บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา เรื่อง ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 38.5K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ

 

1. ความขัดแย้ง
     1.1 สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I ค.ศ. 1914–1918)
สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่เกิดจากความขัดแย้งของประเทศในทวีปยุโรป และลุกลามไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ

 

สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I ค.ศ. 1914–1918)

 

          สาเหตุของสงคราม
          สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุสำคัญดังนี้
          1. ลัทธิชาตินิยม (nationalism)
          2. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม
          3. มหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย
          4. ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน
     1.2 สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II ค.ศ. 1939–1945)
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความขัดแย้งของประชาชาติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 สิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 รวมเวลา 6 ปี
          สาเหตุของสงคราม
          สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุสำคัญต่อไปนี้
          1. ลัทธิจักรวรรดินิยม
          2. ลัทธิชาตินิยม
          3. ลัทธินิยมทางทหาร
          4. มหาอำนาจแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายอักษะ (Axis) ประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งดำเนินนโยบายต่างประเทศไปในทำนองเดียวกัน คือ การรุกรานและขยายอำนาจ
          5. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ

 

สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II ค.ศ. 1939–1945)

 

     1.3 สงครามเย็น (Cold War ค.ศ. 1945–1991)
เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างชาติมหาอำนาจ อันส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และทำให้สังคมโลกต้องตกอยู่ในสภาวะความตึงเครียดยาวนานถึง 45 ปี
     สาเหตุของสงครามเย็น
สงครามเย็น หมายถึง ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างสองอภิมหาอำนาจ คือ อุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกากับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต
     1. การเปลี่ยนแปลงดุลทางอำนาจของโลก ระบอบคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตจึงก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจคู่กับสหรัฐอเมริกาแทนชาติยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น
     2. อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน สหรัฐอเมริกายึดหลักลัทธิเสรีประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ขณะที่สหภาพโซเวียตพยายามขยายอิทธิพลของลัทธิสังคมนิยมออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ
     3. ความขัดแย้งของผู้นำของชาติอภิมหาอำนาจ ด้วยท่าทีของผู้นำของชาติอภิมหาอำนาจมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความตึงเครียดของสงครามเย็น

 

2. การประสานประโยชน์
การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     2.1 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)
วัตถุประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การสันนิบาตชาติคือ การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต

 

องค์การสหประชาชาติ (United Nations)

 

     2.2 องค์การสหประชาชาติ (United Nations)
องค์การสหประชาชาติมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
     1. ธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของโลกโดยการร่วมมือกัน
     2. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยกันคลี่คลายและแก้ปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิทธิทางด้านมนุษยชน
     3. เป็นศูนย์กลางพัฒนาความสัมพันธ์อันดี และประสานงานกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้ดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมาย

 

การประชุมสันติภาพแห่งกรุงปารีส

 

     2.3 องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic Treaty Organization–NATO)
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ เป็นสนธิสัญญาทางการทหารของค่ายตะวันตก หรือค่ายเสรีประชาธิปไตย
     2.4 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Treaty Organization) หรือกติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เป็นองค์การความร่วมมือทางการทหารของค่ายคอมมิวนิสต์
     2.5 องค์การการค้าโลก (World Trade Organization–WTO)
ประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ขณะที่เรียกองค์การนี้ว่าแกตต์
     2.6 องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries–OPEC)
โอเปกก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1960 ประเทศสมาชิกเริ่มก่อตั้ง คือ อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดีอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมาประเทศกาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง ได้สมัครเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ใน ค.ศ. 1992 เอกวาดอร์ได้ลาออกและ ค.ศ. 1992 กาบองได้ลาออกไปด้วย ปัจจุบันโอเปกมีสมาชิกรวม 11 ประเทศ
     2.7 สหภาพยุโรปหรืออียู (European Union–EU)
การขยายขอบเขตประเทศสหภาพยุโรป เป็นการครอบคลุมชนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมเข้ามาไว้ภายใต้ขอบเขตเดียวกัน
     2.8 สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปหรือเอฟตา (European Free Trade Association–EFTA)
มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับสหภาพยุโรป คือ การปฏิรูประบบการค้าสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิก โดยการกำหนดวิธีการและแนวทางปฏิบัติทางด้านรายการสินค้าและภาษีศุลกากร
     2.9 เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือนาฟตา (North American Free Trade Area–NAFTA)
เมื่อนาฟตามีผลในทางปฏิบัติแล้วจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งผลดีและผลเสีย ดังนี้
     2.10 เขตการค้าเสรี (Free Trade Area–FTA) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement–FTA)
เป็นการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป มีวัตถุประสงค์ที่จะลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้การค้าขายเป็นไปอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ

 

คำสำคัญ
ลัทธิชาตินิยม (nationalism)
สงครามโลก (World War)
สงครามเย็น (Cold War)
อุดมการณ์
ระบอบคอมมิวนิสต์
ลัทธิเสรีประชาธิปไตย
องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)
องค์การสหประชาชาติ (United Nations)
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic Treaty Organization–NATO)
องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Treaty Organization)
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization–WTO)
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries–OPEC)
สหภาพยุโรปหรืออียู (European Union–EU)
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปหรือเอฟตา (European Free Trade Association–EFTA)
เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือนาฟตา (North American Free Trade Area–NAFTA)
เขตการค้าเสรี (Free Trade Area–FTA)

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th