กฎแห่งกรรม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 18.7K views



• กฎแห่งกรรม = คืออะไร?
• กรรมคืออะไร ?, มีจริงหรือไม่ ?
• มีกี่ชนิด ? ,   ให้ผลได้อย่างไร ?
• เพราะเหตุใดกรรมจึงให้ผลต่างกัน ?

                                                                  
                                                                        กฎแห่งกรรม
• เป็นหลักธรรมที่สำคัญของพระพุทธศาสนาเป็นคุณลักษณะ พิเศษของพระพุทธศาสนาที่ทำให้พระพุทธศาสนาแตกต่างกับศาสนาอื่น

                                                               สิ่งที่ควรเชื่อ ๔ ประการ

• ชาวพุทธควรมีความศรัทธาหรือความเชื่อ ๔ ประการคือ
๑.ตถาคตโพธิสัทธา   -    เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๒.กัมมสัทธา              -    เชื่อว่ากรรมมีจริง
๓.วิปากสัทธา            -    เชื่อผลของกรรม
๔.กัมมัสสกตาสัทธา   -    เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆตน

                                                                         กาลามสูตร
๑.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะฟังตามๆกันมา
๒.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะนับถือสืบต่อกันมา
๓.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
๔.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีอ้างไว้ในตำรา
๕.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเหตุผลทางตรรกะ
๖.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะสรุปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
๗.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะคิดตรองตามอาการที่ปรากฏ
๘.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเข้ากับ  ความเห็นของตน
๙.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อถือ
๑๐.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่า ผู้พูดเป็นครูของเรา

“ต่อเมื่อใดรู้ด้วยใจว่าธรรมเหล่านี้เป็นอกุศลหรือกุศลมีโทษหรือไม่มีโทษ  เป็นต้นแล้วจึงควรละหรือถือปฏิบัติตาม ”

การฟังที่ฉลาด


อย่าพึ่งเชื่อ


อย่าพึ่งปฏิเสธ


จดจำ


ศึกษา,ค้นคว้า


หาข้อมูล,เหตุผล

ปฏิบัติ,ทดลอง
 
     จนรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด


กฎแห่งกรรม
 
กฎแห่งความจริงของชีวิต
 
กฎของธรรมชาติ

                                                                  เครื่องมือทำกรรม
• มี ๓ ทางคือ
๑. กายกรรม = กระทำทางกาย
๒. วจีกรรม  = กระทำทางวาจา
๓. มโนกรรม = กระทำทางใจ

                                                                           กรรม
• มี ๓ ตามคุณภาพคือ

 ๑.กุศลกรรม คือ กรรมดี
 ๒.อกุศลกรรม คือ กรรมชั่ว
 ๓.อัพยากตกรรม คือ กรรมกลางๆ

                                                               ชนิดของกรรมมี ๑๒

• คือแบ่งกรรมออกเป็น ๑๒ ชนิดตามหน้าที่ และลำดับการให้ผล
 กรรมแบ่งเป็น ๔ ตามหน้าที่
 กรรมแบ่งเป็น ๔ ตามลำดับการให้ผล
 กรรมแบ่งเป็น ๔ ตามเวลาให้ผล

                                                               กรรมแบ่งเป็น๔ ตามหน้าที่
๑. ชนกกรรม   คือกรรมนำเกิด
๒. อุปถัมภกกรรม   คือกรรมสนับสนุน
๓. อุปปีฬกกรรม   คือกรรมมาเบียดเบียน
๔. อุปฆาตกกรรม  คือกรรมตัดรอน

                                                      กรรมแบ่งเป็น ๔ ตามลำดับการให้ผล

๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือกรรมที่ให้ผลในชาตินี้
๒.อุปปัชชเวธนียกรรม คือกรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
๓.อปราปรเวทนียกรรม  คือกรรมในภพต่อๆไป
๔.อโหสิกรรม  คือกรรมที่ไม่ให้ผล

                                                         กรรมแบ่งเป็น ๔ ตามเวลาให้ผล

๑.ครุกรรม  คือกรรมหนัก มี ๒ ฝ่ายคือ

ฝ่ายกุศล    ได้แก่  สมาบัติ ๘ (รูปฌาน ๔ , อรูปฌาน ๔)
ฝ่ายอกุศล  ได้แก่   อนันตริยกรรม ๕ คือ (๑.ฆ่าบิดา , ๒.ฆ่ามารดา, ๓.ฆ่าพระอรหันต์,   ๔.ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต,๕.ทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน)

๒. อาจิณณกรรม  คือกรรมที่ทำด้วยความเคยชิน
๓. อาสันนกรรม  คือกรรมที่กระทำตอนใกล้ตาย
๔. กตัตตากรรม  คือกรรมสักแต่ว่ากระทำ

                   
                   

                                                                ผลกรรม ๗ คู่ “สุภสูตร”
๑.อายุน้อยเพราะไม่ฆ่าสัตว์
๒.โรคน้อย เพราะใจเย็นเมตตา
๓.ผิวงามเพราะไม่โกรธ
๔.มียศบริวารเพราะยินดีต่อผู้อื่น
๕.มีสมบัติมาก เพราะไม่ตระหนี่
๖.เกิดในตระกูลสูง เพราะไม่กระด้างถือตัว
๗.ฉลาดเพราะคบนักปราชญ์

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก พระมหาปรีชา ปภสสโร