ภาษาไทย ป. 5 เรื่อง ประโยค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 154.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

ประโยค

 

 

พยางค์และคำ
๑. พยางค์
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะมีหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์มีส่วนประกอบดังนี้
     – เสียงพยัญชนะต้น
     – เสียงสระ
     – เสียงวรรณยุกต์
     – เสียงพยัญชนะท้ายหรือตัวสะกด (มีหรือไม่มีก็ได้)


๒. คำ
คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. คำพยางค์เดียว คือ คำที่ออกเสียงครั้งเดียวและมีความหมาย เช่น บ้าน ดิน มด
๒. คำหลายพยางค์ คือ คำที่ต้องออกเสียงมากกว่า ๑ ครั้ง จึงจะมีความหมาย เช่น
          ขนม อ่านว่า ขะ-หนม เป็นคำ ๒ พยางค์


๓. ประโยค
ประโยค คือ คำชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเรียงต่อกันให้มีใจความสมบูรณ์ ประโยคจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่
๑. ภาคประธาน เป็นส่วนของผู้กระทำกิริยาต่าง ๆ จะมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้
๒. ภาคแสดง เป็นส่วนแสดงการกระทำของประธาน ประกอบด้วยกริยา ส่วนกรรมและส่วนขยายนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้

 

เกร็ดควรรู้

ส่วนขยาย คือ ส่วนที่ขยายให้เนื้อความชัดเจนมากขึ้น


ตัวอย่าง ประโยคที่ไม่มีกรรม

 

 

ประโยคที่ไม่มีกรรม

 


ตัวอย่าง ประโยคที่มีกรรม

 

ประโยคที่มีกรรม

 

 

ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความเดียว ประกอบด้วยประธานและกริยา จะมีหรือไม่มีกรรมก็ได้

เกร็ดควรรู้

             ประโยคความเดียว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประโยคสามัญ

 

ประโยคความรวม
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียว ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยใช้คำสันธานเชื่อม

            ประโยคความเดียว + คำสันธาน + ประโยคความเดียว

เกร็ดควรรู้

             ประโยคความรวม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประโยครวม

 

วิธีสังเกตประโยคความรวม
๑. มีประธาน ๑ บท และกริยา ๒ บท เช่น
ฉันทำการบ้านเสร็จแล้วจึงกินข้าว แยกประโยคได้ดังนี้
ฉันทำการบ้านเสร็จแล้ว
ฉันกินข้าว 

๒. มีประธาน ๒ บท และกริยา ๑ บท เช่น
คุณตาและคุณยายไปวัด แยกประโยคได้ดังนี้
คุณตาไปวัด
คุณยายไปวัด
๓. มีประธาน ๒ บท และกริยา ๒ บท เช่น
แม่ทำกับข้าวในขณะที่พ่อล้างรถ แยกประโยคได้ดังนี้
แม่ทำกับข้าว
พ่อล้างรถ 


ประโยคเพื่อการสื่อสาร
ประโยคเพื่อการสื่อสาร คือ ประโยคที่ใช้สื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน แบ่งตามจุดมุ่งหมายการสื่อสารได้ ๖ ชนิด ได้แก่
๑. ประโยคบอกเล่า ใช้บอกเล่าเรื่องต่าง ๆ
๒. ประโยคปฏิเสธ ใช้แสดงการไม่ยอมรับ มักมีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ไม่ได้
๓. ประโยคคำถาม ใช้เมื่อต้องการคำตอบ มักมีคำว่า ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เมื่อใด
๔. ประโยคขอร้อง ใช้ขอให้ผู้อื่นช่วยเหลือ มักมีคำว่า โปรด กรุณา ช่วย
๕. ประโยคคำสั่ง ใช้บังคับให้ผู้อื่นทำตาม มักมีคำว่า ห้าม อย่า ต้อง จง
๖. ประโยคแสดงความต้องการ ใช้บอกให้ผู้อื่นรับรู้ความต้องการ มักมีคำว่า อยาก ต้องการ ปรารถนา 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th