ลูกเสือไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2011-07-18 16:42:47
ดร.บุญธรรม พิมพาภรณ์ ผอ. รร. ราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย 2 สพท.กทม.1 และหัวหน้าผู้ให้การอบรมผู้กำกับลูกเสือ (L.T./4 ท่อน) รุ่น Asia Pacific 12 ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติลูกเสือ และงานชุมนุมลูกเสือโลก ตลอดจนแนวโน้มของลูกเสือไทย
กิจการลูกเสือแรกเริ่มมาจากประเทศอังกฤษโดยท่านลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ได้นำเด็กๆ จำนวน 20 คนไปฝึกที่เกาะบราวน์ซีเพื่อให้เป็นกองสอดแนมให้กับกองทัพ
ท่านลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell)
ส่วนในประเทศไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้กำเนิดลูกเสือไทยขึ้น โดยพระองค์เกิดแรงบันดาลใจจากการที่พระองค์ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า (Wild Tiger Corps) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 เพื่อเป็นการฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้เรื่องวิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เมื่อเวลาผ่านไป พระองค์จึงเล็งเห็นว่าควรเผยแพร่ไปที่โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนแรกก็คือ โรงเรียนวชิราวุธ จนกระทั่งปัจจุบันกิจการลูกเสือไทยถูกบันทึกเข้าไปเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน เพราะกิจการลูกเสือสามารถพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดีแม้กระทั่งการเรียน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
ด้านแนวโน้มของกิจการลูกเสือไทยปัจจุบันสำหรับอาจารย์บุญธรรมได้แสดงความเป็นห่วง เนื่องจากเพราะกิจการลูกเสือกำลังหายไป อาจารย์ได้มีโอกาสได้พบกับเลขาธิการลูกเสือแห่งชาติและได้นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับลูกเสือไทยว่าควรจะนำกิจกรรมลูกเสือกลับมาปฏิบัติอย่าเป็นจริงเป็นจัง เพราะสมัยก่อนนี้กิจกรรมลูกเสือเป็นที่น่าตื่นเต้นมาก แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นแฟชั่นไป โดยเฉพาะการแต่งกาย ชุดลูกเสือเป็นเครื่องแบบพระราชฐานแต่กลับให้ความสำคัญน้อย
ประเภทของลูกเสือไทย มีสำหรับทุกช่วงวัย นั้นคือ สำหรับเด็ก อายุ 8-11 ปี ก็จะเป็นลูกเสือสำรอง (Cub Scout) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา อายุ 11-15 ปี ก็เป็นลูกเสือสามัญ (boy Scout) นักเรียนระดับมัธยมศึกษา อายุ 15-18 ปี ก็สามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) และนักเรียนระดับมัธยมปลายหรือปวช. อายุ 17-23 ปี ก็ลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) ด้านคติพจของลูกเสือแต่ละประเภทก็เป็นจุดเน่นแตกต่างกันไป ลูกเสือสำรอง คือ “จงทำดี” เป็นการปลูกฝังแนวคิดการทำความดีตั้งแต่เด็กๆ , ลูกเสือสามัญ “จงเตรียมพร้อม” , ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ “มองไกล” เป็นการฝึกการมีวิสัยทัศน์ และ ลูกเสือวิสามัญ “บริการ” คือการช่วยเหลือสังคม อาจารย์บุญธรรมเห็นว่ากิจกรรมลูกเสือเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กรู้จักการทำความดีรู้รักสามัคคีควบคู่กับการเรียนที่ดีด้วย
งานชุมนุมลูกเสือโลก หรือ World Scout Jamboree จะเกิดขึ้นทุกๆ 4ปี สำหรับประเทศไทยก็ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมเสมอ สำหรับคนที่จะเป็นตัวแทนอันดับแรกต้องเน่นเรื่องภาษา ทักษะในด้านการลูกเสือ และความกล้าแสดงออกที่จะแลกเปลี่ยนทักษะต่างๆ ด้านเนื้อหาสำคัญของการเข้าค่ายลูกเสือโลกคือการแลกเปลี่ยนแนวคิด แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและของที่ระลึกของแต่ละประเทศ โดยจะมีสมุดบันทึกว่า วันนี้ทำอะไรบ้าง เพราะวิชาลูกเสือเป็นวิชาที่มีการสอนทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบ ดังนั้น เด็กจะได้เรียนรู้ในรูปแบบประสบการณ์ตรง
“กิจการลูกเสือเป็นกิจการที่สำคัญเป็นกระบวนการที่จะทำให้เด็กเป็นพลเมืองดีของประเทศและของโลกต่อไป เพราะกระบวนการลูกเสือมีความแน่ชัดชัดเจนในเรื่องกฎและคำปฏิญาณ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ถ้าหากว่าหน่วยงานเยาวชนที่จะให้เยาวชนมีระเบียบ วินัย มีความสามัคคคี มีความซื่อสัตย์ รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กิจกรรมลูกเสือน่าจะเหมาะในการนำมาพัฒนาเด็กในส่วนนี้ โดยเฉพาะ เด็กลูกเสือรุ่นต่างๆ จงภาคภูมิใจในความเป็นลูกเสือ เพราะ ประการที่ 1 เครื่องแบบเป็นเครื่องแบบพระราชฐานที่สง่างาม และประการที่ 2 กฎลูกเสือ 10 ข้อ คำปฏิญาณ คติพจ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กๆ มีความเข้มแข็ง มีทักษะในการดำรงชีวิตและประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตในที่สุด” อาจารย์บุญธรรม พิมพาภรณ์ ฝากถึงผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกิจการลูกเสือทุกระดับ
อ้างอิง :
- https://www.act.ac.th/boyscout/index_6.html
- https://watchangkham.igetweb.com/index.php?mo=10&art=11609