พันธะไฮโดรเจน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 135.3K views




พันธะไฮโดรเจนในสารประกอบอินทรีย์


     พันธะไฮโดรเจน คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลใน สารประกอบโคเวเลนต์ เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่มีแรงดึงดูดสูง จึงแข็งแรงกว่าแรงลอนดอน และแรงระหว่างขั้ว ซึ่งพันธะไฮโดรเจนจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อธาตุ H สร้างพันธะกับธาตุที่มีค่า EN สูง เช่น F, O, N (H ต่อกัน ฝน)



สารประกอบอินทรีย์คืออะไร?
     สารประกอบอินทรีย์ คือ สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก อาจจะมีธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบร่วมด้วยก็ได้ เช่น H, O, N, P, S, CI, และ Br

เช่น >> C2H4 , C2H5OH , NH2CONH2 , CH3COOH , CH3CHO , CH3Br , CH3SCH3 , CH3SCH3 , CH3NH2 etc.

     ซึ่งสารประกอบอินทรีย์ที่สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท โดยดูจากโครงสร้างภายในโมเลกุลว่ามีธาตุ H ต่ออยู่กับ F, O, N หรือไม่

ขอบคุณแหล่งที่มา : facebook Chemiis
                             https://chemiis.wordpress.com/