ภาษาไทย ป. 2 เรื่อง การสะกดคำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 274.5K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

การสะกดคำ

  

การสะกดคำและการแจกลูกคำ
การสะกดคำและการแจกลูกคำ หรือการสะกดแจกลูก คือ การแยกส่วนคำออกเป็นพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด ถ้าคำนั้นมีหลายพยางค์ให้แยกทีละพยางค์

 

ผลไม้หนอน

 

ผีเสื้อบันได

 

สวนสัตว์    ว่าว

 

กองขยะชาวนา

 

ออกกำลังกายแปรงฟัน

 

ตะโกน

  

ตัวอย่างการสะกดคำและการแจกลูกคำ

พยัญชนะ

สระ

วรรณยุกต์

ตัวสะกด

สะกดคำ

อ่านว่า

 

-า

รอ-อา-นอ-

ราน-ไม้โท

ร้าน

 

-ะ

-ะ

-

-

-

สอ-อะ

บอ-อะ-ดอ

สะ

บัด

สะบัด

 

มาตราตัวสะกด
มาตราตัวสะกดคือ เสียงตัวสะกด มี ๘ มาตรา หรือ ๘ แม่
ดังภาพ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ ตัวสะกดตรงตามมาตรา และตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา


ตารางตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตรา

มาตรา

๑. ตัวสะกดตรงตามมาตรา

๒. ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา

แม่กก

ก(แย)

ข(เล) ค(ภา) ฆ(เม)

แม่กง

ง(ปรุ)

-

แม่กด

ด(กำหน)

จ(อา) ช(บว) ซ(ก๊า)

ฎ(ก) ฏ(ปราก) ฐ(อิ

ฑ(ครุ)  ฒ(วันา)

ต(สังเก) ถ(ร)  ท(บ)

ธ(พุ) ศ(อากา)  ษ(เศ)

 ส(โอกา)

 

แม่กน

น(สา)

ญ(เจริ)  ณ(คุ)  ร(หา

ล(ช)  ฬ(วา)

แม่กบ

ป(สา) พ(ภา)
ฟ(ยีรา) ภ(ลา)

แม่กม

-

แม่เกย

-

แม่เกอว

-

 

การผันอักษร
การผันอักษร คือ การเปลี่ยนระดับเสียงของคำ โดยใช้รูปวรรณยุกต์และอักษรสามหมู่เป็นตัวกำหนด

๑. การผันอักษรสูง
การผันอักษรสูงที่ไม่มีตัวสะกด หากประสมสระเสียงยาวพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ส่วนสระเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ดังนี้

เสียงสระ

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

ยาว

ฝา

-

ฝ่า

ฝ้า

-

ฝา

สั้น

ฝะ

-

ฝะ

ฝ้ะ

-

-


๒. การผันอักษรกลาง
การผันอักษรกลางที่ไม่มีตัวสะกด หากประสมสระเสียงยาวพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ส่วนสระเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ดังนี้

เสียงสระ

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

ยาว

กา

กา

ก่า

ก้า

ก๊า

ก๋า

สั้น

กะ

-

กะ

ก้ะ

ก๊ะ

ก๋ะ


๓. การผันอักษรต่ำ
อักษรต่ำที่ที่ไม่มีตัวสะกด หากประสมสระเสียงยาวพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ส่วนสระเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันได้ดังนี้

เสียงสระ

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

ยาว

คา

คา

-

ค่า

ค้า

-

สั้น

คะ

-

-

ค่ะ

คะ

ค๋ะ

 

คำที่มีตัวการันต์
ตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต ด้านบน เมื่ออ่านจะไม่ออกเสียงทุกอักษรใต้เครื่องหมาย เช่น เสาร์ ปราชญ์ ทั้งนี้ส่วนใหญ่คำทัณฑฆาตมักมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ฟิล์ม เป็นต้น

 

คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คือ คำที่มี ร ล และ ว ตามเป็นพยัญชนะตัวที่ ๒ ใช้สระและตัวสะกดร่วมกับพยัญชนะตัวหน้า เมื่อออกเสียงจะออกเสียงควบกัน คำควบกล้ำแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑. คำควบแท้

(คำที่ออกเสียง ร ล ว พร้อมพยัญชนะตัวแรก)

  กริ่ง   ขรุขระ   ครึกครื้น 

          ล  กลุ่ม   ขลุ่ย   คลำ   เปล   พลิก

   ว   กว้าง   ขวักไขว่   ควัน  

๒. คำควบไม่แท้

(คำที่มี แต่เมื่ออ่านจะไม่ออกเสียง)

๒.๑ อ่านตามพยัญชนะตัวหน้า

                  เช่น จริง อ่านว่า จิง

                 ไซร้ อ่านว่า ไซ้ เป็นต้น

๒.๒ ออกเสียง ทร เป็น

                    เช่น ทราย อ่านว่า ซาย

                    ทรุดโทรม อ่านว่า ซุด-โซม เป็นต้น

 

คำที่มีอักษรนำ
อักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัวอ่านออกเสียงเหมือนมี ห นำ โดยใช้สระและตัวสะกดเดียวกัน
๑. คำที่มี ห นำ จะมีพยัญชนะ ห นำหน้าพยัญชนะตัวอื่น เช่น แหงน หญิง เหนียว หมัด หยอก เหรียญ เหลา หวี
๒. คำที่มี อ นำ ย จะออกเสียงเหมือน ห นำ ย มีอยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
๓. คำที่มี ผ และ ส นำ โดย ผ และ ส จะออกเสียง อะ กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังออกเสียงเหมือนมี ห นำ เช่น ผงาด (ผะ-หงาด) ผลึก (ผะ-หลึก) สง่า (สะ-หง่า) สนุก (สะ-หนุก) เป็นต้น

 

คำที่มีความหมายตรงกันข้าม
คือ คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน เช่น

คำ

คำตรงกันข้าม

ขาว

ดำ

สูง

ต่ำ

หวาน

ขม

 

คำที่มี รร (ร หัน)
คือ คำที่มี ร สองตัวเรียงกัน (รร) ตัวแรกแทนเสียงอะ ใช้รูป ส่วนตัวหลังเป็นตัวสะกดเสียง น เช่น กรรไกร อ่านว่า กัน-ไกร แต่ถ้าคำที่เขียนด้วย รร มีตัวสะกดจะออกเสียงอะ แล้วจึงตามด้วยเสียงตัวสะกดนั้น เช่น กรรม อ่านว่า กำ (กอ-อะ-มอ) เป็นต้น


คำที่มีพยัญชนะและสระที่ไม่ออกเสียง

ลักษณะคำที่ไม่ออกเสียง

คำ

คำอ่าน

หรือ ที่อยู่กลางคำ

สา

สาด

พร

พรม

อยู่ท้ายคำ

จัก

จัก

ลิต

ลิด

สระ  หรือสระ ที่กำกับตัวสะกด

ภูมิ

พูม

เหตุ

เหด


สรุป
การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ต้องประกอบด้วยความรู้ด้านการสะกดคำและการแจกลูกคำ มาตราตัวสะกด การผันอักษร คำที่มีตัวการันต์ คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ คำที่มีความหมายตรงกันข้าม คำที่มี รร (ร หัน) และคำที่มีพยัญชนะและสระที่ไม่ออกเสียง


คำสำคัญ

๑. การสะกดคำและการแจกลูกคำ

๒. มาตราตัวสะกด 

๓. การผันอักษร

๔. การันต์

๕. อักษรนำ

๖. คำตรงข้าม ๗. รร (ร หัน)

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th