ภาษาไทย ม. 2 เรื่อง การสร้างคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 36.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การสร้างคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา

 

 

พยางค์และคำในภาษาไทย
๑.พยางค์
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมาย หรือไม่มีความหมายก็ได้
ลักษณะของพยางค์ในภาษาไทย พยางค์มีองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
     ๑. พยางค์ประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์
     ๒.ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และเสียงพยัญชนะท้ายหรือตัวสะกด
ซึ่งมี ๘ แม่ ตามเสียงพยัญชนะท้าย เช่น นก ขลัง พูด ผล ลาภ เทียม เลย ลาว
พยางค์ในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
     ๑. พยางค์หนัก คือ พยางค์ที่ออกเสียงได้ลำพัง หรือเป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ เช่น รัก เสือ เหลือ คิด
     ๒. พยางค์เบา พยางค์ที่ต้องมีพยางค์หนักมารับข้างท้ายเสมอ มี ๒ ลักษณะ คือ
          ๑) พยางค์หน้าของคำ เช่น ยัก มอง ะนาว ณิต
          ๒) พยางค์หน้าของคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ทัย กุหลาบ วิชา วัสดี
     ๓. พยางค์ลดน้ำหนัก คือ พยางค์ที่ออกเสียงเบา และเสียงที่ประกอบกันเป็นพยางค์อาจเปลี่ยนเสียงไป แต่ถ้ามีพยางค์หนักมาต่อท้ายจะทำให้พยางค์นั้นออกเสียงเบาหรือเปลี่ยนเสียงไป เช่น เธอทำอย่างนี้ได้อย่างไร ช่างไม่รักษาน้ำใจกันเลย
ประโยคนี้มักออกเสียงว่า เธอทำยังงี้ได้ยังไง ชั่งไม่รักษาน้ำใจกันเลย จะเห็นว่า พยางค์ เธอ จะออกเสียงไม่เต็มเสียง พยางค์ ยังงี้ ยังไง ชั่ง น้ำใจ จะเปลี่ยนเสียงจากพยางค์หนักให้ออกเสียงสั้นลง
     ๔. พยางค์เน้นหนัก คือ พยางค์ที่ต้องการเน้นเพื่อแย้ง เปรียบเทียบ หรือให้เกิดความความสนใจ เช่น แม่ฝากซื้อผักไม่ใช่เนื้อ ฉันบอกให้ไปเดี๋ยวนี้ จะเห็นว่าเน้นที่คำว่า ผัก เดี๋ยวนี้ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่าผู้พูดต้องการสิ่งนั้น จึงออกเสียงสูงเป็นพิเศษ


๒. คำ
คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย กล่าวคือ องค์ประกอบที่สำคัญของคำ คือ เสียงและความหมาย
ลักษณะของคำ ซึ่งอาจประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือคำหลายพยางค์ก็ได้ เช่น พ่อ แม่ เพื่อน เสือ หมู รัก ดุ โรงเรียน อาหาร ก้อนหิน ปฏิบัติ อันตราย สนุกสนาน พัฒนาการ ประชาธิปไตย สัมพันธไมตรี
องค์ประกอบของคำ องค์ประกอบที่สำคัญของคำ คือ เสียงและความหมาย เช่น 

 

องค์ประกอบของคำ   

 

การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยแบ่งตามวิธีการสร้างได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑. การสร้างคำตามวิธีการของไทย ได้แก่ คำประสม คำซ้ำและคำซ้อน
๒. การสร้างคำตามวิธีการของต่างประเทศ ได้แก่ คำสมาสและคำแผลง

 

๑. คำสมาส
สมาส คือ การสร้างคำตามหลักไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต โดยนำคำมูลตั้งแต่ ๒ คำมารวมกันโดยไม่มีการกลมกลืนเสียง ซึ่งเกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน และแปลความหมายจากคำหลังไปคำหน้า
ลักษณะของคำสมาส มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
     ๑. คำสมาสเกิดจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน และเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐบาล (บาลี + บาลี) ไตรรัตน์ (สันสกฤต + สันสกฤต) วัฒนธรรม (บาลี + สันสกฤต)
     ๒. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าประวิสรรชนีย์หรือเป็นตัวการันต์ไม่ได้ เช่น รัตนตรัย (รัตนะ + ตรัย) วาทศิลป์ (วาทะ + ศิลป์)
     ๓. เกิดจากคำที่มีความหมายหลักหรือที่เรียกว่า คำตั้งอยู่หลัง คำขยายอยู่หน้า ต้องแปลความหมายจากคำหลังไปคำหน้า เช่น

 

คำสมาส

คำขยาย

คำตั้ง

คำแปล

วาตภัย

วาต

ภัย

ภัยที่เกิดจากลม

พุทธศาสนา

พุทธ

ศาสนา

ศาสนาของพระพุทธเจ้า

ธุรกิจ

ธุระ

กิจ

งานที่เกี่ยวกับการค้าขายและการบริการ

 

คำสมาสบางคำเรียงคำตั้งไว้หน้า คำขยายไว้หลัง แปลจากคำหน้าไปยังคำหลังอย่างคำประสมหรือคำซ้อน มีหลักสังเกต คือ พยางค์ท้ายของคำตั้งจะต้องไม่ประวิสรรชนีย์หรือไม่เป็นตัวการันต์ และจะต้องออกเสียงพยางค์ท้ายของคำตั้ง เช่น

 

คำสมาส

คำอ่าน

คำซ้อนหรือวลี

คำอ่าน

บุตรธิดา

บุด-ตระ-ทิ-ดา

บุตรธิดา

บุด-ทิ-ดา

สวัสดิมงคล

สะ-หวัด-ดิ-มง-คล

สวัสดิ์มงคล*

สะ-หวัด-มง-คล

ฤทธิเดช

ริด-ทิ-เดด

ฤทธิ์เดช*

ริด-เดด

คำที่มีเครื่องหมาย * เป็นคำซ้อน

 

     ๔. ส่วนมากออกเสียงสระอะที่พยางค์ท้ายของคำหน้า แม้ไม่มีรูปสระกำกับ เช่น เทพบุตร (เทบ-พะ-บุด) อุบัติเหตุ (อุ-บัด-ติ-เหด)
หมายเหตุ คำสมาสบางคำออกเสียงได้ ๒ แบบ คือ เสียงพยางค์ท้ายของคำหน้าจะออกเสียงหรือไม่ออกเสียงก็ได้ เช่น ประวัติศาสตร์ (ปฺระ-หฺวัด-ติ-สาด, ปฺระ-หฺวัด-สาด) รสนิยม (รด-นิ-ยม, รด-สะ-นิ-ยม) และคำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น สมัยนิยม (สะ-ไหฺม-นิ-ยม) สุพรรณบุรี (สุ-พัน-บุ-รี)
     ๕. คำบาลีและสันสกฤตที่มีคำ พระ ซึ่งกลายเสียงมากจากคำบาลีสันสกฤต วร ประกอบข้างหน้า เช่น พระ+จันทร์ = พระจันทร์ พระ+ขรรค์ = พระขรรค์
     ๖. คำที่ลงท้ายด้วย ศาสตร์ ภาพ ภัย กรรม กิจ ศึกษา วิทยา แพทย์ จัดเป็นคำสมาสด้วย เช่น คณิตศาสตร์ เอกภาพ อุทกภัย คหกรรม เศรษฐกิจ พลศึกษา ชีววิทยา ทันตแพทย์

 

คำประสมและกลุ่มคำที่มีลักษณะคล้ายคำสมาส
๑. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตทั้งหมด เช่น ราชสำนัก ( สำนัก เป็นคำไทย) พระธำรง (ธำมรงค์ เป็นคำเขมร)
๒. คำตั้งอยู่หน้าคำขยาย ถึงแม้มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น นายกสภา ผลผลิต สมัยโบราณ

 

คำสมาสมีสนธิ
สนธิ คือ คำสมาสที่มีการเชื่อมหรือกลมกลืนเสียงพยัญชนะและสระ ระหว่างพยางค์ท้ายของคำหน้ากับพยางค์ต้นของคำ ตามหลักไวยากรณ์บาลีสันสกฤต สนธิที่นำมาใช้ในภาษาไทยส่วนมากเป็นการเชื่อมหรือกลมกลืนเสียงสระ คำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เรียกว่า คำสมาสมีสนธิ

 

คำมูล

คำสมาสธรรมดา

คำสมาสมีสนธิ

สุข+อุทัย

สุขอุทัย

สุโขทัย

จุฬา+อลงกรณ์

จุฬาอลงกรณ์

จุฬาลงกรณ์

 

หลักการสนธิ
หลักการสนธิมี ๓ ชนิด
๑. พยัญชนะสนธิ คือ การเชื่อมระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ โดยมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะก่อนนำมาสนธิกัน คำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ด้วยวิธีการนี้ ใช้เฉพาะศัพท์ในภาษาสันสกฤตเท่านั้น เช่น ทุสฺ + ชน = ทุรชน นิสฺ + ภย = นิรภัย
๒. สระสนธิ คือ การเชื่อมระหว่างคำที่ลงท้ายด้วยสระกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เมื่อสนธิแล้วจะเปลี่ยนรูปสระ เพื่อให้คำกลมกลืนเป็นเสียงเดียวกัน
การสนธิสระมีวิธีการ ดังนี้
     ๑) พยางค์ต้นของคำหลังต้องมีตัว อ เป็นพยัญชนะต้น
     ๒) ตัดสระพยางค์ท้ายของคำหน้าและใช้สระพยางค์ต้นของคำหลัง เช่น ทรัพย + อากร = ทรัพยากร อน + เอก = เอนก
     ๓) ตัดสระพยางค์ท้ายของคำหน้าและใช้สระพยางค์ต้นของคำหลัง โดยเปลี่ยนสระพยางค์ต้นของ คำหลัง อะ เป็น อา, อิ เป็น เอ, อุ เป็น อู หรือ โอ เช่น นร + อิศวร = นเรศวร, นย + อุบาย = นโยบาย
     ๔) เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นพยัญชนะ คือ อิ, อี เป็น ย อุ, อู เป็น ว ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังซึ่งอาจเปลี่ยนรูปหรือไม่เปลี่ยนก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้นของคำหลังไม่ใช่ อิ, อี หรือ อุ, อู อย่างสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น กิตติ + อากร = กิตติยากรณ์, ธนู + อาคม = ธันวาคม
     ๕) สมาสมีสนธิบางคำไม่เปลี่ยนสระ อิ,อี ท้ายพยางค์หน้าเป็น ย แต่ตัดสระอิ, อี ทิ้งไป แม้สระตรงพยางค์ต้นของคำหลังไม่ใช่ อิ,อี ด้วยกัน เช่น ศักดิ + อานุภาพ = ศักดานุภาพ, ราชินี + อุปถัมภ์ = ราชินูปถัมภ์
๓. นิคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำระหว่างคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะหรือสระก็ได้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
     ๑) นิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค เช่น สํ + ญา = สัญญา สํ + มติ = สมมติ
     ๒) นิคหิตสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรคเศษ (ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ) จะแปลงนิคหิต เป็นตัว ง แล้วสนธิกัน เช่น สํ + วร = สังวร ปุํ + ลิงฺค = ปุงลิงค์
     ๓) นิคหิตสนธิกับสระ ให้เปลี่ยนนิคหิตเป็น ม ก่อนแล้วสนธิ เช่น สํ + โอสร = สโมสร

 

๒. คำแผลง
คำแผลง คือ คำที่เปลี่ยนรูปหรือเสียงตัวอักษรให้ต่างไปจากเดิม บางทีก็เพิ่มพยัญชนะหรือวรรณยุกต์ให้เสียงต่างไปจากเดิม
การแผลงคำเป็นวิธีที่ไทยได้รับรูปแบบมาจากเขมรและอินเดีย มี ๔ ประเภท ได้แก่
     ๑. คำแผลงสระ โดยการเปลี่ยนสระรูปเดิมเป็นสระรูปอื่น เช่น ธารา เป็น ธาร, ศิร เป็น เศียร
     ๒. คำแผลงพยัญชนะ โดยการเปลี่ยนรูปพยัญชนะหรือเพิ่มพยัญชนะให้เสียงเปลี่ยนไป หรือมีพยางค์มากกว่าเดิม เช่น บวช -> ผนวช, ชาญ -> ชำนาญ, ขลัง -> กำลัง, แผก -> แผนก
     ๓. คำแผลงวรรณยุกต์ โดยการเปลี่ยนรูปหรือเสียงวรรณยุกต์ หรือเพิ่มรูปวรรณยุกต์ เพื่อให้เสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ถ้า -> ท่า, เหล้ -> เล่น, ซู่ -> สู้, เพียง -> เพี้ยง
     ๔. แผลงคำ โดยการเปลี่ยนรูปและเสียงของคำไปจากเดิม เป็นการแผลงทั้งคำ ส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น นำมาแผลงเพื่อสะดวกในการออกเสียง บางคำใช้ตามความนิยมของกวี เช่น ชนมพรรษ (สันสกฤต) ไทยใช้ชันษา กติกา (บาลี) ไทยใช้ กฤษฎีกา, กฤตยฎีกา

 

สรุป
การสร้างคำที่ใช้ในภาษาไทยมีหลายแบบ มีทั้งการสร้างคำตามวิธีการของไทย และการสร้างคำตามวิธีการของต่างประเทศ ซึ่งการสร้างคำที่มีหลายลักษณะนี้จะทำให้มีคำในภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น

 

คำสำคัญ  พยางค์  คำ  สมาส  สนธิ  คำสมาสมีสนธิ  คำแผลง 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th