ภาษาไทย ป. 2 เรื่อง ภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 89.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น

 

 

ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น 

 

สวัสดีครับ  สวัสดีขรับ  สวัสดีเจ้าสวัสดีเด้อ

  

๑. ภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาไทยมาตรฐาน คือ ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ราชการและการเรียนการสอนของโรงเรียน มีแบบแผนที่ยอมรับในทุกท้องถิ่น ได้แก่ภาษาไทยกรุงเทพ


๒. ภาษาไทยถิ่น
ภาษาไทยถิ่น คือ ภาษาย่อยของคนในท้องถิ่นของประเทศไทย แบ่งได้ ๔ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
     ๑. ภาษาไทยถิ่นเหนือ พูดกันในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย
     ๒. ภาษาไทยถิ่นกลาง พูดกันในกรุงเทพฯ จังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของประเทศไทย
     ๓. ภาษาไทยถิ่นใต้ พูดกันในจังหวัดภาคใต้
     ๔. ภาษาไทยถิ่นอีสาน พูดกันในจังหวัดภาคอีสานของประเทศไทย

 

ภาษาไทยถิ่น

  

ภาษาไทยถิ่น

   

ตัวอย่าง

ภาษาไทยถิ่นกลาง

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ภาษาไทยถิ่นใต้

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ฉัน

เฮา

ฉาน

ข้อย

พูด

อู้

แหลง

เว้า

อร่อย

ลำ

หรอย

แซบ


บทร้องเล่น
บทร้องเล่น คือ เพลงประกอบการละเล่น เพิ่มความสนุก และฝึกฝนภาษาของผู้เล่นไปพร้อมกัน โดยบทร้องมักแทรกวิธีการเล่นไว้
ตัวอย่างบทร้องเล่นและวิธีการเล่น

 

รีรีข้าวสาร

  

๑. เลือกผู้เล่นสองคนหันหน้าเข้าหากัน ยกมือชูประสานกันเป็นสะพาน
๒. ผู้เล่นที่เหลือเข้าแถว มือเกาะเอวคนหน้าแล้ววิ่งลอดสะพาน พร้อมร้องบทร้องเล่น
๓. เมื่อใกล้จบเพลงต้องวิ่งลอดสะพานให้เร็วขึ้นเพื่อให้รอดจากการถูกคล้อง ใครถูกคล้องต้องทำหน้าที่เป็นสะพานแทน

 

อ้ายเข้อ้ายโขง

  

๑. เลือกคนที่จะเป็นไอ้เข้ ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น โอน้อยออก เป่ายิงฉุบ จับไม้สั้นไม้ยาว เป็นต้น
๒. สมมุติพื้นที่เป็น ๒ ฝั่งแม่น้ำ ไอ้เข้อยู่กลางแม่น้ำ คนอื่น ๆ อยู่บนบก
๓. ทุกคนต้องว่ายน้ำไปอีกฝั่ง โดยไอ้เข้ต้องคอยจับคนกำลังว่ายน้ำ
๔. ใครถูกไอ้เข้จับ ต้องออกมาเป็นไอ้เข้แทน

 

โอน้อยออกออก

 

โอน้อยออก

 

เป่ายิงฉุบ

 

เป่ายิงฉุบ

 

จับไม้สั้นไม้ยาว

 

จับไม้สั้นไม้ยาว

 

สรุป
การเรียนเรื่อง ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่น และบทร้องเล่น แสดงให้เห็นภูมิปัญญาทางและเอกลักษณ์ของไทยจึงควรค่าแก่การอนุรักษ์

 

คำสำคัญ ๑. ภาษาไทยมาตรฐาน ๒. ภาษาถิ่น ๓.บทร้องเล่น 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th