ศิลปะการแทงหยวก 1-2
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2011-10-07 10:50:57
ร่วมแบ่งปันโดย อาจารย์วิริยะ สุสุทธิ โรงเรียนเซนโยเซฟ เพชรบุรี
ประวัติความเป็นมา : ศิลปะการแทงหยวกเป็นศิลปะแขนงหนึ่งของชาวเพชรบุรี หนึ่งในงานช่างสิบหมู่ สกุลช่างแกะสลักเครื่องสด ใช้ในพระราชพิธี งานบุญ งานพิธีแบบโบราณ ตั้งแต่เกิด จนถึงเสียชีวิต ซึ่งจะมีการใช้กับงานประเภทอมงคล มากกว่า เช่นพิธีศพ
อุปกรณ์ : 1. มีดแทงหยวก ค่อนข้างสำคัญ ใบมีดทำมาจากเหล็กลานนาฬิกา มีความคมสองด้าน ปลายแหลม ด้ามจับทำจากวัสดุอะไรก็ได้ที่จับแล้วถนัดมือ 2. มีดตัดหยวก มีบางธรรมดา 3. ต้นกล้วยทุกประเภท แต่ที่ดีที่สุดคือกล้วยตานี เพราะผิวสวย ไม่แตกหักง่าย ควรเป็นกล้วยที่ยังไม่ออกลูก หรือเครือ วงกาบจะมาก ลำต้นประมาณ 3-4 คืบ โอบมือ 4. ตอกเส้น ไม้ไผ่เหลาติดผิว 5. กระดาษอังกฤษ หรือใบตองสด ใบตองแห้งและสด
ลวดลายที่ใช้แทงหยวกคือลายพื้นฐานประเภทลายไทย ลายกนก เมื่อได้ชิ้นงานที่แกะสลักลายแล้ว ก็สามารถนำไปประดับตกแต่งอาคารชั่วคราวที่จัดพิธีได้