ภาษาไทย ม. 2 เรื่อง คำราชาศัพท์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 102.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

คำราชาศัพท์

 

 

ความหมายของคำราชาศัพท์
ราชาศัพท์ คือ คำศัพท์สำหรับพระราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน รวมถึงคำสุภาพ แบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ ข้าราชการและขุนนาง และสุภาพชน

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์

๑. คำนามราชาศัพท์

คำสามัญ

คำราชาศัพท์

๑. คำนามราชาศัพท์ที่บอกความเป็นเครือญาติ

ย่า, ยาย

พระอัยยิกา

ปู่, ตา

พระอัยกา

พ่อ

พระราชบิดา, พระราชชนก

แม่

พระราชมารดา, พระราชชนนี

หลานชาย, หลานสาว (ลูกของลูก)

พระราชนัดดา

๒. คำนามราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย

หัว

พระเศียร

ร่างกาย

พระวรกาย

สะโพก

พระโสณี

๓. คำนามราชาศัพท์ทั่วไป

ปืน

พระแสงปืน

โต๊ะอาหาร

โต๊ะเสวย

สร้อยคอ

สร้อยพระศอ

 

๑. วิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์
ก. สามานยนามและอาการนาม
     ๑. พระบรมมหาราช พระบรมราช และพระบรม ใช้นำหน้าคำนามสามัญ เพื่อแสดงเกียรติยศพิเศษ ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมเดชานุภาพ พระบรมราชูปถัมภ์ ฯลฯ
     ๒. พระราช ใช้นำหน้าคำนามสามัญ ส่วนมากเป็นคำบาลี สันกฤต และเขมร ส่วนใหญ่ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านายที่ได้รับสถาปนาพระยศชั้นสูง คือ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชกุมารี สมเด็จพระยุพราช เช่น พระราชดำริ พระราชวัง พระราชดำรัส พระราชพาหนะ ฯลฯ
     ๓. พระ ใช้นำหน้าคำนามสามัญทั่วไป ส่วนมากเป็นคำบาลี สันกฤต และเขมร ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ เช่น พระมาลา พระบาท พระศก พระขนง
คำประสมที่มีคำท้ายเป็นคำราชาศัพท์ ไม่ต้องมี พระ นำหน้า เช่น เรือพระที่นั่ง (ใช้กับเจ้านาย) ช้างพระที่นั่ง รถพระที่นั่ง รถที่นั่ง (ใช้กับเจ้านาย) ฉลองพระองค์ (เสื้อใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน) เป็นต้น
ข้อสังเกต ในกรณีที่คำนั้นไม่มีคำราชาศัพท์อยู่ก่อน ถ้าเป็นคำบาลีสันสกฤตใช้คำ พระราช หรือ พระ นำหน้า เช่น พระโทรทัศน์ พระราชโทรเลข แต่ถ้าไม่ใช่คำบาลีสันสกฤตให้ต่อท้ายด้วยคำราชาศัพท์ตามความเหมาะสม เช่น แก้วน้ำเสวย กระเป๋าทรงถือ ที่เขี่ยพระโอสถมวน
     ๔. หลวง หรือ ต้น ใช้ประกอบท้ายคำนาม ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
หลวง ใช้กับ คน สัตว์ และสิ่งของทั่วไป เช่น โครงการหลวง ฝนหลวง เรือหลวง ม้าหลวง
ต้น ใช้กับสัตว์และสิ่งของซึ่งเป็นชั้นดี เช่น ช้างต้น เรือนต้น เรือต้น เครื่องต้น
     ๕. เทว หรือ เทพ ใช้นำหน้าคำบาลีสันสกฤต ใช้กับเทพเจ้าผู้ใหญ่ เช่น เทพบุตร เทวโองการ
     ๖. พุทธ หรือ พระพุทธ ใช้นำหน้าคำบาลีสันสกฤต ใช้กับพระพุทธเจ้า เข่น พุทธโอวาท
พระพุทธคุณ
ข. ลักษณนาม
     ๑. พระองค์ ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และเทพเจ้าชั้นสูง เช่น พระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ พระองค์ พระราชโอรส ๔ พระองค์ เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์มี ๓ พระองค์
     ๒. องค์ ใช้สำหรับพระราชวงศ์และเทพเจ้าชั้นรอง เช่น พระอินทร์มีพระสหาย ๒ องค์ พระเจ้าหลานเธอ ๓ องค์
     ๓. องค์ ใช้สำหรับส่วนในร่างกาย ของเสวย และเครื่องใช้ของพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และเทพเจ้า เช่น พระที่นั่ง ๒ องค์ (หลัง) พระราชดำรัส ๑ องค์ (บท) พระมาลา ๓ องค์ (ใบ)

 

คำนามราชาศัพท์พิเศษบางคำ

คำสามัญ

ราชาศัพท์

ระดับชั้นบุคคล

 อุปถัมภ์

 

พระบรมราชูปถัมภ์

พระเจ้าแผ่นดิน

พระบรมราชินูปถัมภ์

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระราชูปถัมภ์

สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

สมเด็จพระบรมราชกุมารี

พระอุปถัมภ์

พระราชวงศ์ทั่วไป

ชื่อ

พระปรมาภิไธย

พระบรมนามาภิไธย

พระเจ้าแผ่นดิน

พระนามาภิไธย

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช 

สมเด็จพระบรมราชกุมารี

พระนาม

พระราชวงศ์ทั่วไป

วันเกิด

วันพระบรมราชสมภพ

พระเจ้าแผ่นดิน

วันพระราชสมภพ

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี

สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สมเด็จพระบรมราชกุมารี

วันประสูติ

พระราชวงศ์ทั่วไป

 

๒. คำกริยาราชาศัพท์ มี ๔ ชนิด
     ๑. คำกริยาที่บัญญัติขึ้นเป็นคำราชาศัพท์โดยเฉพาะ เช่น ทอดพระเนตร (ดู, เห็น, มอง, แล) สรง (อาบน้ำ, ล้าง) ชำระพระบาท (ล้างเท้า) ฉายพระรูป (ถ่ายรูป) แย้มพระสรวล (ยิ้ม) สรงพระพักตร์ (ล้างหน้า)
     ๒. คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้ ทรง นำหน้า มีวิธีการใช้ คือ
          – ทรง ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญ สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และสมเด็จพระสังฆราช เช่น ทรงถือ ทรงอุตสาหะ ทรงกราบ ทรงสั่งสอน ทรงเมตตา
          – ทรง ใช้เป็นกริยามีกรรม สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ เช่น ทรงปืน (ยิงปืน) ทรงม้า (ขี่ม้า) ทรงธรรม (ฟังธรรม, ฟังเทศน์) ทรงกีฬา (เล่นกีฬา) ทรงศีล (ถือศีล) ทรงดนตรี (เล่นดนตรี)
          – ทรง ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ โดยเปลี่ยนคำนามราชาศัพท์เป็นคำกริยาราชาศัพท์ และคำนามที่ตามหลังนิยมใช้คำว่า พระ นำหน้า ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และสมเด็จพระสังฆราช เช่น ทรงพระสุหร่าย (ประพรมน้ำ) ทรงพระดำริ (คิด) ทรงพระสรวล (หัวเราะ) ทรงพระดำเนิน (เดิน)
กริยา มี กับ เป็น ถ้านำหน้าคำราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องใช้ ทรง เช่น มีพระราชดำรัส เป็นพระราชธิดา
     ๓. คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้ เสด็จ นำหน้า คำกริยาที่ตามหลังเป็นคำสามัญหรือคำราชาศัพท์ก็ได้ เช่น เสด็จกลับ เสด็จประพาส เสด็จพระราชดำเนิน
     ๔. คำกริยาราชาศัพท์ที่ประสมขึ้นใช้ตามประเภทของบุคคล เป็นคำกริยาที่มีความหมายเหมือนกัน แต่บัญญัติไว้หลายคำตามระดับชั้นของบุคคล เช่น กริยา ตาย

ราชาศัพท์

ระดับชั้นบุคคล

สวรรคต

เสด็จสวรรคต

พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี

สมเด็จพระปฐมบรมหาชนก สมเด็จพระบรมราชชนก

สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบวรราชเจ้า

ทิวงคต

กรมพระราชวังบวรฯ เจ้านายที่ทรงฐานันดรศักดิ์สูงเป็นพิเศษ

สิ้นพระชนม์

พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงพระองค์เจ้า และพระภิกษุตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชขึ้นไป

ถึงชีพิตักษัย, สิ้นชีพิตักษัย

หม่อมเจ้า

ถึงแก่พิราลัย

เจ้าประเทศราช สมเด็จเจ้าพระยา

ถึงแก่อสัญกรรม

ถึงอสัญกรรม

เจ้าพระยา ประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า

ถึงแก่อนิจกรรม

ถึงอนิจกรรม

ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยหรือ                

   ทุติยจุลจอมเกล้าหรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

ถึงแก่มรณภาพ, มรณภาพ

พระสงฆ์ สามเณร

 

ราชาศัพท์

ระดับชั้นบุคคล

ถึงแก่กรรม

บุคคลทั่วไป

ล้ม

อสูร สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย

ตาย

สัตว์

 

     – กริยาพิเศษสำหรับบุคคลระดับชั้นต่าง ๆ เช่น

คำสามัญ

ราชาศัพท์

ระดับชั้นบุคคล

 ให้

 

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน

พระราชทาน

พระเจ้าแผ่นดิน

 

พระราชทาน

พระราชวงศ์ชั้นสูง

ประทาน

พระราชวงศ์ทั่วไป พระสังฆราช

 ลงชื่อ

 

ลงพระปรมาภิไธย

พระเจ้าแผ่นดิน

ลงพระนามาภิไธย

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระราชวงศ์ชั้นสูง

ลงพระนาม

พระราชวงศ์ทั่วไป

 

      – กริยาพิเศษสำหรับผู้น้อยใช้กับบุคคลระดับชั้นต่าง ๆ เช่น

คำสามัญ

ราชาศัพท์

ระดับชั้นบุคคล

ขออนุญาต

 

ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต

พระเจ้าแผ่นดิน

ขอพระราชทานพระราชานุญาต

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระราชวงศ์ชั้นสูง

ขอประทานพระอนุญาต

พระราชวงศ์ทั่วไป พระสังฆราช

ขอประทานอนุญาต

ผู้ควรเคารพ

 บอก

 

กราบบังคมทูลพระกรุณา

พระเจ้าแผ่นดิน

กราบบังคมทูล

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระราชวงศ์ชั้นสูง

กราบทูล

พระราชวงศ์ชั้นรอง

ทูล

พระราชวงศ์ชั้นพระอนุวงศ์ พระสังฆราช

 

คำสามัญ

ราชาศัพท์

ระดับชั้นบุคคล

ให้

 

ทูลเกล้าฯ ถวาย (ของเล็ก ยกได้)

น้อมเกล้าฯ ถวาย (ของใหญ่ ยกไม่ได้)

ถวาย (ของไม่มีชีวิต เช่น พร ชีวิต)

พระเจ้าแผ่นดิน

พระราชวงศ์ชั้นสูง

ถวาย

พระราชวงศ์ทั่วไป พระสงฆ์

รายงาน

 

กราบบังคมทูลรายงาน

พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ชั้นสูง

กราบทูลรายงาน

พระราชวงศ์ชั้นรอง

ทูลรายงาน

พระราชวงศ์ชั้นพระอนุวงศ์

 หา, เข้าพบ

 

เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

พระเจ้าแผ่นดิน

เฝ้าทูลละอองพระบาท

พระราชวงศ์ชั้นสูง

เฝ้า

พระราชวงศ์ทั่วไป

แสดงให้ดู

 

แสดงเฉพาะพระพักตร์

แสดงหน้าที่นั่ง

พระเจ้าแผ่นดิน

 

๓. คำสรรพนามราชาศัพท์
คำสรรพนามสำหรับบุคคลทั่วไป

ผู้ฟังหรือกล่าวถึง

สรรพนามบุรุษที่ ๑

สรรพนามบุรุษที่ ๒

สรรพนามบุรุษที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

พระองค์

ผู้ฟังหรือกล่าวถึง

สรรพนามบุรุษที่ ๑

สรรพนามบุรุษที่ ๒

สรรพนามบุรุษที่ ๓

สมเด็จพระบรมราชินี

สมเด็จพระบรมราชชนนี

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

สมเด็จพระบรมราชกุมารี

ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าละอองพระบาท

พระองค์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าพระบาท

พระองค์

สมเด็จพระสังฆราช

(ช) เกล้ากระหม่อม

(ญ) เกล้ากระหม่อมฉัน

ฝ่าพระบาท

ท่าน

 

สรรพนามสำหรับพระสงฆ์

ผู้ฟังหรือกล่าวถึง

สรรพนามบุรุษที่ ๑

สรรพนามบุรุษที่ ๒

สรรพนามบุรุษที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อาตมภาพ

สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า

พระองค์

พระราชวงศ์ชั้นสูง

อาตมภาพ

มหาบพิตร

พระองค์

พระราชวงศ์ชั้นรอง

อาตมภาพ

บพิตรพระเดชพระคุณ

ท่าน

 

๔. คำวิเศษณ์ราชาศัพท์

ผู้พูด

ราชาศัพท์

ผู้ฟัง

ชาย

 

หญิง

พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าขอรับ

พระพุทธเจ้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม

เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม

พระเจ้าแผ่นดิน

ชาย

หญิง

พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าขอรับ

เพคะกระหม่อม

พระราชวงศ์ชั้นสูง

ชาย / หญิง

กระหม่อม ขอรับกระหม่อม / เพคะ

พระราชวงศ์ชั้นพระอนุวงศ์

พระสงฆ์

ถวายพระพร ขอถวายพระพร เจริญพร

พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์

สุภาพชน

 

คำศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์
๑. คำนาม เช่น ผ้าไตร จีวร (ผ้าห่มคลุม) สังฆาฏิ (ผ้าพาดไหล่) สบง (ผ้านุ่ง)) อัฐบริขาร (เครื่องใช้ ๘ อย่าง) ตาลปัตร (พัดด้ามยาวสำหรับใช้ในพิธีกรรม) อาสนะ (ที่นั่ง เครื่องปูรองนั่ง) ธรรมาสน์ (ที่สำหรับแสดงธรรม) ปัจจัย (เงินที่ถวายเพื่อเป็นปัจจัยสี่ คือ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหารและยารักษาโรค)

๒. คำสรรพนาม

สรรพนามบุรุษที่ ๑

ผู้พูด

ผู้ฟัง

อาตมา

พระสงฆ์

บุคคลธรรมดาทั่วไปหรือผู้ที่มีตำแหน่งสูง

อาตมภาพ

พระสงฆ์

พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป

เกล้ากระผม

พระสงฆ์

พระสงฆ์ผู้เป็นอุปัชฌายาจารย์หรือพระสงฆ์ที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า

ผม กระผม

พระสงฆ์

พระสงฆ์ด้วยกัน

ผม กระผม ดิฉัน

บุคคลทั่วไป

พระภิกษุที่นับถือ

สรรพนามบุรุษที่ ๒

ผู้พูด

ผู้ฟัง

สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า

พระสงฆ์

พระเจ้าแผ่นดิน

บพิตร

พระสงฆ์

พระราชวงศ์

สรรพนามบุรุษที่ ๒

ผู้พูด

ผู้ฟัง

คุณโยม

พระสงฆ์

บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโสสูง

คุณ เธอ

พระสงฆ์

บุคคลทั่วไป

พระคุณเจ้า

บุคคลทั่วไป

พระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์

คำขานรับ

ผู้พูด

ผู้ฟัง

ถวายพระพร

พระสงฆ์

พระราชวงศ์

เจริญพร

พระสงฆ์

บุคคลทั่วไป

ขอรับกระผม

บุคคลทั่วไป (ชาย)

พระสงฆ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ

เจ้าขา เจ้าข้า

บุคคลทั่วไป (หญิง)

พระสงฆ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะและ

รองสมเด็จพระราชาคณะ

 

๓. คำกริยา เช่น สรงน้ำ (อาบน้ำ) ทำวัตร (สวดมนต์) จำวัด (นอน) อุปสมบท (บวชพระ) บรรพชา (บวชเณร) ลาสิกขา (ลาสึก) ถวายดิเรก (สวดมนต์อวยพรพระเจ้าแผ่นดิน) ปลงอาบัติ (แสดงความผิดเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย)

 

คำสุภาพ
คำสุภาพ คือ คำที่พูดหรือเขียนกับสุภาพชนโดยทั่วไป เป็นการแสดงถึงความเคารพและให้เกียรติผู้อื่น มีลักษณะดังนี้
๑. คำพูดที่ฟังแล้วไพเราะรื่นหู ไม่เป็นคำหยาบ เช่น เยี่ยว เปลี่ยนเป็น ปัสสาวะ ขี้ เปลี่ยนเป็น อุจจาระ
๒. ไม่เป็นคำห้วนหรือคำกระด้าง เช่น โว้ย หือ หา เออ เปลี่ยนเป็น เปล่า มิได้ หามิได้
๓. คำพูดนั้นไม่ชวนให้คิดถึงสิ่งไม่ดี หรือเปรียบเทียบกับของหยาบ เช่น สากกะเบือ เป็น ไม้ตีพริก
๔. ไม่ใช้คำผวนที่ผวนแล้วมีความหมายหยาบคาย เช่น แปดตัว เปลี่ยนเป็น สี่คู่
ตัวอย่างคำสุภาพ ช้างนรการ (ช้างสีดอ) ผักสามหาว (ผักตบ) ดอกซ่อนกลิ่น (ดอกซ่อนชู้) ผักรู้นอน (ผักกระเฉด) ปลาใบไม้ (ปลาสลิด) ปลาหาง (ปลาช่อน)

 

สรุป
คำราชาศัพท์ เป็นคำที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ตามระดับชั้นของบุคคล การเรียนรู้คำราชาศัพท์แสดงให้เห็นถึงความเคารพยกย่องบุคคลตามฐานะและตำแหน่งหน้าที่ในสังคม อีกทั้งยังแสดงถึงวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

 

คำสำคัญ  คำราชาศัพท์  คำสุภาพ

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th