ภาษาไทย ม. 1 เรื่อง เสียงและอักษรไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 53.5K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ผังมโนทัศน์การเรียนรู้ เสียงและอักษรไทย

 

 

เสียงในภาษาไทย

กำเนิดของเสียงในภาษาไทย

          เสียงพูดเกิดจากการที่กระแสลมเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะในการเกิดเสียง

 

อวัยวะในการเกิดเสียง

 

ชนิดและลักษณะของเสียงในภาษาไทย

          เสียงสระ

          เสียงสระ เป็นเสียงสั่นสะบัด (เสียงก้อง) และเสียงผ่านโดยตรง มี ๒๔ เสียง จำแนกได้ ดังนี้

          ๑.  สระเสียงสั้น (รัสสระ) และสระเสียงยาว (ทีฆสระ) อย่างละ ๑๒ เสียง

 

สระเสียงสั้น

สระเสียงยาว

๑. อะ

๑. อา

๒. อิ

๒. อี

๓. อึ

๓. อือ

๔. อุ

๔. อู

๕. เอะ

๕. เอ

๖. แอะ

๖. แอ

๗. โอะ

๗. โอ

๘. เอาะ

๘. ออ

๙. เออะ

๙. เออ

๑๐. เอียะ

๑๐. เอีย

๑๑. เอือะ

๑๑. เอือ

๑๒. อัวะ

๑๒. อัว

       

          ๒. สระเดี่ยว  ๑๘ เสียง (อิ อี เอะ เอ แอะ แอ อึ อือ เออะ เออ อะ อา อุ อู โอะ โอ เอาะ ออ) และสระประสม ๖ เสียง (เอียะ เอีย เอืออะ เอือ อัวะ อัว)

          ๓. สระเกิน หรือสระที่มีเสียงพยัญชนะประสม มี ๘ รูป

 

รูปสระ

สระเดี่ยว

พยัญชนะ

ตัวอย่าง

อำ

อะ

ม สะกด

อำ อัม

ไอ

อะ

ย สะกด

ไอ อัย

ใอ

อะ

ย สะกด

ใอ อัย

เอา

อะ

ว สะกด

เอา

อึ

ร ประสม

รึ

ฤๅ

อือ

ร ประสม

รือ

อึ

ล ประสม

ลึ

ฦๅ

อือ

ล ประสม

ลือ

 

          เสียงพยัญชนะ

          เสียงพยัญชนะ เป็นเสียงที่ถูกกักก่อนที่จะปล่อยออกทางปากหรือจมูก มี ๒๑ เสียงจาก ๔๔ รูป จำแนกได้ ดังนี้

 

รูปพยัญชนะ

สัญลักษณ์เสียง

๑.ก

/ก/

๒.ข ฃ ค ฅ ฆ

/ค/

๓.ง หง (หงาย)

/ง/

๔.จ

/จ/

๕.ฉ ช ฌ

/ช/

๖.ซ ศ ษ ส

/ซ/

๗.ฎ ด

/ด/

๘.ฏ ต

/ต/

๙.ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ

/ท/

๑๐.ณ น หน (หนา)

/น/

๑๑.บ

/บ/

๑๒.ป

/ป/

๑๓.ผ พ ภ

/พ/

๑๔.ฝ ฟ

/ฟ/

๑๕.ม หม (หมู)

/ม/

๑๖.ญ ย หญ (หญ้า) หย (หยิบ)

 

อย (อย่า อยู่ อย่าง อยาก)

/ย/

๑๗.ร หร (หรู)

/ร/

๑๘.ล ฬ หล (หลา)

/ล/

๑๙.ว หว (หวี)

/ว/

๒๐.อ

/อ/

๒๑.ห ฮ

/ฮ/

 

          ๑. เสียงพยัญชนะต้นพยางค์ เสียงพยัญชนะ ๒๑ เสียง สามารถเป็นเสียงพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด

          ๒. เสียงพยัญชนะควบกล้ำ คือ พยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมสระเดียวกัน และออกเสียงพร้อมกัน

           -   คำไทยแท้ พยัญชนะที่ออกเสียงควบกล้ำได้ คือ ร ล ว เช่น เกรง กล้า ครู คลี่ คว้า พร้อม แผล เปรียบ

           -   ภาษาอื่น เช่น เช่น จันทรา ฟรี ฟลุก ดราฟต์ บรั่นดี บล็อก

          ๓. เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ มี ๘ มาตรา (กก กง กด กน กบ กม เกย เกอว) ส่วนพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะสะกดจัดอยู่ในมาตราแม่ ก กา

 

          เสียงวรรณยุกต์

          เสียงวรรณยุกต์ เกิดจากเส้นเสียงเปลี่ยนระดับสูงต่ำ ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป มี ๕ เสียง คือเสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา โดยจำแนกได้เป็น ๒ พวก ได้แก่

          –   วรรณยุกต์ระดับ มีระดับเสียงคงที่ ได้แก่ สามัญ เอก และตรี

          –   วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ระดับเสียงมักเปลี่ยนแปลง ได้แก่ โท (จากสูงลงต่ำ) และจัตวา (จากต่ำขึ้นสูง)

          หลักการเทียบเสียงวรรณยุกต์

          อักษรกลางคำเป็น ผันได้ครบ ๕ เสียง ตามรูปของวรรณยุกต์ หากไม่มีรูปวรรณยุกต์จะเป็นเสียงสามัญ

          อักษรกลางคำตาย ผันได้ ๔ เสียง เป็นเสียงโท ตรี จัตวา ตามรูปวรรณยุกต์ หากไม่มีรูปวรรณยุกต์จะเป็นเสียงเอก

 

อักขรวิธีและอักษรไทย

ประวัติอักษรไทย

          อักษรไทยถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากนั้นก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา ปัจจุบันแบบการเขียนภาษาไทยอยู่ภายใต้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยจะมีการปรับปรุงในการพิมพ์แต่ละครั้ง

ลักษณะของอักษรไทย

          ประกอบด้วย รูปสระ รูปพยัญชนะ และรูปวรรณยุกต์

          รูปสระ 

 

รูป

ชื่อ

๑. ะ

วิสรรชนีย์

๒.  ั

ไม้หันอากาศ, ไม้ผัด

๓.   

ไม้ไต่คู้

๔. า

ลากข้าง

๕.  ิ

พินทุอิ

๖. 

ฝนทอง

๗. ◦

นฤคหิต, หยาดน้ำค้าง

๘. "

ฟันหนู

๙.  ุ

ตีนเหยียด

๑๐.  ู

ตีนคู้

๑๑. เ

ไม้หน้า

๑๒. ใ

ไม้ม้วน

๑๓. ไ

ไม้มลาย

๑๔. โ

ไม้โอ

๑๕. อ

ตัวออ

๑๖. ว

ตัววอ

๑๗. ย

ตัวยอ

๑๘. ฤ

ตัวรึ

๑๙. ฤๅ

ตัวรือ

๒๐. ฦ

ตัวลึ

๒๑. ฦๅ

ตัวลือ

 

          การใช้รูปสระ

          สระ ๒๑ รูปใช้แทนเสียงสระ ๓๒ เสียง บางเสียงใช้สระรูปเดียว บางเสียงใช้สระหลายรูปประกอบกัน ดังนี้

 

เสียง

รูป

จำนวนรูป

 ๑. อะ

 ๒. อา

 ๓. อิ

อิ

 ๔. อี

อี

 ๕. อึ

อึ

 ๖. อื

อื

 ๗. อุ

อุ

 ๘. อู

อู

 ๙. เอะ

เ-ะ

๑๐. เอ

เ-

๑๑. แอะ

แ-ะ

๑๒. แอ

แ-

๑๓. เอียะ

เ-ียะ

๑๔. เอีย

เ-ีย

๑๕. เอือะ

เ-ือะ

๑๖. เอือ

เ-ือ

๑๗. อัวะ

-ัวะ

๑๘. อัว

-ัว

๑๙. โอะ

โ-ะ

๒๐. โอ

โ-

๒๑. เอาะ

เ-าะ

๒๒. ออ

-อ

๒๓. เออะ

เ-อะ

๒๔. เออ

เ-อ

๒๕. อะ ม สะกด

-ำ

๒๖. อะ ย สะกด

ใ-

๒๗. อะ ย สะกด

ไ-

๒๘. อะ ว สะกด

เ-า

๒๙. อิ อึ เออ มี ร ประสม

๓๐. อือ มี ร ประสม

ฤๅ

๓๑. อึ มี ล ประสม

๓๒. อือ มี ล ประสม

ฦๅ

 

          การประกอบรูปสระ

          เมื่อนำรูปสระไปประกอบเป็นพยางค์หรือคำ อาจใช้ตามรูปเดิมบ้าง เปลี่ยนแปลงรูปใหม่บ้าง หรือลดรูป (ไม่ปรากฏรูป) บ้าง เช่น กัน,พรรค (เปลี่ยนรูป -ะ) กา (คงรูป -า) เข็ม (เปลี่ยนรูป เ-ะ) ปม (ลดรูป โ-ะ)

          รูปพยัญชนะ

          หน้าที่ของพยัญชนะ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นพยางค์ และพยัญชนะแท้ 

  

พยัญชนะต้น 

 

 

พยัญชนะท้าย

 

          อักษรสามหมู่หรือไตรยางศ์

          ไตรยางศ์ คือการแบ่งพยัญชนะเป็น ๓ กลุ่ม เพื่อสะดวกในการผันเสียงวรรณยุกต์ โดยอักษรที่ผันได้ครบ ๕ เสียง คือ อักษรกลางในแถวที่ ๑ ส่วนอักษรที่ผันได้ไม่ครบ ๕ เสียง ได้แก่ อักษรสูงในแถวที่ ๒ และอักษรต่ำในแถวที่ ๓ ๔ ๕ และเศษวรรค (อักษรคู่ในแถวที่ ๓ ๔ และอักษรเดี่ยวในแถวที่ ๕ และเศษวรรค)

 

วรรค

แถวที่ ๑

แถวที่ ๒

แถวที่ ๓

แถวที่ ๔

แถวที่ ๕

วรรค ก

ข ฃ

ค ฅ

วรรค จ

วรรค ฏ

ฎ ฏ

วรรค ต

ด ต

วรรค ป

บ ป

ผ ฝ

พ ฟ

เศษวรรค

ศ ษ ส ห

ซ ฮ

ย ร ล ว ฬ

 

 

          รูปวรรณยุกต์

          รูปวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ โดยเสียงวรรณยุกต์สัมพันธ์กับ คำเป็น คำตาย อักษรคู่ อักษรเดียว อักษรนำ–อักษรตาม และอักษรควบ

          คำเป็นคำตาย

          คำเป็น ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือมีตัวสะกดในแม่ กน กม เกย เกอว กง หรือประสม อำ ใอ ไอ เอา

          คำตาย ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา หรือมีตัวสะกดในแม่ กบ กด กก

          การผันวรรณยุกต์ของอักษรสามหมู่

          อักษรกลาง คำเป็นผันได้ครบ ๕ เสียง คำตายผันได้ ๔ เสียง

 

 

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คำเป็น

กา

ก่า

ก้า

ก๊า

ก๋า

คำตาย

กะ

ก้ะ

ก๊ะ

ก๋ะ

 

          อักษรสูง คำเป็นผันได้ ๓ เสียง คำตายผันได้ ๒ เสียง          

 

 

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คำเป็น

 

ข่า

ข้า

 

ขา

คำตาย

ขะ

ข้ะ

 

 

              

          อักษรต่ำ คำเป็นผันได้ ๓ เสียง คำตายผันได้ ๓ เสียง

 

 

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คำเป็น

คา

ค่า

ค้า

คำตายสระเสียงสั้น

ค่ะ

คะ

ค๋ะ

คำตายสระเสียงยาว

โนต

โน้ต

โน๋ต

         

          การผันอักษรคู่ อักษรเดี่ยว

          อักษรคู่ อักษรสูงและอักษรต่ำที่คู่กันและเป็นคำเป็น จะผันได้ครบ ๕ เสียง เช่น

 

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คา

ข่า

ข้า

ค้า

ขา

                   

          อักษรเดี่ยว ถ้าอักษรเดี่ยวเป็นตัวตามของอักษรนำหรืออักษรควบ จะผันวรรณยุกต์ตามอักษรตัวนำ

          อักษรนำ ออกเสียงแตกต่างกันตามลักษณะ ดังนี้

          –   อักษรตามเป็นอักษรกลาง/อักษรคู่ ออกเสียงตัวตามตามสระที่ประสมอยู่ และตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวตาม เช่น แสดง (สะ–แดง) เผชิญ (ผะ-เชิน)       

          –   อักษรตามเป็นอักษรเดี่ยว ออกเสียงวรรณยุกต์ของตัวตามเหมือนอักษรตัวนำ เช่น ขยี้ (ขะ-หยี้)

          –   ห นำอักษรเดี่ยว หรือ อ นำ ย ออกเสียงพยางค์เดียว และใช้วรรณยุกต์ตามอักษรตัวนำ

          อักษรควบ แบ่งเป็น อักษรควบแท้ (ออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัวพร้อมกัน) และอักษรควบไม่แท้ (ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก หรือออกเสียง ทร เป็น ซ)

 

พยางค์และคำในภาษาไทย

          พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ หากเสียงนั้นมีความหมาย เรียกว่า คำ

 

การประสมอักษร

          การประสมอักษร เป็นการนำ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์มาสร้างเป็นพยางค์ โดยบางพยางค์อาจมีความหมายสมบูรณ์เป็นคำ

          คำพยางค์เดียว สามารถประสมอักษรได้ ๔ วิธี

          ๑.  การประสมสามส่วน =พยัญชนะต้น +สระ +วรรณยุกต์ เช่น ค้า เช่า

          ๒. การประสมสี่ส่วน =พยัญชนะต้น +สระ +พยัญชนะท้าย +วรรณยุกต์ เช่น พัด บ้าน             

          ๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ =พยัญชนะต้น +สระ +ตัวการันต์ +วรรณยุกต์ เช่น เล่ห์

          ๔. การประสมห้าส่วน =พยัญชนะต้น +สระ +พยัญชนะท้าย +ตัวการันต์ +วรรณยุกต์ เช่น รักษ์

          คำมากพยางค์

          คำมากพยางค์ ต้องแยกทีละพยางค์แล้วประสมอักษรเหมือนคำพยางค์เดียว เช่น ซื่อสัตย์  แยกเป็น ๒ พยางค์ คือ ซื่อ เป็นการผสมอักษรสามส่วน กับ สัตย์ เป็นการประสมอักษรห้าส่วน

       

          สรุป

          ภาษาไทยมีตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ๓ ชนิด คือ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพยางค์หรือคำที่ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันในสังคม

 

คำสำคัญ  พยัญชนะ, สระ, วรรณยุกต์, การประสมอักษร 

 

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th