งซื้อกล้องถ่ายรูปแบบดาแกร์ (Daguerreotype)จากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในกรุงสยาม โดยมอบหมายให้บาทหลวงอัลแบรต์ อัลบรางด์ (M.Albert Albrand) ซึ่งพำนักอยู่ในกรุงปารีส รับเป็นธุระจัดซื้อ แล้วฝากให้บาทหลวง ฌัง-บัปติสต์ ฟรังซัวส์ หลุยส์ ลาร์โนดี (M.Jean-Baptiste Francois Louis Larenaudie) เป็นผู้นำเข้ามายังเมืองบางกอกเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๔๕ (พ.ศ. ๒๓๘๘)
เดิมทีพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ยังถ่ายรูปด้วยกล้องระบบดาแกโรไทป์ไม่เป็น เนื่องจากท่านเดินทางมาพำนักอยู่ยังกรุงสยาม ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๓๐ (พ.ศ. ๒๓๗๓) ส่วนวิชาการถ่ายรูปแบบดาแกร์ เพิ่งถือกำเนินขึ้นในกรุงปารีสอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. ๑๘๓๙ (พ.ศ. ๒๓๘๒) ท่านจึงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้วิชาการถ่ายรูปดังกล่าว จึงต้องทดลองถ่ายรูปด้วยกล้องแบบดาแกร์ร่วมกับบาทหลวงลาร์โนดีอยู่นานสามสี่วัน จึงสามารถถ่ายรูปได้สำเร็จสมดังประสงค์ เป็นครั้งแรกในกรุงสยาม เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๘๔๕ (พ.ศ. ๒๓๘๘)
วัดอัสสัมชัญ ตำบลบางรัก ภาพวาดลายเส้นจากบางกอก(Bangkok)
ของ M. Lucien Fournereau ชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1894 (พ.ศ. 2437)
โดยอาศัยการเปิดตำราการถ่ายรูปที่ส่งมาพร้อมกับกล้องถ่ายรูป และส่วนหนึ่งท่านพระสังฆราชอาจได้รับการสอนจากบาทหลวงลาร์โนดี ซึ่งเข้าใจว่าท่านผู้นี้น่าจะเคยพบเห็นวิธีการถ่ายรูปมาบ้างแล้วระหว่างพำนักอยู่ในกรุงปารีส ด้วยเหตุนี้บาทหลวงลาร์โนดี ถือเป็นบุคคลแรกที่นำเอาวิชาการถ่ายรูปเข้ามาเผยแพร่ในกรุงสยามเป็นคราวแรก
พจนานุสรณ์
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นผู้มีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะเผยแผ่พระคริสต์ธรรม คำสอน ให้ได้ผลดีในหมู่คริสตังชาวสยาม แต่กลับพบว่าหนังสือเกี่ยวกับพระคริสต์ศาสนาในกรุงสยามมีอยู่น้อยเต็มที ส่วนใหญ่เรียงเรียงขึ้นโดยบาทหลวงคาทอลิกรุ่นก่อนๆ ซึ่งนักเรียนคริสตังได้คัดลอกต่อๆ กันมาด้วยความยากลำบาก และสิ้นเปลืองเวลาสำนวนโวหารก็เก่าคร่ำครึล้าสมัยไม่ถูกต้อง จึงตัดสินใจสร้างตึกทำเป็นโรงพิมพ์ขึ้นภายในวัดอัสสัมชัญ สำหรับพิมพ์หนังสือคำสอนพระคริสต์ธรรม หนังสือสวดมนต์ หนังสือประวัติความเป็นมาของพระคริสต์ศาสนา ชีวประวัติของนักบุญ บทภาวนา และเพลงสวดในโบสถ์สำหรับแจกจ่ายให้แก่พวกเข้ารีตนำไปอ่าน โดยพิมพ์ตัวหนังสือด้วยอักษรยุโรป นอกจากนี้ท่านพระสังฆราชยังพิมพ์หนังสือบางเล่มด้วยอักษรไทย เพื่อหักล้างคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชาวสยาม อันเป็นผลให้พวกนอกรีตน้อมใจเข้ามานับถือศาสนาคริสต์มีจำนวนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในชุดฉลองพระองค์ทรงศีล ในวันอุโบสถทรงประทานธรรมแก่ราชพุทธบริษัทฝ่ายในเมื่อราวพ.ศ. 2410 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติธีฝังศะ หอจดหทายเหตุแห่งชาติ
ใน ค.ศ. ๑๘๔๖ (พ.ศ. ๒๓๘๙) พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้พิมพ์หนังสือ “ปุจฉา วิสัชนา” โดยวิพากษ์วิจารณ์พระพุทธศาสนาของชาวสยามอย่างรุนแรง เช่น พระพุทธศาสนามิใช่ศาสนาที่มีใจความถูกต้อง,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ควรถูกพิจารณาเป็นที่พึ่งซึ่งจะช่วยเหลือได้,คำสอนของศาสนาพุทธเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษและนรกสวรรค์นั้นไม่เป็นความจริง,การกล่าวดูถูกดูแคลนพระสงฆ์กับนางชี และศีลของศาสนาพุทธว่าไม่มีผู้ใดรักษาได้ ผู้บัญญัติจึงเปรียบเสมือนคนเสียจริต เป็นต้น
เมื่อหนังสือ “ปุจฉา วิสัชนา” ถูกนำออกแจกจ่าย ก็กลายเป็นชนวนเหตุให้ชาวพุทธและชาวคริสตังเกิดความบาดหมางใจกันขึ้น ทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ราษฎร ทางการสยามจึงมีคำสั่งให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์หยุดเผยแพร่หนังสือเล่มดังกล่าวนี้เสีย พร้อมกับข่มขู่พวกบาทหลวงว่าหากไม่หยุดแจกจ่ายหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็จะถูกจับไปคุมขัง ด้วยเหตุนี้ท่านพระสังฆราชจึงหันมาพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับภาษาศาสตร์แทนในที่สุด
หนังสือ “ไวยากรณ์ภาษาไทย” (Grammatica Linguae Thai) ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกในด้านภาษาแก่คณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศสในกรุงสยามพิมพ์ที่โรงพิมพ์โรงเรียนอัสสัมชัญ (Ex Typographi?, Collegii Assumptionis B.M.V. หรือ Assumption College Press) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๓๙๓) มีความหนาทั้งสิ้น ๒๔๑ หน้า นับเป็นพจนานุกรมฉบับแรกของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์แทนการเขียนด้วยลายมือเหมือนอย่างก่อน
หนังสือ “Dictionatium Latinum Thai, ad usum Missionis Siamensis” เป็นพจนานุกรมละตินและไทย สำหรับใช้ประโยชน์ในการเผยแผ่พระคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกแห่งกรุงสยาม ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์โรงเรียนอัสสัมชัญ (Ex Typ. Coll. Assump. B.M.V.) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๓๙๓)
หนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท” (Dictionarium Linguae Thai sive Siamensis Interpretatione Latina, Gallica Et Anglica) เป็นพจนานุกรม ๔ ภาษา (ไทย-ละติน-ฝรั่งเศส-อังกฤษ) พิมพ์ที่โรงพิมพ์หลวง (Jussu Imperatoris Impressum หรือ Imperial Press) ในกรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๔ (พ.ศ. ๒๓๙๗) โดยได้รับทุนทรัพย์จากรัฐบาลฝรั่งเศส หลังจากท่านพระสังฆราชได้ใช้เวลาในการเรียบเรียงมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี มีความหน้าทั้งสิ้น ๘๙๗ หน้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนช่วยเหลือในการแต่งพจนานุกรมเล่มนี้อยู่มิใช่น้อยเลยทีเดียว
หนังสือ “English Siamese Vocabulary Enlarged with an Introduction to the Siamense Language and a Supplement : By D.J. Bapt. Pallegoix New Edition” พิมพ์ที่โรงพิมพ์มิสซังคาทอลิก (Catholic Mission Press) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๗ (พ.ศ. ๒๔๒๐) มีความหนาทั้งสิ้น ๓๕๙ หน้า
หนังสือ ศริพจน์ภาษาไทย์” (Siamese French English Dictionary หรือ Dictionnaire Siamois Fran?ais Anglais) อนุโลมว่าผลงานร่วมกันระหว่างพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และมงเซเญอร์ฌัง หลุยส์ เวย์ (Mgr. Jean Louis Vey) พระสังฆราชแห่งเมืองเยราซา (Bishop of Geraza พ.ศ. ๒๔๑๘-๕๒) เพราะพระสังฆราชเวย์ได้นำหนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท” ของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์มาแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้เป็นพจนานุกรม ๓ ภาษา (ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ) โดยตัดเอาคำแปลภาษาลาตินของเดิมออกไปและได้เพิ่มเติมถ้อยคำต่างๆเข้าไปจากที่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้กระทำไว้ ก่อนหน้านี้พิมพ์ที่สำนักงานมิสซังคาทอลิก(Imprimerie de la Mission Catholique หรือ Office of the Catholic Mission) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๖ (พ.ศ. ๒๔๓๙) มีความหนาทั้งสิ้น ๑,๑๖๕ หน้า
หนังสือ “Introduction to the Siamese Language” (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์) มีความหนาทั้งสิ้น ๒๓๓ หน้า
พระสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์ เจ้าคณะเขตเผยแพร่พระคริสต์ศาสนาประจำประเทศสยาม วาดจากรูปถ่ายระบบดาแกโรไทป์ เก็บรักษาอยู่ที่ห้องสมุดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พระสังฆราชเวย์ ผู้นำหนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท”ของพระสังฆราชปัลเลอร์กัวซ์มาปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่เป็นหนังสือ“ศิริพจน์ภาษาไทย” ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2439 ภาพจากอัสสสัมชัญอุโฆษสมัย เล่ม 34 ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2466
หนังสือ “English Siamese Vocabulary Enlarged with an Introduction to the Siamense Language and a Supplement : By D.J. Bapt. Pallegoix New Edition” พิมพ์ที่โรงพิมพ์มิสซังคาทอลิก (Catholic Mission Press) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๗ (พ.ศ. ๒๔๒๐) มีความหนาทั้งสิ้น ๓๕๙ หน้า
บาทหลวงลาร์โนดี ภาพจาก Le second Empire
en In-doChine ของ Charles Mayniard
พิมพ์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2434
หนังสือ ศริพจน์ภาษาไทย์” (Siamese French English Dictionary หรือ Dictionnaire Siamois Fran?ais Anglais) อนุโลมว่าผลงานร่วมกันระหว่างพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และมงเซเญอร์ฌัง หลุยส์ เวย์ (Mgr. Jean Louis Vey) พระสังฆราชแห่งเมืองเยราซา (Bishop of Geraza พ.ศ. ๒๔๑๘-๕๒) เพราะพระสังฆราชเวย์ได้นำหนังสือ “สัพะพะจะนะพาสาไท” ของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์มาแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้เป็นพจนานุกรม ๓ ภาษา (ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ) โดยตัดเอาคำแปลภาษาลาตินของเดิมออกไปและได้เพิ่มเติมถ้อยคำต่างๆ เข้าไปจากที่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้กระทำไว้ก่อนหน้านี้ พิมพ์ที่สำนักงานมิสซังคาทอลิก (Imprimerie de la Mission Catholique หรือ Office of the Catholic Mission) ในกรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๖ (พ. ศ. ๒๔๓๙) มีความหนาทั้งสิ้น ๑,๑๖๕ หน้า
หนังสือ “Introduction to the Siamese Language” (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์) มีความหนาทั้งสิ้น ๒๓๓ หน้า
ความไข้ในกรุงสยาม
เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๙ (พ.ศ. ๒๓๙๒) เกิดไข้ป่วงหรืออหิวาตกโรคระบาดอย่างหนักไปทั่วทุกหนทุกแห่งในกรุงสยาม ชาวเมืองบางกอกล้มตายเป็นอันมากแม้แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงสูญเสียพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจินดา พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพวงแก้ว ขุนนางชั้นผู้ใหญ่อย่างเจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายก ไปในความไข้ครั้งนี้ พระองค์จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงศีล ด้วยการซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นอาหารมาปล่อยเป็นการแก้เคล็ดทุกวัน แล้วยังโปรดเกล้าฯ ให้ป่าวประกาศให้ราษฎรทุกชาติทุกภาษาในกรุงเทพฯ เร่งทำบุญสุนทานไถ่ชีวิตสัตว์โดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่งแม้แต่คณะมิสซังฝรั่งเศสก็ได้รับผลกระทบนี้ด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสขอให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ถวายสัตว์แด่พระองค์ด้วย โดยพระองค์ทรงยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจะทรงเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ไว้ มิได้ตั้งพระทัยจะเอาไปมอบให้แก่วัดในพระพุทธศาสนาหรือนำไปใช้ในพิธีทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใดไม่
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้นำความนี้ไปปรึกษาหารือกับพวกบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็ลงความเห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใคร่จะเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ไว้ โดยยึดถือตามคติความเชื่อของชาวสยามเรื่องการไถ่ชีวิตสัตว์เพื่อเป็นการต่อพระชนมายุสำหรับพระองค์เอง และเกรงว่าถ้าถวายสัตว์ให้ไปตามพระราชประสงค์แล้ว ก็จะเป็นการร่วมมือในการซูแปร์ติซัง (แปลว่า การทำกิจการนอกรีต) ของพวกนอกรีต จึงคัดค้านไม่ให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กระทำการดังกล่าว โดยส่วนตัวของท่านพระสังฆราชเอง แม้จะมีความคิดเห็นต่างไปจากพวกบาทหลวงฝรั่งเศส แต่ท่านก็ยินยอมโอนอ่อนผ่อนตามคำแนะนำของบาทหลวงกลุ่มนี้ ด้วยการตอบปฏิเสธพระราชประสงค์ของพระองค์
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกริ้ว ต่อการตัดสินใจของพวกบาทหลวงฝรั่งเศส กอปรกับการที่พวกบาทหลวงห้ามมิให้พวกเข้ารีตปล่อยสัตว์ตามพระราชประสงค์ ทำให้พระองค์เข้าพระทัยว่า พวกบาทหลวงคงแคลงใจในพระราชดำรัสยืนยันถึงเรื่องที่พระองค์จะไม่ทรงใช้สัตว์เหล่านี้ไปในการทำพิธีทางพระพุทธศาสนา จึงมีรับสั่งให้จับกุมพวกบาทหลวงฝรั่งเศสทั้งหมด และบังคับให้พวกเข้ารีตละทิ้งศาสนาของตน รวมถึงมีรับสั่งให้ทำลายวัดคริสตังและบ้านพักของพวกบาทหลวงด้วย
เมื่อพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ทราบข่าวร้ายดังกล่าว ด้วยความที่ท่านพักอาศัยอยู่ในกรุงสยามมาเป็นเวลานาน จึงรู้ซึ้งในขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสยามเป็นอย่างดี ก็ขอร้องให้พวกบาทหลวงฝรั่งเศสปฏิบัติตามพระกระแสรับสั่ง แต่คำขอร้องของท่านพระสังฆราชกลับสร้างความแตกแยกในคณะมิสซัง โดยพวกบาทหลวงฝรั่งเศสยังคงยืนยันว่า การปล่อยสัตว์ถวายเป็นพระราชกุศลนั้นเป็นสิ่งที่คริสตจักรไม่อนุญาตให้ทำได้ จึงปฏิเสธไม่ยอมกระทำตามคำขอของท่านพระสังฆราช
แต่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กลับเห็นว่า การปล่อยสัตว์ไม่ขัดต่อหลักธรรมของคริสต์ศาสนาแต่อย่างใด จึงตัดสินใจยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างราชสำนักสยามกับคณะมิสซังฝรั่งเศส ด้วยการมอบหมายให้พระยาวิเศษสงครามหัวหน้าพวกคริสตังเป็นตัวแทนของท่านนำเอาห่าน เป็ด และไก่เข้าไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงปล่อยตามพระราชประสงค์เช่นเดียวกับพระสงฆ์ชาวสยาม แล้วสั่งให้พวกเข้ารีตปล่อยสัตว์ให้หมดทุกคนโดยไม่มีข้อแม้
แม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้ว แต่พระองค์กลับมีคำสั่งให้เนรเทศบาทหลวงฝรั่งเศสทั้ง ๘ คน ที่คัดค้านพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ไม่ให้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ออกนอกราชอาณาจักรสยาม ได้แก่ บาทหลวงออกุสแตง ยอแซฟ ดือปองด์ (M.Augustin Joseph Dupond) บาทหลวงนิโกลาส มารี เลอเกอซ์ (M.Nicolas Marie Lequeux) บาทหลวงกรังด์ฌัง (M.Grandjean) บาทหลวงเคลมังโซ (M.Clemenceau) บาทหลวงยิบาร์ตา (M.Gibarta) บาทหลวงดานีแอล (M.Daniel) บาทหลวงโกลเดต์ (M.Glaudet) และบาทหลวงลาร์โนดี (M.Larenaudie) โดยเดินทางไปพำนักอยู่ยังเมืองสิงคโปร์และเกาะปีนัง คงเหลือแต่พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และบาทหลวงชาวพื้นเมือง รวมถึงบาทหลวงฌัง-บัปติสต์ รังแฟงก์ (M.Jean-Baptiste Ranfaing) เพราะขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่วัดจันทบูรณ์ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงจึงไม่มีส่วนรู้เห็นในความขัดแย้งดังกล่าว ท่านพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ก็ได้รายงานกรณีพิพาทความไข้ในกรุงสยามครั้งนี้ ไปยังกรุงโรมให้ได้รับทราบด้วย
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ สืบแทนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเชษฐาธิราชใน ค.ศ. ๑๘๕๑ (พ.ศ. ๒๓๙๔) ครั้นวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พระองค์โปรดเกล้าให้พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวังอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งมีรับสั่งให้ท่านพระสังฆราชเรียกตัวบาทหลวงฝรั่งเศสที่ถูกเนรเทศกลับเข้ามาทำงานเผยแผ่พระคริสต์ธรรมยังกรุงสยามตามเดิม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งต่อคณะมิสซังฝรั่งเศส