ภาษาไทย ป. 6 เรื่อง ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 39.5K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น

 

 

ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น

 

 

สนุกมากครับม่วนแต้ ๆ

 

ม่วนอีหลีหนุกจังฮู้ 

  

๑. ภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาไทยมาตรฐาน คือ ภาษาที่คนส่วนใหญ่ในสังคมใช้สื่อสาร ติดต่อราชการ และใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน

ลักษณะของภาษาไทยมาตรฐาน
     ๑. เป็นภาษาเขียนหรือภาษาระดับทางการ
     ๒. ออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และคำศัพท์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นกลาง


๒. ภาษาไทยถิ่น
ภาษาไทยถิ่น คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในท้องถิ่นต่าง ๆ มีรูปแบบเฉพาะทั้งถ้อยคำและสำเนียง แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
     ๑. ภาษาไทยถิ่นเหนือ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย
     ๒. ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
     ๓. ภาษาไทยถิ่นกลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของประเทศไทย
     ๔. ภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย 

 

ภาษาไทยถิ่น

 

 

ความสำคัญของภาษาไทยถิ่น
๑. เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
๒. เป็นสัญลักษณ์ของคนในท้องถิ่น
๓. ช่วยให้เข้าใจวรรณคดีไทยบางเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง
๔. ช่วยสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

ภาษาไทยถิ่น

 

 

นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้าน คือ ภูมิปัญญาทางภาษาที่เป็นเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ทราบผู้แต่งคนแรก เนื้อเรื่องอาจผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ เน้นความสนุกสนาน และให้ข้อคิด

 

 ไกรทองเป็นนิทานพืันบ้านจังหวัดพิจิตร

นิทานพื้นบ้าน

  

๑. ที่มาของนิทานพื้นบ้าน
ในสมัยโบราณนิยมเล่านิทานเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีเรื่องเล่าแตกต่างกันไป นอกจากนี้ นิทานบางเรื่องอาจเกิดจากความเชื่อทางศาสนา

 

นิทานพื้นบ้าน

 

๒. ประเภทนิทานไทย
     ๑. นิทานเทวปกรณ์หรือตำนานปรัมปรา จะเล่าถึงกำเนิดจักรวาลและโลกมนุษย์ ที่มาของพิธีกรรมบางอย่าง
     ๒. นิทานมหัศจรรย์ จะเกี่ยวข้องกับของวิเศษหรือสิ่งมหัศจรรย์ ได้แก่ นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ
     ๓. นิทานชีวิต จะกล่าวถึงบุคคลและสถานที่ที่มีอยู่จริง มีลักษณะเป็นนิทานประจำถิ่น
     ๔. นิทานประจำถิ่น เป็นเรื่องเล่าที่เชื่อว่าเคยเกิดขึ้นจริงในแต่ละท้องถิ่น มักอธิบายความเป็นมาของสิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
     ๕. นิทานคติสอนใจ เป็นเรื่องที่ให้คุณค่าด้านจริยธรรมและผลแห่งกรรม
     ๖. นิทานอธิบายสาเหตุ จะเล่าถึงสาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สัตว์ และพืช
     ๗. นิทานเรื่องสัตว์ จะอธิบายเกี่ยวกับอุปนิสัยของสัตว์
     ๘. นิทานเรื่องผี จะเล่าเกี่ยวกับผีต่าง ๆ
     ๙. นิทานมุกตลก มีทั้งมุกตลกหยาบโลน ที่มักจะล้อเลียนบุคคลต่าง ๆ และมุกตลกไม่หยาบโลน ที่แสดงแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ
     ๑๐. นิทานโม้ เป็นเรื่องเหลือเชื่อ
     ๑๑. นิทานเข้าแบบ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
          ๑) นิทานไม่รู้จบ คือ นิทานที่เล่าได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันจบ
          ๒) นิทานลูกโซ่ คือ นิทานที่เล่าพฤติกรรมของตัวละครที่เกี่ยวเนื่องกันต่อ ๆ ไป

 

๓. คุณค่าของนิทานพื้นบ้าน
     ๑. ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ข้อคิด คติเตือนใจ
     ๒. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เล่ากับผู้ฟัง
     ๓. ทำให้เกิดการเรียนรู้และจินตนาการ
     ๔. สะท้อนภาพสังคมไทยในอดีต

 

แหล่งสืบค้นข้อมูล

นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านเพิ่มเติมได้ที่ www.thaifolk.com หรือ www.lokwannakadi.com

  

เพลงพื้นบ้าน
เพลงพื้นบ้าน คือ เพลงที่ชาวบ้านเรียบเรียงขึ้นด้วยสำนวนภาษาที่เรียบง่าย ใช้ร้องโต้ตอบในโอกาสต่าง ๆ แบ่งตามลักษณะผู้เล่นได้ ๒ ประเภท ได้แก่
     ๑. เพลงเด็ก ได้แก่ เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก เพลงร้องเล่น เพลงร้องประกอบการละเล่นพื้นเมืองสำหรับเด็ก
     ๒. เพลงผู้ใหญ่ ได้แก่ เพลงปฏิพากย์ เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน
๑. ให้ความสนุกสนาน
๒. รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น สร้างความสามัคคี
๓. เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ


๑. เพลงกล่อมเด็ก
เพลงกล่อมเด็ก คือ เพลงที่ใช้ร้องกล่อมให้เด็กนอน เนื้อเพลงสั้น ๆ เอื้อนเสียงยาว ๆ


๒. เพลงปลอบเด็ก
เพลงปลอบเด็ก คือ เพลงที่ใช้ร้องปลอบให้เด็กเคลิบเคลิ้ม เน้นการเอาอกเอาใจให้นอนหลับ
คุณค่าของเพลงกล่อมเด็กและเพลงปลอบเด็ก
     ๑. ช่วยให้นอนหลับได้ง่าย
     ๒. ให้ข้อคิดในเรื่องรอบตัว
     ๓. สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้น

 

เกร็ดควรรู้

เพลงกล่อมเด็กมีทุกภาคของประเทศไทย แต่จะเรียกต่างกัน คือ ภาคเหนือ เรียกว่า เพลงอื่อ ภาคอีสาน เรียกว่า เพลงร้องเรือ หรือเพลงช้าน้อง และภาคใต้ เรียกว่า เพลงกล่อมลูก หรือเพลงนอนสาเด้อ 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th