ภาษาไทย ม. 2 เรื่อง การพัฒนาทักษะการฟังและการดู
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 47K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 

 


 


หลักเกณฑ์การฟังและการดู
   ตั้งจุดประสงค์ในการฟังและการดู
   การตั้งจุดประสงค์จะทำให้มีเป้าหมายในเรื่องที่ฟังและดู มี ๔ ประเภท คือ เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อรับความรู้ เพื่อความจรรโลงใจ และคติชีวิต
 

   ตั้งใจและมีสมาธิในการฟังและการดู
   ฟังและดูอย่างมีมารยาท ไม่คุยกันหรือเดินไปเดินมารบกวนผู้อื่น มีปฏิกิริยาตอบผู้พูด จดบันทึกตามด้วย
 

   รู้จักเลือกและวิเคราะห์เรื่องที่ฟังและดู
   กลั่นกรองเรื่องที่มีประโยชน์และคุณค่า ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
 

   นำความรู้ที่ได้จากการฟังและการดูมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
   ปรับใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาในชีวิต พัฒนาตนและพัฒนาอาชีพเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม
 

   สังเกตน้ำเสียง กิริยาท่าทาง และถ้อยคำจากผู้พูด
   การใช้น้ำเสียงให้ชวนฟัง เช่น ระดับความดัง การเน้นเสียง การแสดงอารมณ์ จะแตกต่างกันตามเรื่อง
   การใช้กิริยาท่าทาง การสังเกตท่าทางของผู้พูด เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น ศรัทธาในตัวผู้พูด
   การใช้ถ้อยคำ ใช้คำตรงความหมาย เรียงประโยคชัดเจนเหมาะกับกาลเทศะ ใช้สำนวนสัมพันธ์กับเรื่อง
 

การฟังและการดูสิ่งที่เป็นความรู้และความบันเทิง
   การฟังและการดูสิ่งที่เป็นความรู้
   ควรฟังและดูอย่างตั้งใจ ไตร่ตรอง จดบันทึกความรู้ และค้นคว้าเพิ่มเติม
 

   การฟังและการดูสิ่งที่เป็นความบันเทิง
   ควรใช้จินตนาการตามเรื่อง พิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา และกลวิธีการสื่อสาร
 

   การฟังและการดูสื่อรูปแบบต่างๆ
   วิทยุกระจายเสียง ตั้งจุดประสงค์ในการฟัง จับประเด็น วิเคราะห์ และสรุปเรื่อง
   วิทยุโทรทัศน์ ชมรายการที่สนใจ วิเคราะห์ สรุปและประเมินค่า ควรเว้นระยะการชมเพื่อถนอมสายตา
 


   อินเทอร์เน็ต ควรหลีกเลี่ยงคำไม่สุภาพ ไม่ใช้เพื่อละเมิดศีลธรรม
 


การวิเคราะห์และจับประเด็นจากเรื่องที่ฟังและดู
   การจับประเด็นจะช่วยให้เข้าใจเรื่องได้ดียิ่งขึ้น ควรจดบันทึกสั้นๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร แล้วเรียบเรียงเป็นภาษาตนเอง
 

การวิเคราะห์หรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู
   ข้อเท็จจริง คือ เรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ ข้อคิดเห็น คือ ความคิดหรือความรู้สึกที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง มักมีคำแสดงความคิดเห็น เช่น คิดว่า... เข้าใจว่า... เห็นว่า... น่าจะ... สรุปว่า... คงจะ... ควรจะ...
 

มารยาทในการฟังและการดู
   ให้เกียรติผู้พูด ไม่แสดงอาการเบื่อ/ดูหมิ่น ขอบคุณเมื่อจบการนำเสนอ หากสงสัย ควรถามเมื่อมีโอกาส
 

สรุป
   การฟังและการดู เป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อหาความรู้ ความบันเทิง และพักผ่อนหย่อนใจ

คำสำคัญ : การฟัง การดู 
 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th