บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง การแต่งคำประพันธ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 17K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การแต่งคำประพันธ์

 

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแต่งคำประพันธ์

 

 

การแต่งคำประพันธ์

 

 

                        คณะ = จำนวนคำในวรรค ในบาท ในบท

                        ครุ (    )  เสียงหนัก สระเสียงยาว มีตัวสะกด มี อำ ใอ ไอ เอา

                        ลหุ (    ) เสียงเบา สระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด

คำเอก มีรูปวรรณยุกต์เอก หรือคำตายที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ คำโท มีรูปวรรณยุกต์โท

คำเอกคำโทที่เปลี่ยนรูปวรรณยุกต์ให้ตรงฉันทลักษณ์ เรียกว่า เอกโทษและโทโทษ

 คำเป็น สะกดแม่กง กน กม เกย เกอว สระเสียงยาวในแม่ ก กา และอำ ใอ ไอ เอา  

                        คำตาย สะกดแม่กก กด กบ และสระเสียงสั้นในแม่ ก กา

 

การแต่งกาพย์

 

กาพย์ยานี ๑๑

กาพย์ฉบัง ๑๖

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

คณะ

บทหนึ่งมี ๒ บาท

บาทหนึ่งมี ๒ วรรค

บาทหนึ่งมี ๑๖ คำ ๓ วรรค

บทหนึ่งมี ๒๘ คำ

๗ วรรค

พยางค์หรือคำ

วรรคหน้า ๕ คำ

วรรคหลัง ๖ คำ

วรรคแรก ๖ คำ วรรคสอง

๔ คำ วรรคสาม ๖ คำ

แต่ละวรรคมี ๔ คำ

สัมผัส

– คำสุดท้ายวรรค ๑ สัมผัส

คำที่ ๑, ๒ หรือ ๓ ของ

วรรค ๒

– คำสุดท้ายวรรค ๒ สัมผัส

คำสุดท้ายของวรรค ๓

– คำสุดท้ายวรรค ๔ สัมผัสคำสุดท้ายของวรรค ๒ ใน

บทถัดไป

– คำท้ายบทควรเป็นคำเสียงสามัญหรือจัตวา ไม่มี

รูปวรรณยุกต์

– คำสุดท้ายวรรคแรก

สัมผัสคำสุดท้ายของวรรค

สอง

– คำสุดท้ายวรรคสาม

สัมผัสคำสุดท้ายของวรรค

แรกบทถัดไป

– คำท้ายบทไม่ควรมีรูป

วรรณยุกต์

– คำสุดท้ายวรรค ๑

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรค ๒

– คำสุดท้ายวรรค ๓

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรค ๕ และคำสุดท้าย

ของวรรค ๖

– คำสุดท้ายวรรค ๔

สัมผัสคำที่ ๒ ของ

วรรค ๕

– คำสุดท้ายของบท

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรค ๓ บทถัดไป

 

การแต่งโคลง
     โคลงสุภาพ = โคลงที่ใช้คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ (คำสุภาพ) เว้นแต่คำนั้นจะบังคับคำเอกคำโท
     คำเอก คำโท คำเอกคำโทท้ายวรรคแรกของโคลงสี่สลับตำแหน่งกันได้ ใช้คำตายแทนคำเอก มีเอกโทษ โทโทษ
     การสัมผัส ไม่ใช้คำเอกคำโทเป็นสัมผัสนอก ไม่ใช้สัมผัสซ้ำ
     วรรณยุกต์ คำท้ายวรรคนิยมใช้เสียงจัตวาหรือสามัญ ไม่ใช้คำตาย
     คำสร้อย ไม่ใช้คำสร้อยซ้ำในโคลงบทเดียวกัน
 

 

โคลงสองสุภาพ

โคลงสามสุภาพ

โคลงสี่สุภาพ

คณะ

บทหนึ่งมี ๒ บาท

มี ๓ วรรค

บทหนึ่งมี ๒ บาท

มี ๔ วรรค

บทหนึ่งมี ๔ บาท

บาทหนึ่งมี ๒ วรรค

พยางค์หรือคำ

วรรค ๑, ๒ มีวรรคละ ๕ คำ วรรค ๓ มี ๔ คำ

ตอนท้ายอาจมีสร้อย ๒ คำ

บาทแรกมีวรรคละ ๕ คำ

บาทที่สองวรรคแรก ๕ คำ

วรรคหลัง ๔ คำ และ

คำสร้อย

บาทที่ ๑, ๒, ๓ มีบาทละ

๗ คำ(วรรคหน้า ๕ คำ

หลัง ๒ คำ)

บาทที่ ๔ มี ๙ คำ (วรรค

หน้า ๕ คำ หลัง ๔ คำ)

คำเอกคำโท

คำเอก ๓ แห่ง คำโท

๓ แห่ง

คำเอก ๓ แห่ง คำโท

๓ แห่ง

คำเอก ๗ แห่ง คำโท

๔ แห่ง

สัมผัส

– คำสุดท้ายวรรคแรก

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรคสอง

– คำสุดท้ายของบทสัมผัส

คำที่ ๑, ๒ หรือ ๓ ในวรรค

แรกบทถัดไป

– คำสุดท้ายวรรคแรก

สัมผัสคำที่ ๑, ๒, หรือ ๓

 ของวรรคสอง

– คำสุดท้ายวรรคสอง

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรคสาม

– คำสุดท้ายของบทแรกส่ง

สัมผัสกับคำที่ ๑, ๒, หรือ

 ๓ ของวรรคแรกบทถัดไป

– คำสุดท้ายวรรค ๒

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรค ๓ และคำสุดท้าย

ของวรรค ๕

– คำสุดท้ายวรรค ๔

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรค ๗

 

การแต่งกลอน

 

กลอนสุภาพ

คณะ

บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค รวม ๔ วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง

พยางค์หรือคำ

แต่ละวรรคมี ๖-๙ คำ โดยทั่วไปนิยม ๘ คำ

สัมผัส

                            – คำสุดท้ายวรรคสดับสัมผัสคำที่ ๓ หรือ ๕ วรรครับ

                            – คำสุดท้ายวรรครับสัมผัสคำสุดท้ายวรรครอง

                            – คำสุดท้ายวรรครองสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ วรรคส่ง

                            – คำสุดท้ายวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรครับในบทต่อไป

วรรณยุกต์

                              วรรคสดับ ไม่นิยมเสียงสามัญ

                              วรรครับ นิยมเสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี

                              วรรครอง นิยมเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงเอก โท จัตวา

                              วรรคส่ง ใช้เสียงสามัญและตรีเท่านั้น ไม่ควรลงท้ายด้วยคำตาย

ข้อควรระวัง

                            – อย่าตกสัมผัสนอก ควรมีสัมผัสระหว่างบท

                            – อย่าใช้คำเสียงเดียวกันรับส่งสัมผัสกัน

                            – อย่าให้คำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรครอง สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครองเอง

                            – อย่าสัมผัสสระที่มีเสียงสั้นหรือยาวไม่เท่ากัน

                            – อย่าสัมผัสคำท้ายวรรครับกับคำท้ายวรรคส่งในบทเดียวกัน

                            – อย่าสัมผัสคำท้ายวรรคสดับกับคำท้ายวรรครับ

                            – อย่าสัมผัสคำท้ายวรรครับกับคำท้ายวรรคส่งในบทเดียวกัน และคำท้ายวรรคสดับ

                            - ในบทต่อไป

 

การแต่งร่าย

 

ร่ายยาว

ร่ายสุภาพ

คณะ

บทหนึ่งไม่กำหนดจำนวนวรรค

แต่ควรมี ๕ วรรคขึ้นไป

พยางค์หรือคำ

วรรคหนึ่งมี ๖-๑๐ คำ หรืออาจมากกว่า

แต่ละวรรคมี ๕ คำ จบด้วยโคลงสอง

สุภาพ

สัมผัส

บังคับสัมผัสระหว่างวรรคไปเรื่อย ๆ จนจบ

– คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่ ๑,

๒, หรือ ๓ ในวรรคถัดไป สัมผัสไป

เรื่อย ๆ

– ตอนจบส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑, ๒, หรือ

๓ ในวรรคแรกของโคลงสองสุภาพ

คำเอกคำโท คำสร้อย

ไม่บังคับคำเอกคำโท และคำสร้อย

บังคับคำเอกโทในโคลงสองสุภาพ

มีคำสร้อยได้สองคำสุดท้ายของโคลง

สองสุภาพ

 

การแต่งฉันท์

 

วิชชุมมาลาฉันท์

อินทรวิเชียรฉันท์

วสันตดิลกฉันท์

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์

คณะ

บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี ๒วรรค

บทหนึ่งมี ๒ บาท

บาทหนึ่ง ๒ วรรค

บทหนึ่งมี ๒ บาท

บาทหนึ่ง ๒ วรรค

วรรคแรกมี ๑๒ คำ

วรรคสองมี ๕ คำ

พยางค์หรือ

คำ

แต่ละวรรคมี ๔ คำ

วรรคหน้ามี ๕ คำ

วรรคหลังมี ๖ คำ

วรรคหน้ามี ๘ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ

คำสุดท้ายวรรคแรก

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรคสอง

คำสุดท้ายวรรคสาม

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรคแรกในบท

ต่อไป

สัมผัส

คำสุดท้ายวรรค

แรกสัมผัสคำที่ ๒

ของวรรคหลังใน

บาทที่ ๑

คำสุดท้ายวรรค

หลังในบาทที่ ๑

สัมผัสคำสุดท้าย

ของวรรคแรกใน

บาทที่ ๒

คำสุดท้ายของ

บทสัมผัสคำ

สุดท้ายของวรรค

หลังในบาทที่ ๒

บทถัดไป

คำสุดท้ายวรรค

แรกสัมผัสคำที่ ๓

ของวรรคหลังใน

บาทที่ ๑

คำสุดท้ายวรรค

หลังในบาทที่ ๑

 สัมผัสคำสุดท้าย

ของวรรคแรกใน

บาทที่ ๒ 

คำสุดท้ายของบท

สัมผัสคำสุดท้ายของ

วรรคที่ ๒ บาทแรก

ในบทถัดไป

คำสุดท้ายวรรค

หน้าสัมผัสคำที่ ๓

ของวรรคหลังใน

บาทที่ ๑

คำสุดท้ายวรรค

หลังในบาทที่ ๑

สัมผัสคำสุดท้าย

ของวรรคหน้าใน

บาทที่ ๒

คำสุดท้ายของ

บทสัมผัสคำ

สุดท้ายของวรรค

หลังในบาทที่ ๑

บทต่อไป

 

 


สรุป
การจะแต่งคำประพันธ์ได้ดีต้องฝึกฝนและมีความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย อีกทั้งต้องมีความคิดสร้างสรรค์และมีศิลปะในการเรียบเรียงถ้อยคำให้สละสลวยกินใจผู้อ่าน

 

คำสำคัญ  การแต่งคำประพันธ์ บทร้อยกรอง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th