ภาษาไทย ป. 2 เรื่อง คำควบกล้ำ การอ่านผันวรรณยุกต์คำที่มีอักษรควบ ภาษาถิ่น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 29K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ 

 

 เรื่องเล่าคุณยาย

 

คำควบกล้ำ

        คำควบกล้ำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้นควบกับ ร ล ว ประสมด้วยสระเดียวกัน ออกเสียงควบกล้ำเป็นเสียงเดียวกัน โดยออกสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวหน้า

        คำที่มีอักษรควบ ร  ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน

        พยัญชนะที่ใช้ ร กล้ำ ได้แก่   กร-  ขร-   คร-  ตร-  ปร-  พร-

 

การอ่านผันวรรณยุกต์คำที่มีอักษรควบ ร

        ๑.  ถ้า ร ควบกับ ก ต ป ซึ่งเป็นอักษรกลาง ผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ ๔ รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูป) เสียงเอก ( ่) เสียงโท ( ้) เสียงตรี ( ๊) และเสียงจัตวา ( ๋)

        ๒. ถ้า ร ควบกับ ข ซึ่งเป็นอักษรสูง ผันได้ ๓ เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ ๒ รูป ได้แก่ เสียงเอก ( ่) เสียงโท ( ้) เสียงจัตวา (ไม่มีรูป)

        ๓.  ถ้า ร ควบกับ ค พ ซึ่งเป็นอักษรต่ำ ผันได้ ๓ เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ ๒ รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูป) เสียงโท ใช้รูปวรรณยุกต์เอก ( ่) เสียงตรี ใช้รูปวรรณยุกต์โท ( ้)

ภาษาไทยมาตรฐาน คือ ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันอย่างเป็นทางการ มีคำและสำเนียงที่ใช้เป็นมาตรฐานตรงกันทั้งประเทศ

ภาษาไทยถิ่น คือ ภาษาย่อยของภาษาไทยที่ใช้พูดจาติดต่อกันในท้องถิ่น เป็นภาษาดั้งเดิมของคนในท้องถิ่นนั้น 

 

 ภาษาไทยถิ่น

 

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th