ภาษาไทย ม. 1 เรื่อง ชนิดของคำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 107.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ผังมโนทัศน์การเรียนรู้ ชนิดของคำ

 

คำนาม ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ

ประเภท

๑.นามทั่วไป (สามานยนาม)

๒.นามเฉพาะ (วิสามานยนาม)

๓.นามหมวดหมู่ (สมุหนาม)

๔.นามบอกอาการหรือความเป็นอยู่ (อาการนาม)

๕.นามบอกลักษณะ (ลักษณะนาม)

ตัวอย่าง

กระเป๋า โทรศัพท์

สมชาย กรุงเทพฯ

กองทหาร ฝูงลิง

ความคิด ความเจริญ การแข่งขัน

หมอน ๑ ใบ

 

ข้อสังเกต

- อาการนาม ได้แก่ ความ+วิเศษณ์/กริยาเกี่ยวกับจิตใจ และการ+กริยาทั่วไป แต่หากความ/การ+นามทั่วไป จัดเป็นสามานยนาม เช่น ความสุข การเดิน (อาการนาม) การแพทย์ ความอาญา (สามานยนาม)

- ลักษณนามจะตามหลังนามหรือคำบอกจำนวน แต่สมุหนามจะอยู่หน้านาม เช่น นก ๑ ฝูง นกฝูงนี้ (ลักษณนาม) ฝูงนก (สมุหนาม)

 

คำสรรพนาม ใช้แทนนามที่กล่าวไปแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวนามนั้นซ้ำอีก

ประเภท

๑.สรรพนามที่ใช้ในการพูดจา (บุรุษสรรพนาม)

๒.สรรพนามแสดงคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม)

๓.สรรพนามแทนนามบอกการชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม)

๔.สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม)

๕.สรรพนามบ่งเฉพาะ/ชี้ระยะ (นิยมสรรพนาม)

๖.สรรพนามเชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม)

ตัวอย่าง

ฉัน เธอ เขา

ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด

ทหารบ้างยิงปืน บ้างขุดสนามเพลาะ

ใคร ๆ ก็ชอบคนดี

โน่นคือผลงานนักเรียนชั้น ม. ๑ นี่คือเรียงความของฉัน

เพชรอันมีรอยร้าวย่อมไร้ค่า

 

ข้อสังเกต

-วิภาคสรรพนาม ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้ว หากไม่ได้ใช้แทนนามข้างหน้าจะถือว่าเป็นคำวิเศษณ์ เช่น นักเรียนต่างอ่านหนังสือ (วิภาคสรรพนาม) ต่างคนต่างทำงาน (คำวิเศษณ์)

- ปฤจฉาสรรพนาม ใช้ถามเพื่อต้องการคำตอบ แต่อนิยมสรรพนาม ใช้ในเชิงปรารภ ไม่ได้ต้องการคำตอบ เช่น อะไรหาย (ปฤจฉาสรรพนาม) รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา (อนิยมสรรพนาม)

- ประพันธสรรพนาม ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ใช้แทนคำนามข้างหน้าและเชื่อมประโยค หากไม่ได้แทนคำนามข้างหน้าไม่จัดว่าเป็นสรรพนาม เช่น นักเรียนที่ทำผิดย่อมได้รับโทษ (ประพันธสรรพนาม)

 

คำกริยา ใช้แสดงการกระทำของประธาน

ประเภท

๑.กริยาไม่ต้องมีกรรม (อกรรมกริยา)

๒.กริยาที่ต้องมีกรรม (สกรรมกริยา)

๓.กริยาที่ไม่ต้องมีนาม/สรรพนามมารับ แต่ไม่ใช่กรรม (วิตรรถกริยา)

๔.กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์)

ตัวอย่าง

ลมพัด เต่าคลาน

คนสวนปลูกมะพร้าว

เป็น เหมือน คือ เท่า ราวกับ

 

เขากำลังเขียนหนังสือ เขาไปแล้ว

 

ข้อสังเกต

-กริยาสามารถทำหน้าที่อย่างวิเศษณ์และเป็นประธาน/กรรมในประโยคได้ (กริยาสภาวมาลา)  เช่น เขากินมะม่วงสุก (วิเศษณ์) เล่นกีฬาทำให้สุขภาพแข็งแรง (ประธาน) ฉันไม่ชอบดื่มสุรา (กรรม)

 

คำวิเศษณ์ ใช้ขยายคำหรือข้อความให้ชัดเจนขึ้น

ประเภท

๑.วิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์)

๒.วิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์)

๓.วิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์ )

๔.วิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)

๕.วิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์)

๖.วิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์)

๗.วิเศษณ์แสดงคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์)

๘.วิเศษณ์แสดงคำขาน/โต้ตอบ (ประติชญาวิเศษณ์)

๙.วิเศษณ์แสดงปฏิเสธ/ไม่ยอมรับ (ประติเษธวิเศษณ์)

๑๐.วิเศษณ์เชื่อมประโยค (ประพันธวิเศษณ์)

ตัวอย่าง

หวาน เปรี้ยว ใหญ่ กว้าง กลม แบน ดี เลว

เช้า สาย อดีต ปัจจุบัน ก่อน หลัง นาน เร็ว

ใกล้ ไกล บน ล่าง บก น้ำ ซ้าย ขวา

มาก น้อย หนึ่ง สอง ที่หนึ่ง หลาย หมด จุ

นี้ นั้น ทั้งนี้ เฉพาะ เทียว แน่นอน จริง เอง

อะไร ไหน อย่างไร ใด เมื่อไร ใคร

ทำไม กี่ อันใด สิ่งใด หรือ ทำไม อะไร ไหม ไหน

ครับ ขา ค่ะ ขอรับ จ๋า จ๊ะ โว้ย         

ไม่ มิใช่ มิได้ หาไม่ อย่า บ่

ที่ ซึ่ง ที่ว่า อัน ให้ อย่างที่

 

ข้อสังเกต

-ที่ ซึ่ง อัน อยู่ติดกับคำกริยา/วิเศษณ์ เป็นประพันธวิเศษณ์ แต่หากใช้แทนนามข้างหน้า เป็นประพันธสรรพนาม เช่น เขาเป็นคนเก่งที่น่ายกย่อง (ประพันธวิเศษณ์) คนที่เดินอยู่นั้นเป็นเพื่อนฉัน (ประพันธสรรพนาม)

-สถานวิเศษณ์ ใช้บอกสถานที่ แต่หากมีคำนาม/สรรพนามตามหลังจะถือว่าเป็นคำบุพบท เช่น บ้านเขาอยู่ไกล (สถานวิเศษณ์) แม่ยืนใกล้ฉัน (บุพบท)

-คำวิเศษณ์สามารถวางไว้หน้านาม/กริยา หลังนาม/กริยา หน้า/หลังประโยคก็ได้

 

คำบุพบท ใช่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำเพื่อบอกลักษณะหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ประเภท

๑.นำหน้าคำเพื่อบอกลักษณะเป็นเครื่องใช้/อาการร่วม

๒.นำหน้าคำเพื่อบอกลักษณะเป็นผู้รับ/ความประสงค์

๓.นำหน้าคำเพื่อบอกสถานที่ต้นทางหรือเหตุต้นเค้า

๔.นำหน้าคำเพื่อบอกสถานที่

๕.นำหน้าคำเพื่อบอกความเป็นเจ้าของ

๖.นำหน้าเพื่อบอกเวลา

๗.นำหน้าคำเพื่อบอกสาเหตุ

ตัวอย่าง

แจกันใบนี้ทำด้วยกระดาษ   คนร้ายรับสารภาพโดยดี

สละเวลาเพื่อส่วนรวม  ยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่

เขามาจากสุพรรณบุรี

ยายอยู่ที่บ้าน ผักตบลอยในน้ำ

อนุสรณ์แห่งความรัก  พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

ก่อนเพล

เพราะความดี  เนื่องแต่ภัยแล้ง

 

คำสันธาน ใช้เชื่อมคำ ประโยค/ข้อความ ข้อความที่ถูกเชื่อมสามารถแยกเป็นประโยคได้มากกว่า ๑ ประโยค

ประเภท

๑.ความต่อเนื่องกันหรือคล้อยตามกัน

๒.ความขัดแย้งกัน

๓.ความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

๔.ความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน 

๕.เชื่อมใจความขยายกับใจความหลัก เพื่อบอกเวลา บอกความเปรียบเทียบ บอกเหตุผล

ตัวอย่าง

แล้ว...จึง และ พอ...ก็

แต่ แต่ก็ กว่า...ก็ แต่ทว่า

ฉะนั้น...ก็ มิฉะนั้น หรือ

เพราะ ฉะนั้นจึง จึง

เขาเดินไปหน้าบ้านเมื่อได้ยินเสียงคนเปิดประตู

แม่รักลูกมากกว่าลูกรักแม่

นภาไม่ยอมไปอยู่กับแม่เพราะว่าเป็นห่วงยาย

 

คำอุทาน ใช้แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกในการพูดจา

ประเภท

๑.อุทานแสดงอารมณ์

๒.อุทานเสริมบท

ตัวอย่าง

เอ๊ะ! อ้าว อ๋อ! ฮื่อ! อุ๊ย! ว๊าย! พุทโธ่! โถ!

คำเสริม เช่น ลืมหูลืมตา กินข้าวกินปลา

คำสร้อย เช่น แลนา เอย เฮย นา

 

สรุป

          คำในภาษาไทยแบ่งตามความหมายและหน้าที่ได้ ๗ ชนิดได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ซึ่งคำแต่ละชนิดจะมีลักษณะและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป

 

คำสำคัญ   ชนิดของคำ, นาม, สรรพนาม, กริยา, วิเศษณ์, บุพบท, สันธาน, อุทาน

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th