ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 66.5K views



ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
     กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเรียกว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต
     ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่งเรียกว่า ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
     1. ระบบนิเวศบนบก เช่น
          • ระบบนิเวศป่าไม้
          • ระบบนิเวศทะเลทราย
          • ระบบนิเวศทุ่งหญ้า
          • ระบบนิเวศชายป่า
     2. ระบบนิเวศในน้ำ เช่น
          • ระบบนิเวศน้ำจืด
               - หนองน้ำ
               - แม่น้ำ
          • ระบบนิเวศน้ำเค็ม
               - ทะเล
               - มหาสมุทร

ลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

1. ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน
     ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแบบซิมไบโอซิส เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน โดยไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน เช่น
          - นกเอี้ยงบนหลังควาย โดยนกเอี้ยงช่วยจิกแมลงที่รบกวนบนหลังควาย ในขณะเดียวกันควายก็เป็นแหล่งอาหารของนกเอี้ยง
          - ดอกไม้กับผึ้ง  ผึ้งได้น้ำหวานจากดอกไม้ ดอกไม้ได้รับการขยายพันธุ์โดยผึ้งเป็นผู้ช่วย
          - มดดำกับเพลี้ยอ่อน มดดำดูดน้ำเลี้ยงจากเพลี้ยอ่อน และคาบเพลี้ยอ่อนไปวางตามที่ต่าง ๆ เพลี้ยอ่อนได้แหล่งอาหารใหม่

2. ความสัมพันธ์แบบต้องพึ่งพาอาศัยกัน
     ความสัมพันธ์แบบต้องพึ่งพากัน เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดได้ประโยชน์โดยที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดชีวิต เช่น
          - ต่อไทรกับลูกไทร ต่อไทรเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ในลูกไทรตลอดชีวิต ส่วนต้นไทรสืบพันธ์ต่อไปได้เพราะต่อไทรทำหน้าที่ผสมเกสร
          - โปรโตซัวในลำไส้ของปลวก ปลวกอาศัยโปรโตซัวลำไส้ของปลวก ปลวกจะอาศัยโปรโตซัวช่วยย่อยเนื้อไม้หรือกระดาษที่ปลวกกินเข้าไป ส่วนโปรโตซัวก็ได้อาหารจากปลวก
          - ไลเคน (รากับสาหร่าย) ไลเคนที่ขึ้นอยู่กับต้นไม้ เป็นชีวิตระหว่างเชื้อรากับสาหร่ายอยู่ร่วมกัน โดยที่สาหร่ายสร้างอาหารได้เองและอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ราจะดูดอาหารที่สาหร่ายอยู่ร่วมกัน โดยที่สาหร่ายสร้างอาหารได้เองและอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ราจะดูดอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้น

3. ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัย
     ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยหรือแบบได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว หมายถึงสิ่งมีชีวิตสองชนิดมาอาศัยอยู่ด้วยกันโดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่เสียประโยชน์อาจจะเรียกการอยู่ร่วมกันแบบนี้ได้ว่า เป็นแบบเกื้อกูล
          - กล้วยไม้ พลูด่าง เฟิร์น กับต้นไม้ใหญ่ ที่อาศัยอยู่เฉพาะบริเวณของเปลือกต้นไม้ ไม่ได้แย่งอาหารภายในลำต้น
          - เหาฉลามกับปลาฉลาม ก็ได้อาศัยอาหารที่ลอยมากับน้ำ ทั้งนี้มิได้แย่งอาหารของปลาฉลาม ปลาฉลามก็ไม่เสียประโยชน์
          - หมาไฮยีนากับสิงโต หมาไฮยีน่าจะคอยกินซากเหยื่อจากที่สิงโตกินอิ่มและทิ้งไว้ ส่วนสิงโตไม่ได้ประโยชน์อะไรจากหมาไฮยีนา

4. ความสัมพันธ์แบบล่าเหยือ
     ความสัมพันธ์แบบล่าเหยือ เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่มีชีวิตทั้ง 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า และอีกฝ่ายเป็นผู้ถูกล่าหรือเป็นเหยือ ผู้ล่า เป็นผู้ได้ประโยชน์ ส่วนผู้ถูกล่าจะเป็นผู้เสียประโยชน์ เช่น
          - หนอนกับใบไม้  หนอนเป็นผู้ล่า ใบไม้เป็นเหยื่อ
          - นกกับหนอน  นกเป็นผู้ล่า หนอนเป็นเหยือ
          - แมวกับหนู  แมวเป็นผู้ล่า หนูเป็นเหยื่อ

5. ความสัมพันธ์แบบพาราสิต
     ความสัมพันธ์แบบพาราสิตเป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น
          - พยาธิกับคน พยาธิเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในตัวสัตว์อื่น เช่น คน สุนัข แมว สุกร โดยพยาธิจะดูดกินเลือดของสัตว์ที่มันอาศัยอยู่ จนทำให้สัตว์นั้นมีสุขภาพทรุดโทรมทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
          - กาฝากกับต้นไม้ใหญ่ กาฝากบนต้นไม้ใหญ่คอยแย่งอาหารจากต้นไม้ ซึ่งขณะเดียวกันต้นไม้ก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากกาฝากเลย

โซ่อาหารและสายใยอาหาร
     โซ่อาหารเป็นการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยมี

โซ่อาหาร

โซ่อาหารและสายใยอาหาร


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน