ประวัติพระพุทธ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 14.2K views



 


                                                                          ประสูติ

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี “สิทธัตถะกุมาร” ประสูติจากพระครรภ์พระนางสิริมหามายา พระมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะ  ผู้ครองแคว้นสักกะ ณ ลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ

    

                                                                   เก่งวิชาทางโลก

พระสิทธัตถะกุมารทรงศึกษาศิลปวิทยา  ในสำนักครูวิศวามิตร ทรงแสดงศิลปะธนูในท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์และเสวกามาตย์ราชบริพารอย่างแกล้วกล้าสามารถเป็นเยี่ยม
                                                

                                                                 พระราชาภิเษกสมรส

ครั้นพระสิทธัตถะพระชันษาได้ ๑๖ ปี ได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา (ยโสธรา) พระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะในเทวทหนคร 
                                                
 
                                                                        เทวทูตทั้ง ๔


      พระสิทธัตถะเสด็จพระราชอุทยานโดยรถพระที่นั่งได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ทำให้ทรงเบื่อหน่ายในกามสุขจึงมีพระอัธยาศัยน้อมไปในบรรพชา  ไม่ยินดีในฆราวาสสมบัติ

                                                

                                                           เสด็จหนีออกจากพระราชวัง
      เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวังเพื่อทรงผนวช โดยม้ากัณฑกะและมีนายฉันนะตามเสด็จ

                                                    

                                                                    อธิษฐานเพศบรรพชา
เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัย เสด็จหนีออกจากพระราชวัง เมื่อมาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ก็ปลงพระเกศา อธิษฐานเพศบรรพชา
                                                    

                                                                        บำเพ็ญทุกรกิริยา
พระมหาบุรุษดำริที่จะทรงเริ่มทำทุกรกิริยา ซึ่งถือว่าเป็นปฏิปทาที่นิยมว่าเป็นทางให้ตรัสรู้ได้ในสมัยนั้น  โดยมีฤาษีปัญจวัคคีย์ติดตามมาอยู่ปฏิบัติด้วย
                                                    

                                                                                ตรัสรู้
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี“เจ้าชายสิทธัตถะ” ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
 
                                                    
    
                                                                

                                                                            เสวยวิมุติสุข
      หลังจากตรัสรู้แล้ว  ขณะที่ทรงเสวยวิมุติสุข ฝนตกลงมาถึง ๗ วัน พญามุจลินทนาคราช  มาขนดกายรอบพระองค์กำบังฝนถวาย
                                                     

                                                                         ดอกบัว ๔ เหล่า 

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเวไนยสัตว์กับดอกบัว ๔ เหล่า ได้แก่

๑.บัวพ้นน้ำ (อุคฺฆฏิตญฺญู)

๒.บัวปริ่มน้ำ (วิปจิตญฺญู)

๓.บัวใต้น้ำ (เนยฺย)              
      
๔.บัวในโคลนตม (ปทปรม) 

         

การประกาศธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงปฐมเทศนาด้วยธัมมจักกัปปวัตนสูตรโปรดปัญจวคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

                        

                                                          
                                                                           ปฐมเทศนา

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธัมจักกัปปวัตนสูตร  ประทานปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
                                                           

                                                                                 วันมาฆบูชา
      ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันที่พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และพระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา    และเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น   ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
                                                           

                                                                            ๖ ศากยราชผนวช

• พระภัททิยะ
• พระอนุรุทธะ
• พระอานนท์
• พระภัคคุ
• พระกิมพิละ
• พระเทวทัต
ณ  อนุปิยอัมพวันแขวงเมืองพาราณสี

                                                                        โปรดพุทธบิดา

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาซึ่งประทับอยู่ กบิลพัสดุ์นคร ทรงประชวรหนัก จึงเสด็จไปเยี่ยมพระพุทธบิดาพร้อมด้วยพระสาวกเป็นอันมาก ทรงบำเพ็ญปิตุอุปัฎฐานธรรมถวายการพยาบาลตามพุทธวิสัย
                                                     

                                                                                เสด็จลงจากดาวดึงส์
พระพุทธเจ้าลงจากดาวดึงส์เทวโลก โดยบันไดแก้ว ทอง เงิน ที่ประตูเมืองสังกัสสนคร ในท่ามกลางเทพยดาและประชาชนจำนวนมาก
                                                                

                                                                    แสดงธรรมโปรด ๓ โลก

      พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรม  แก่สัตว์โลกทั้งหลาย รวมถึงเทวดาและดิรัจฉาน 

                                                      
                                                                              
                                                                              ห้ามทัพ

        ทรงห้ามพระประยูรญาติรบกัน  เนื่องจากการแย่งน้ำเพื่อการเกษตร

           

                                                                        ปรินิพพาน
       วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เริ่มต้นปีพุทธศักราชพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ

                                                                   

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก พระมหาปรีชา ปภสสโร