บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พลเมืองดี
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 12.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้





1. การเป็นพลเมืองดี
          ความหมายและความสำคัญของเยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีศีลธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ที่มีอายุเกิน 14 ปี แต่ยังไม่ถึง 25 ปีบริบูรณ์ ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมไทย ซึ่งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนไทย 3 ประการ ได้แก่
                    - การมีความเพียรบริสุทธิ์
                    - การมีปัญญาที่เฉียบแหลม
                    - การมีกำลังกายที่สมบูรณ์




          ความสำนึกต่อส่วนรวมหรือจิตสาธารณะ “จิตสาธารณะ” เป็นการเสียสละและอุทิศตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม และช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ พฤติกรรมที่แสดงออกถึงลักษณะดังกล่าว ได้แก่
                    - การรับผิดชอบต่อสาธารณสมบัติและทรัพยากรธรรมชาติ
                    - การทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
                    - การรับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและมีการแก้ไขร่วมกัน




2. บทบาทและหน้าที่ของเยาวชนที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ
          การเคารพกติกาสังคม กติกาสังคม คือ ข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคม
                    - การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย




                    - การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี




                    - การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น

          การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมทางสังคม เป็นบทบาทหน้าที่ของเยาวชนที่สมควรกระทำด้วยวิธีการดังนี้
                    - การรับข้อมูล เป็นการรับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากการติดต่อสื่อสาร
                    - การแสดงความคิดเห็น เป็นการแสดงออกทางความคิดตามที่เยาวชนได้รับรู้มา
                    - การปรึกษาหารือ เป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือความรู้กัน
                    - การวางแผนร่วมกัน เป็นการกำหนดขั้นตอนก่อนปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ
                    - การร่วมปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้

          การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่สิ้นสุด เยาวชนจึงมีบทบาทหน้าที่ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติด้วยวิธีการดังนี้
                    - ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด รู้คุณค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
                    - ไม่ทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ
                    - สอดส่องดูแลมิให้ผู้ใดมาทำลายสิ่งแวดล้อม
                    - ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
                    - เผยแพร่แนวคิดอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ




          การรักษาสาธารณประโยชน์ ทำได้หลายวิธี ได้แก่
                    - ไม่ทำลายหรือทำให้สาธารณประโยชน์ได้รับความเสียหาย
                    - ไม่นำสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ไปใช้ส่วนตน
                    - ดูแลรักษาสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
                    - สอดส่องดูแลมิให้ผู้ใดมาทำลายสาธารณประโยชน์





แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th