ไตรสิกขา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 155.8K views



                                                                    โอวาท๓ / ไตรสิกขา
                                                                 โอวาท ๓ หรือพุทธโอวาท


สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
กุสลสฺสูปสมฺปทา     การทำความดีให้ถึงพร้อม
สจิตฺตปริโยทปนํ     การทำจิตให้บริสุทธิ์  

                                                                    ทางแห่งการทำกรรม

• ทางกาย เรียกว่า กายกรรม
• ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม
• ทางใจ เรียกว่า  มโนกรรม

                                                สพฺพปาปสฺส  อกรณํ  การไม่ทำความชั่วทั้งปวง

• ทางกาย เรียกว่า กายทุจริต
• ทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต
• ทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต

                                                   กุสลสฺสูปสมฺปทาการทำความดีให้ถึงพร้อม

• ทางกาย เรียกว่า กายสุจริต
• ทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต
• ทางใจ เรียกว่า  มโนสุจริต

                                                      สจิตฺตปริโยทปนํการทำจิตให้บริสุทธิ์
• สะอาด
• สว่าง
• สงบ

                                                       แนวคิดสำคัญจากหลักธรรมโอวาท ๓

• ให้รู้จักละเว้นความชั่ว
• ให้ขยันถ้วนทั่วในความดี
• ทำใจให้ปลอดโปร่งจากราคีทุกชนิด
   ทั้ง 3 ข้อทำให้ชีวิตที่สมบูรณ์ และเป็นสุขตลอดกาล

                                                                        ไตรสิกขา 

• ข้อปฏิบัติที่จะต้องศึกษา ๓ อย่างคือ 


อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เรียกสั้น ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษาอบรมเพื่อฝึกหัดกาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน

                                                                       องค์ประกอบ

ศีล   (Morality)
สมาธิ (Concentration)
ปัญญา  (Wisdom)

                                    \

                                                                     ลักษณะของไตรสิกขา 

เป็นหลักธรรมสัมพันธ์สำหรับฝึกตนเป็นขั้นตอนจากส่วนที่หยาบไปหาส่วนที่ละเอียด

ศีล ...............กาย,วาจา    
จิตใจ............สมาธิ
ปัญญา.......... ความคิด

                                                                         ศีล ( Morality )

การฝึกอบรมในด้านความประพฤติ ระเบียบ วินัย  ความสุจริต  ทางกาย  วาจา   และอาชีวะ เมื่อฝึกถึงจุดหนึ่ง จึงเรียกได้ว่าเป็น อธิศีลสิกขา

                                                                           วินัย กับ ศีล
วินัย
• การจัดระบบ ระเบียบ
• ตัวระบบ ระเบียบ
• การฝึกคนให้อยู่ในระบบระเบียบ

                                                       ศีล๘ ศีล๕ ศีล๓๑๑ ศีล๑๐ ศีล๒๒๗

• คุณสมบัติที่เกิดขึ้นใน
• ตัวบุคคล
• ที่ปฏิบัติตามวินัย
• เรียกว่า ศีล

                                                                  วิธีการเสริมสร้างวินัย

๑.  ทำให้เป็นพฤติกรรมเคยชิน
๒. ทำตามอย่างวัฒนธรรม
๓. ใช้ปัจจัยอื่นช่วยเสริม
๔. ปลูกฝังอุดมคติ
๕. ใช้กฎเกณฑ์บังคับ

สมาธิ ( concentration )
• การฝึกอบรมทางใจ การปลูกฝังคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ และสมรรถภาพของจิต
เมื่อฝึกถึงจุดหนึ่งจึงเรียกได้ว่าเป็น อธิจิตตสิกขา

                                                         คุณลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

ตั้งมั่น ( สมาหิตะ)
บริสุทธิ์ ( ปริสุทธะ )
ควรแก่การงาน (กัมมนียะ)

                                                                  ปัญญา ( Wisdom )

• การศึกษาอบรม ทางปัญญาให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริงโดยไม่อิงความรู้สึกตนเองเมื่อฝึกถึงจุดหนึ่งจึงเรียกได้ว่าเป็น  อธิปัญญาสิกขา

                                                                   ระดับของปัญญา

• จำได้
• เข้าใจ
• เข้าถึง

                                                        ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดปัญญา

• กลฺยาณมิตฺตตา  สีลสมฺปทา
• ฉนฺทสมฺปทา  อตฺตสมฺปทา
• ทิฏฺฐิสมฺปทา อปฺปมาทสมฺปทา
• โยนิโสมนสิการสมฺปทา

                                                         ไตรสิกขากับการดำเนินชีวิต

• รักษาระเบียบกฎเกณฑ์ในขณะทำหน้าที่ คือ ศีล
• ทำหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน คือ สมาธิ
• ไตร่ตรองหาข้อบกพร่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไข คือ ปัญญา

                                          ความสัมพันธ์กันระหว่าง  โอวาท ๓ กับ ไตรสิกขา

                                 \
                                         
                                                              กิจกรรมการเรียนการสอน

๑.  ขั้นทบทวน
๒. ขั้นให้นิยาม
๓. ขั้นให้ตัวอย่างที่ดี
๔. ขั้นให้ตัวอย่างประกอบคำอธิบาย
๕. ขั้นให้ตัวอย่างประกอบคำถาม

                                                    มาตรฐานสาระการเรียนรู้กับไตรสิกขา
                               \
                             

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก พระมหาปรีชา ปภสสโร