บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 136.9K views



 

 

 

 

 

 

1. แผนที่
   แผนที่ (map) คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลก ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยแสดงข้อมูลลงบนวัสดุพื้นราบโดยย่อให้เล็กลงตามมาตราส่วนที่ต้องการ และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีอยู่จริงบนพื้นผิวโลกลงในแผนที่
   1.1 ประเภทของแผนที่
       1. แผนที่อ้างอิง (general reference map) ใช้เป็นหลักในการทำแผนที่ชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่ชุด


          1) ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศ

 


 

 

          2) ตัวอย่างแผนที่ชุด

 

 

 

 

 

       2. แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) สร้างขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง มีหลายชนิด เช่น


          1) แผนที่รัฐกิจ (political map)

 

 

 

 

          2) แผนที่ภูมิอากาศ (climatic map)

 

 

 

 

          3) แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map)
          4) แผนที่การถือครองที่ดิน (cadastral map)
          5) แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ (natural vegetation map) 

 

 

 

 

          6) แผนที่ท่องเที่ยว (touris map)

 

 

 

 

   นอกจากนี้ยังมีแผนที่เล่ม (atlas) ซึ่งรวมแผนที่หลาย ๆ ชนิดไว้ในเล่มเดียวกัน


   1.2 เส้นโครงแผนที่
   เส้นโครงแผนที่ (map projection) คือ ระบบของเส้นที่สร้างเพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ใช้ถ่ายทอดลักษณะทรงกลมของโลกลงบนพื้นราบ ประกอบด้วยการย่อส่วน การฉายแสง และหลักการสร้างรูปเรขาคณิตและการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เส้นโครงแผนที่ที่นิยมใช้มี 3 รูปแบบ คือ
       1. เส้นโครงแผนที่แบบระนาบ (azimuthal projection)

 

 

 

 

 

       2. เส้นโครงแผนที่แบบทรงกรวย (conic projection)

 

 

 

 

 

       3. เส้นโครงแผนที่แบบทรงกระบอก (cylindrical equal area projection)

 

 

 

 

 

   1.3 องค์ประกอบของแผนที่
       1. ชื่อแผนที่ (map name) บอกชนิดของแผนที่และรายละเอียด
       2. ทิศทาง (direction) จะกำหนดไว้ในแผนที่ทุกระวาง โดยทั่วไปกำหนดให้ส่วนบนของแผนที่เป็นทิศเหนือเสมอ
       3. มาตราส่วน (map scale) บอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก ที่นิยมใช้มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
          1) มาตราส่วนแบบเศษส่วน (representative fraction)
          2) มาตราส่วนคำพูด (verbal scale)
          3) มาตราส่วนเส้น (graphic scale) หรือมาตราส่วนรูปแท่ง (bar scale)

 


 

 

       4. สัญลักษณ์ (symbol) และคำอธิบายสัญลักษณ์ (legend) กำหนดขึ้นในแผนที่เพื่อใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในพื้นที่จริง แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
          1) สัญลักษณ์ที่เป็นจุด (point symbol) ใช้แทนสถานที่และใช้กำหนดที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ
          2) สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น (line symbol) ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเส้นมีระยะทาง
          3) สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (area symbol) ใช้แทนบริเวณพื้นที่ของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในภูมิประเทศ


    สีที่เป็นมาตรฐานในแผนที่มี 5 สี คือ
       สีดำ ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น
       สีแดง ใช้แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่น ๆ
       สีน้ำตาล ใช้แทนความสูงของพื้นที่
       สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร
       สีน้ำเงิน ใช้แทนบริเวณที่เป็นน้ำ

 


ตัวอย่างสัญลักษณ์และคำอธิบายสัญลักษณ์

 

 


   1.4 ประโยชน์ของแผนที่
       
1. ทำให้รู้จักและเข้าใจสถานที่ที่ไม่เคยไปได้ดียิ่งขึ้น
       2. บอกความเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศ เมือง และสิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
       3. ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่ไม่ทราบรายละเอียดของสถานที่ที่จะเดินทางไป
       4. ช่วยวางแผนและตัดสินใจในการดำเนินการในพื้นที่นั้น ๆ
       5. ช่วยเลือกเส้นทางและพาหนะที่เหมาะสม ก่อนที่จะเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่เคยไป



2. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
   1. ลูกโลก
เป็นสิ่งจำลองของโลกเป็นทรงกลมสร้างมาจากวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้ศึกษาภูมิศาสตร์ และช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโลก

 

 

 

2. ตารางสถิติ เป็นการแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่แสดงไว้ในรูปของตาราง


ตารางสถิติการเกิดของประชากรไทย พ.ศ. 2541–2550

 


ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติประชากร, 2552.

 

 

 

3. กราฟ (graph) และแผนภูมิ (chart) ใช้แสดงการเปลี่ยนค่าของตัวแปรหนึ่งเปรียบเทียบกับค่าของตัวแปรอื่น ซึ่งช่วยให้วิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลที่นำมาใช้ได้รวดเร็ว

 

 

ตัวอย่างกราฟและแผนภูมิแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์
กราฟแสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2541–2550

 

 

ที่มา: ประชากรจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2552.

 

 


แผนภูมิแท่งแสดงจำนวนประชากรของประเทศในออสเตรเลียและโอเชียเนีย พ.ศ. 2550

 

 


ที่มา: ประชากรจาก 2008 World Population Data Sheet.

 



 



แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th