ภาษาไทย ม. 1 เรื่อง การแต่งคำประพันธ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 80.6K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การแต่งคำประพันธ์

 

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแต่งคำประพันธ์
คำประพันธ์ คือ ถ้อยคำที่เรียงร้อยโดยมีลักษณะบังคับ คำสำคัญที่ควรรู้ในการแต่งคำประพันธ์ ได้แก่
๑. คำ คำประพันธ์นับคำด้วยจำนวนพยางค์ เช่น ชีวิต มี ๒ พยางค์ นับเป็น ๒ คำ
๒. คณะ คือ จำนวนคำบังคับในคำประพันธ์แต่ละประเภท
๓. สัมผัส คือ คำที่คล้องจองกัน มี ๒ ประเภท ได้แก่ สัมผัสนอก และสัมผัสใน
     ๓.๑ สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับหรือสัมผัสสระอยู่ระหว่างวรรค ระหว่างบาท และระหว่างบท


     รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา       จึ่งจะเบาแรงตนเร่งขวนขวาย
มีข้าไทใช้สอยค่อยสบาย       ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง                  
การวิชาหาประดับสำหรับร่าง   อย่าเอาอย่างหญิงโกงที่โฉงเฉง
การมิดีที่ชั่วจงกลัวเกรง         อย่าครื้นเครงขับร้องคะนองใจ


          – สัมผัสนอก ได้แก่ เขา-เบา / (ขวน) ขวาย-สบาย-นาย / ร่าง-อย่าง / (โฉง) เฉง-เกรง-(ครื้น) เครง
          – สัมผัสระหว่างบท ได้แก่ เกรง-(โฉง) เฉง
     ๓.๒ สัมผัสใน เป็นสัมผัสในวรรค ไม่ใช่สัมผัสบังคับแต่ถ้ามีจะทำให้ไพเราะขึ้น ได้แก่ สัมผัสสระ (คำที่มีเสียงสระและมาตราตัวสะกดเดียวกัน) และ สัมผัสพยัญชนะ (คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน) เช่น


     ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นั่ง           คิดถึงครั้งก่อนมาน้ำตาไหล
เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย            แล้วลงในเรือที่นั่งบัลลังก์ทอง
     เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ       เคยรับราชโองการอ่านฉลอง
จนกฐินสิ้นแม่น้ำแลลำคลอง             มิให้ข้องเคืองขัดหัทยา
                                                                                         (นิราศภูเขาทอง: สุนทรภู่)

 

– สัมผัสพยัญชนะ เช่น หมอบ-(จ) มื่น / แล้ว-ลง / รับ-ราช / โอง-อ่าน / แล-ลำ / ข้อง-เคือง
๔. คำเป็น คำตาย
คำเป็น คือ คำที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย และเกอว หรือคำในแม่ ก กา ที่มีสระเสียงยาว หรือคำสระอำ ใอ ไอ เอา คำตาย คือ คำที่สะกดด้วยแม่กก กด และกบ หรือคำในแม่ ก กา ที่มีสระเสียงสั้น
๕. คำเอก คำโท ใช้แต่งโคลง คำเอก คือ คำที่ใช้รูปวรรณยุกต์เอก ใช้คำตายแทนได้ คำโท คือ คำที่ใช้รูปวรรณยุกต์โท


กระบวนการแต่งคำประพันธ์
๑. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ที่จะแต่ง และกำหนดจุดมุ่งหมายการแต่ง
๒. เขียนโครงร่างตั้งแต่ต้นจนถึงสรุป รวมทั้งคิดคำสำคัญ
๓. แต่งคำประพันธ์ให้ถูกลักษณะบังคับ และเลือกคำที่สื่อความชัดเจน
๔. แต่งเสร็จแล้วลองอ่านออกเสียงเพื่อตรวจความถูกต้องและไพเราะ ถ้าแต่งผิดข้อบังคับหรือไม่ไพเราะ ให้ปรับแก้จนกว่าจะไพเราะ


การแต่งกาพย์
กาพย์ ๕ ชนิดที่นิยมแต่ง ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ห่อโคลง และกาพย์ขับไม้ห่อโคลง ในที่นี้จะศึกษาเฉพาะกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

๑. กาพย์ยานี ๑๑ มักใช้แต่งบทสวด บทเห่เรือ พรรณนาความโศกเศร้าหรือบรรยายธรรมชาติ 

 

กาพย์ยานี ๑๑

 

กาพย์ยานี ๑๑

 

 

กลวิธีการแต่ง ไม่ใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันเป็นคำส่ง–คำรับ และไม่ใช้คำคร่อมจังหวะการอ่าน เช่น ยังอา/ทรถึงเจ้า

๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ มักใช้แต่งพรรณนาเรื่องต่าง ๆ เช่น บทสวด บทพากย์โขน 

 

กาพย์ฉบัง ๑๖   

 

กาพย์ฉบัง ๑๖

 

 

กลวิธีการแต่ง อาจเพิ่มสัมผัสในในแต่ละวรรค หรือเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรค ๒ กับวรรค ๓ และอาจใช้เครื่องหมายยัติภังค์แยกคำระหว่างวรรคได้ แต่ห้ามใช้ระหว่างบท
๓. กาพย์สุรางคนางค์

 

 

กาพย์สุรางคนางค์

 

 

กาพย์สุรางคนางค์

 

 

กลวิธีการแต่ง เพื่อให้แบ่งวรรคอ่านได้ง่าย ควรแต่งด้วยคำโดด ๒ พยางค์ และหากใช้เสียงจัตวาในคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ จะทำให้ไพเราะขึ้น


สรุป
“กาพย์” เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่แต่งไม่ยาก ผู้แต่งกาพย์ต้องมีความรู้ทั่วไปในการแต่งคำประพันธ์ รู้กระบวนการแต่ง และรู้ข้อบังคับของกาพย์ชนิดที่จะแต่ง เพื่อให้แต่งได้ถูกต้องและไพเราะ


คำสำคัญ  คำประพันธ์  คณะ  สัมผัส  คำเป็น  คำตาย 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th