บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง การสะกดคำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 49.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


การสะกดคำ



๑. การอ่านสะกดคำและการแจกลูก

การอ่านสะกดคำ คือ การอ่านแยกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด แล้วจึงออกเสียงเป็นคำ ใช้เพื่อเป็นแนวทางการอ่านคำ

คำ

การอ่านสะกดคำ

เสียงพยัญชนะต้น

เสียงสระ

เสียงตัวสะกด

คำอ่าน

จำ

จอ

อำ

  -

จำ

เทียน

ทอ

เอีย

นอ

เทียน

การแจกลูก คือ การแยกคำออกเป็นรูปพยัญชนะ สระ และตัวสะกด

คำ

การแจกลูก

พยัญชนะต้น

สระ

ตัวสะกด

คำอ่าน

จำ

  -

จำ

เทียน

เ–ีย

เทียน


การอ่านเป็นคำ คือ การอ่านออกเสียงเป็นคำ เช่น
ขา อ่านว่า ขา นิ่ง อ่านว่า นิ่ง
ตู้เย็น อ่านว่า ตู้-เย็น อายุ อ่านว่า อา-ยุ


๒. มาตราตัวสะกด
พยัญชนะมีชื่อเรียกต่างกันตามตำแหน่ง ถ้าอยู่ต้นคำเรียก พยัญชนะต้น ส่วนท้ายคำเรียก ตัวสะกด เช่น
“ทอง” มี “ท” เป็นพยัญชนะต้น และ “ง” เป็นตัวสะกด
ตัวสะกดในภาษาไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
     ๒.๑ ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด

ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด มี ๘ แม่ ได้แก่
     ๑. แม่กก คือ คำที่มี ก เป็นตัวสะกด เช่น

 

ปาก นก

 

 

     ๒. แม่กด คือ คำที่มี ด เป็นตัวสะกด เช่น

 

ขวด มด

 

 

     ๓. แม่กบ คือ คำที่มี บ เป็นตัวสะกด เช่น

 

จอบ กบ

 

 

     ๔. แม่กง คือ คำที่มี ง เป็นตัวสะกด เช่น

 

กุ้ง กวาง

 

 

     ๕. แม่กน คือ คำที่มี น เป็นตัวสะกด เช่น

 

หนอน แขน

 

 

     ๖. แม่กม คือ คำที่มี ม เป็นตัวสะกด เช่น

 

ร่ม ส้อม

 

 

     ๗. แม่เกย คือ คำที่มี ย เป็นตัวสะกด เช่น

 

หอย กล้วย

 

 

     ๘. แม่เกอว คือ คำที่มี ว เป็นตัวสะกด เช่น

 

แก้ว ดาว

 

 

     ๒.๒ ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
รูปพยัญชนะไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แต่ออกเสียงตรงกันก็จัดให้อยู่ในมาตรานั้น มี ๔ แม่ ได้แก่

มาตรา

ตัวสะกด

ตัวอย่าง

๑. แม่กก

ข ค ฆ

เล  โรเม

๒. แม่กด

จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ติ ตุ ถ ท ธ ศ ษ ส

กิ พื รั ชาติ เหตุ บา กระดา ดาบ

๓. แม่กบ

ป พ ฟ ภ

รู เคารทอฟี่ โล

๔. แม่กน

ญ ณ ร ล ฬ

ชา คุ ศี วา

เกร็ดควรรู้

พยัญชนะที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดออกเสียงได้แค่ ๔ แม่ตามตารางเท่านั้น ส่วนคำที่ไม่มีตัวสะกดจะจัดอยู่ใน
แม่ ก กา เช่น พ่อ แม่ คะ ขา โค

 

๓. การผันอักษร
การผันอักษร คือ การเปลี่ยนเสียงสูง-ต่ำของคำโดยใช้รูปวรรณยุกต์กำหนดเสียง เกิดเป็นคำใหม่และความหมายใหม่ เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า

 

 

พยัญชนะ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ 

 

 

พยัญชนะไทยแบ่งตามระดับเสียงได้เป็น ๓ หมู่ ดังนี้
     ๓.๑ การผันอักษรสูง
อักษรสูงประสมสระเสียงยาวผันได้ ๓ เสียง โดยมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ดังนี้

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

ฝา

-

ฝ่า

ฝ้า

-

ฝา


     ๓.๒ การผันอักษรกลาง
อักษรกลางประสมสระเสียงยาวผันได้ครบ ๕ เสียงและมีรูปวรรณยุกต์ตรงเสียง โดยมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ดังนี้

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

จี

จี

จี่

จี้

จี๊

จี๋

     ๓.๓ การผันอักษรต่ำ
อักษรต่ำประสมสระเสียงยาวผันได้ ๓ เสียง โดยมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ส่วนรูปวรรณยุกต์ของเสียงโทและเสียงตรีลดลง ๑ ระดับดังนี้

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

ลอ

ลอ

-

ล่อ

ล้อ

-


๔. คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ
อักษรควบ คือ คำที่มีพยัญชนะต้นสองตัวควบกัน ใช้สระและตัวสะกดร่วมกันและอ่านออกเสียงพร้อมกัน โดยพยัญชนะที่ใช้ควบมี ๓ ตัว คือ ร ล ว

อักษรควบ ร

อักษรควบ ล

อักษรควบ ว

กร  - กราบ กรน

คร - คราว ครก

ตร - ตรอม ตรม

กล - กลัว กล้า

 คล - คลุก เคล้า

ปล - ปล้น ปลา

  กว - แกว่ง เกวียน

ขว - ขว้าง ขวิด

คว - คว่ำ ควาน


๕. คำที่มีอักษรนำ
อักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะสองตัว ใช้สระและตัวสะกดร่วมกันอ่านออกเสียงเหมือนมี ห นำ เช่น คำที่มี ห นำ ง ญ น ม ย ร ล ว อาทิ เหงา ใหญ่ หนอน หมี หยิบ หรูหรา หลบ แหว่ง เป็นต้น รวมทั้งคำที่ใช้ อ นำ ย ๔ คำ ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก


สรุป
นักเรียนควรเรียนรู้การอ่านสะกดคำ การแจกลูก มาตราตัวสะกด การผันอักษร คำควบกล้ำ และอักษรนำ เพื่อให้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง


คำสำคัญ ๑. การอ่านสะกดคำและการแจกลูก ๒. มาตราตัวสะกด ๓. การผันอักษร ๔. คำควบกล้ำ ๕. อักษรนำ

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th