ภาษาไทย ป. 5 เรื่อง คำราชาศัพท์ และคำสุภาพ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 156.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

  

คำราชาศัพท์และคำสุภาพ

 

 

คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ คือ คำเฉพาะที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงสุภาพชนด้วย


๑. คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
แบ่งเป็นคำนามราชาศัพท์ คำสรรพนามราชาศัพท์ และคำกริยาราชาศัพท์ เช่น
     ๑) คำนามราชาศัพท์ แบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ ดังนี้
หมวดร่างกาย เช่น

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

พระเศียร

พระเกศา

พระพักตร์

พระเนตร

ศีรษะ

ผม

หน้า

ดวงตา

 

 

 

 

 

 

หมวดเครือญาติ เช่น

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

พระราชบิดา, พระบิดา, พระชนก

พระราชชนนี, พระมารดา, พระชนนี

พระราชโอรส, พระโอรส

พระราชธิดา, พระธิดา

พระอัยกา

พระอัยยิกา, พระอัยกี

พ่อ

แม่

ลูกชาย

ลูกสาว

ปู่, ตา

ย่า, ยาย

 

หมวดของใช้ เครื่องประดับ และเครื่องแต่งกาย เช่น

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

พระเขนย

พระกลด

พระสาง

พระฉาย

ฉลองพระเนตร

หมอน

ร่ม

หวี

กระจก

แว่นตา


     ๒) คำสรรพนามราชาศัพท์ ในที่นี้หมายถึงบุรุษสรรพนาม ซึ่งเป็นคำที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

พระองค์

ฉัน (บุคคลธรรมดาพูดกับพระมหากษัตริย์ - สรรพนามบุรุษที่ ๑)

คุณ (บุคคลธรรมดาพูดกับพระมหากษัตริย์ - สรรพนามบุรุษที่ ๒)

เขา (บุคคลธรรมดาพูดถึงพระมหากษัตริย์ - สรรพนามบุรุษที่ ๓)


     ๓) คำกริยาราชาศัพท์ แบ่งเป็นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว กับคำที่เติม ทรง ไว้ด้านหน้าเพื่อให้เป็นคำราชาศัพท์ ดังนี้

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

ประชวร

บรรทม

ประสูติ

เจ็บป่วย

นอน

เกิด

ทรงม้า

ทรงดนตรี

ทรงงาน

ขี่ม้า

เล่นดนตรี

ทำงาน

 

๒. หลักเกณฑ์การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
     ๑. คำกริยาบางคำเป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น บรรทม เสวย โปรด ประชวร ไม่ต้องใช้ ทรง นำหน้า
     ๒. เติมคำว่า ทรง นำหน้าเพื่อทำคำกริยาสามัญ เช่น ทรงถือ ทรงวาด
     ๓. ใช้คำว่า พระบรม กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และใช้คำว่า บรม กับพระบรมราชินีนาถ
     ๔. คำบางคำมีลักษณะใกล้เคียงกัน ต้องใช้ให้ถูกต้อง เช่น
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว – พระเจ้าอยู่หัว
     สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ – สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

 

เกร็ดควรรู้

             คำราชาศัพท์มี ๒ ลักษณะ คือ คำที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว และคำที่ทำให้เป็นคำราชาศัพท์โดยเติมบางคำเข้าไปข้างหน้า เช่น ทรงแสดง พระฉาย พระราชดำรัส


๓. ประโยชน์ของการศึกษาคำราชาศัพท์
     ๑. ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับของบุคคล
     ๒. เข้าใจข้อความที่มีคำราชาศัพท์ได้
     ๓. รู้คำศัพท์กว้างขวาง เป็นประโยชน์ต่อการอ่านวรรณคดีต่าง ๆ

 

แหล่งสืบค้นข้อมูล

นักเรียนสามารถศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์เพิ่มเติมได้ที่ www.royin.go.th 

 

คำสุภาพ
คำสุภาพ คือ คำที่สุภาพไพเราะ เหมาะสมกับกาลเทศะและฐานะของบุคคล


๑. ลักษณะของคำสุภาพ
     ๑) ไม่เป็นคำห้วน ๆ คำหยาบคาย คำด่า คำสแลง หรือคำผวนที่มีความหมายไปในทางที่ไม่ดี
     ๒) คำบางคำไม่ใช่คำหยาบคาย แต่ก็ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน เช่น ไฟไหม้ เป็นภาษาพูด อัคคีภัย เป็นภาษาเขียน

 

๒. การใช้คำสุภาพ
     ๑) ใช้ให้ตรงความหมายและระดับของบุคคล เช่น

คำสามัญ

บุคคลทั่วไป

พระสงฆ์

กษัตริย์

กิน

ตาย

กิน, รับประทาน

ถึงแก่กรรม

ฉัน

มรณภาพ

เสวย

สวรรคต

 

     ๒) คำสุภาพบางคำ นิยมใช้ในภาษาเขียน ไม่นิยมใช้ในภาษาพูด เช่น

ภาษาพูด (คำสามัญ)

ภาษาเขียน (คำสุภาพ)

หัว

ตีน

ศีรษะ

เท้า

 

     ๓) ใช้คำสรรพนามให้เหมาะสมตามเพศและฐานะ เช่น
          ฉัน - บุคคลที่มีฐานะเท่ากัน และผู้ที่มีอายุเท่ากัน หรือต่ำกว่า
          ท่าน - บุคคลที่มีฐานะสูงกว่า และผู้ที่มีอายุสูงกว่า
 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th