ภาษาไทย ม. 3 เรื่อง การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 108.1K views



 ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 
 



การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของภาษา
   ๑. การเลือกใช้คำให้ตรงกับความหมาย
   การเลือกใช้คำเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นการถ่ายทอดเจตนาผู้ส่งสาร ถ้าใช้ผิดจะทำให้เข้าใจผิด เช่น
       ก. ครูกีดกันเด็ก ๆ ไม่ให้วิ่งออกมาหน้าระเบียง
       ข. พี่ชายกีดกันไม่ให้ฉันเล่นเกมคอมพิวเตอร์
       ค. เครื่องตัดหญ้ากีดกันการเล่นฟุตบอลของเด็กในสนาม
       ง. ตำรวจนำลวดหนามกีดกันไม่ให้ผู้ชุมนุมประท้วงเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล
       จ. ช่างวางกองทรายกีดกันประตูหน้าบ้าน
   คำว่า กีดกัน หมายถึง กันไม่ให้ทำได้โดยสะดวก พิจารณาแล้วได้ผลดังนี้
 


   ทว่าคำในภาษาไทยหลายคำมีความหมายใกล้เคียงกัน บางคำอาจใช้แทนกันได้ ขณะที่บางคำใช้แทนกันไม่ได้ เช่น คำว่า มอง จ้อง เพ่ง เล็ง ชม้อย ชม้าย เมียง เมิน เหลือบ เหลียว ยล เป็นชุดคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ลักษณะอาการต่างกัน ดังนั้นการใช้คำจึงต้องเลือกใช้ให้ตรงตามความหมาย
 

   ๒. การใช้คำให้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา
     ๑. การใช้ตัวสะกด ตัวการันต์ ให้ถูกต้อง เช่น
         คำพ้อง เช่น รถเข็น เข็ญใจ เขี้ยวเล็บ – เคี่ยวน้ำตาล ตักบาตร – บิณฑบาต
         คำที่มีตัวการันต์ เช่น เวทมนตร์ – น้ำมนต์ วันจันทร์ – ไม้จันทน์ โจทย์เลข – โจทก์จำเลย
         ตัว น ณ เช่น ปรานี – ปราณี

     ๒. การใช้วรรณยุกต์ ถ้าใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ต่างกัน จะทำให้ความหมายคำเปลี่ยนไป เช่น
 

     ๓. การใช้คำควบกล้ำให้ถูกต้อง
         ฉันกะจะไม่ไปตามนัด      ยายมีผิวหนังตกกระ

     ๔. การเขียนและออกเสียงคำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้นให้ถูกต้อง เช่น
         เรื่องาว เร่รีวนเ
         ล่วง โดแล่ลุล่วง

     ๕. การใช้คำให้ถูกต้องตามชนิดของคำ เช่น
         คำลักษณนาม เช่น กระเป๋า ๓ ใบ ช้อน ๒ คัน หนังสือ ๑ เล่ม

         คำบุพบท เช่น
            กับ ใช้ในความหมายที่ไปทางเดียวกัน เช่น พ่อกับแม่
            แก่ ใช้เมื่อผู้ใหญ่ให้ผู้น้อยหรือความหมายทั่ว ๆ ไป เช่น ครูแจกรางวัลแก่เด็กนักเรียน
            แด่ ใช้เมื่อผู้น้อยให้ผู้ใหญ่ เช่น นักเรียนมอบของที่ระลึกแด่คณะศึกษานิเทศก์
            ต่อ ใช้กับอาการยื่นหรือเสนอ เช่น เขาเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุม
            แต่ ใช้กับสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกันหรือระยะทาง ระยะเวลาอันเป็นจุดเริ่มต้น เช่น เขามาแต่บ้าน เขาพูดไว้แต่แรก
            เพื่อ ใช้บอกลักษณะเป็นผู้รับหรือเป็นความประสงค์ของคำหน้า เช่น เขาลำบากเพื่อลูก
            สำหรับ ใช้บอกความมุ่งหมาย เช่น น้ำสำหรับดื่ม

         คำอาการนาม เช่น
            การ ใช้นำหน้ากริยาทั่วไป เช่น การดู การวิ่ง การเรียน
            ความ ใช้นำหน้าคำวิเศษณ์หรือกริยาเกี่ยวกับจิตใจ เจริญ เสื่อม เช่น ความสวย ความชั่ว

 

   ๓. การเรียบเรียงประโยคให้สละสลวยมีลักษณะดังนี้
     ๑. ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ใช้คำน้อยแต่สื่อความชัดเจน เช่น
 

 

     ๒. มีใจความชัดเจน การเลือกคำมาใช้นอกจากกระชับแล้วยังต้องสื่อความหมายชัดเจน หากคำกำกวมต้องเพิ่มคำ   เพื่อให้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
 

     ๓. ใช้คำไม่ซ้ำซาก เรียกอีกอย่างว่า การหลากคำ หมายถึงการหาคำความหมายใกล้เคียงมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เช่น
 

     ๔. มีการเรียงลำดับคำในประโยค ต้องพิจารณาให้ดีเพราะมีทั้งที่ส่งผลและไม่ส่งผลกับความหมาย เช่น
         หมากัดแมว                 ≠   แมวกัดหมา
         ฉันออกกำลังกายทุกเช้า  =  ทุกเช้าฉันออกกำลังกาย

     การเรียงลำดับประโยคในภาษาไทย
         ๑) เรียงประธานไว้หน้าประโยค ตามด้วยกริยาและกรรม เช่น ฉันอ่านหนังสือ
 


 

         ๒) คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำกริยาจะอยู่หน้านาม เช่น ลูกแมวอยู่ในกล่อง

         ๓) คำขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย เช่น  

 

   ๔. คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย
   ความหมายตรง คือ ความหมายที่ตรงตามเนื้อความในพจนานุกรม ใช้สำหรับสื่อสารทั่วไป
   ความหมายโดยนัย คือ ความหมายเชิงเปรียบเทียบหรือมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความหมายแฝงในคำ สามารถสื่ออารมณ์แก่ผู้อ่านได้มาก จึงนิยมนำไปใช้เป็นความเปรียบ แต่ต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน เช่น
         ส.ส. คนนี้วางมือทางการเมืองแล้ว คำว่า วางมือ หมายถึง เลิกยุ่งเกี่ยว
 
 

การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
   มีข้อสังเกต ดังนี้
   ๑. ใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล เพื่อให้เกียรติตามฐานะ เช่น
       เจ้าอาวาสอาพาธอยู่ที่โรงพยาบาล      – อาพาธ ใช้กับพระสงฆ์
       ยายนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล            – ป่วย ใช้กับบุคคลธรรมดา

   ๒. ใช้ถ้อยคำให้ถูกกาลเทศะและโอกาส คือ ใช้คำตามวาระให้เหมาะสม เพื่อเคารพสถานที่ เช่น
       ขอเชิญแขกผู้มีเกียรติร่วมรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว                – โอกาสที่ไม่เป็นทางการ
       ขอเชิญผู้มีเกียรติทุกท่านหลั่งน้ำพระพุทธมนต์แก่คู่บ่าวสาว  – โอกาสที่เป็นทางการ
 
 

ระดับของภาษา
   ระดับของภาษา มีขึ้นเพื่อให้ใช้ได้เหมาะสมตามกาลเทศะ แบ่งได้ ๓ ระดับคือ ไม่เป็นทางการ กึ่งทางการ และทางการ โดยแต่ละระดับใช้รูปแบบภาษาตามระดับ ดังนี้
   ๑. ภาษาไม่เป็นทางการ
   ภาษาไม่เป็นทางการ หรือภาษาปาก ใช้พูดกับคนใกล้ชิด หากใช้ในการเขียนจะใช้ในการเขียนนิยาย เรื่องสั้น ละคร นิทาน โฆษณา หนังสือพิมพ์ งานบันเทิงคดี จดหมายส่วนตัว ฯลฯ เช่น
       ในยุคที่ข้าวของแพง คนส่วนใหญ่ชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องปากกัดตีนถีบหาเงินเลี้ยงครอบครัว จับกังพวกนี้หลังเลิกงานจะจับกลุ่มนั่งก๊งเหล้ากันทุกวัน

   ๒. ภาษากึ่งทางการ
   ภาษากึ่งทางการ คือ ภาษาสำหรับคนรู้จักแต่ไม่คุ้นเคย ใช้ในการประชุมย่อย การอภิปราย การบรรยายในห้องเรียน การแนะนำบุคคล การปราศรัย ปาฐกถา ประกาศ ฯลฯ เช่น
       ตำรวจจับฆาตกรวางระเบิดรถยนต์เพื่อฆ่าแฟนสาว

   ๓. ภาษาทางการ
   ภาษาทางการ คือ ภาษาสำหรับงานพิธีการหรืองานทางการ เช่น การกล่าวถวายพระพร กล่าวรายงาน กล่าวต้อนรับบุคคลสำคัญ ประกาศแต่งตั้งบุคคล เขียนจดหมายธุรกิจ บทสุนทรพจน์ หนังสือวิชาการ หนังสืออ้างอิง หนังสือราชการ แถลงการณ์ ฯลฯ เช่น
       เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศจะใช้มาตรการเด็ดขาดในการปราบปรามยาเสพติด

ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับต่าง ๆ
 



การใช้ภาษากับกลุ่มอาชีพหรือวงการต่าง ๆ
   กลุ่มคนที่มีความสนใจร่วมกันมักสร้างภาษาขึ้นใช้เอง โดยภายหลังภาษาเหล่านี้มีผู้ยอมรับและขยายขอบเขตการใช้ แบ่งได้ดังนี้
   ๑. ภาษาที่ใช้ในกลุ่มสังคมหรือวงการต่าง ๆ
       ๑) วงการกีฬา เช่น เหรียญทอง การเสิร์ฟ อุ่นเครื่อง ทีมลูกหนัง ชิงแชมป์ ฯลฯ
       ๒) วงการสื่อมวลชน เช่น คลื่นวิทยุ เว็บไซต์ ผู้สื่อข่าว ผู้ประกาศข่าว พาดหัวข่าว ฯลฯ
       ๓) วงการธุรกิจ เช่น โบรกเกอร์ ตลาดหุ้น ดัชนี เครดิต เดบิต อุปสงค์ อุปทาน ฯลฯ
       ๔) วงการการเมือง เช่น ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ญัตติ ลงมติ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯลฯ
       ๕) วงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ดาวน์โหลด ไฟล์ อินเทอร์เน็ต เว็บบอร์ด อีเมล ฯลฯ
 

   ๒. ภาษาที่ใช้ในกลุ่มวิชาการหรือวิชาต่าง ๆ
       ๑) ภาษาที่ใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น ระบบนิเวศ พลังงาน แรงโน้มถ่วง พันธุกรรม ไอโซโทป ฯลฯ
       ๒) ภาษาที่ใช้ในวิชาภาษาไทย เช่น อุปมา อุปลักษณ์ การพินิจ วรรณคดี วรรณกรรม บริบท ฯลฯ
       ๓) ภาษาที่ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เช่น สมการ เศษส่วน ทศนิยม ฟังก์ชัน ตรีโกณมิติ ฯลฯ
       ๔) ภาษาที่ใช้ในวิชาสังคมศึกษา เช่น เศรษฐกิจ การบริโภค การผลิต ศาสนพิธี พุทธสุภาษิต ฯลฯ
       ๕) ภาษาที่ใช้ในวิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ เช่น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพปะติด การแรเงา ทัศนศิลป์ การประเท้า สังคีตศิลป์ ฯลฯ
       วิชาอื่น ๆ ที่มีภาษาเฉพาะ เช่น กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การแพทย์ คอมพิวเตอร์ การช่าง เป็นต้น


สรุป
   หลักการใช้ภาษาให้มีประสิทธิภาพ ต้องพิจารณาทั้งการสะกดคำและการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เรียบเรียงอย่างสละสลวย สื่อความกระชับ ชัดถ้วนใจความ ตลอดจนเหมาะสมตามระดับภาษา กาลเทศะ และกลุ่มบุคคล
 

 

 แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th