บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 14.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

 

รากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมีที่มาจากวิถีชีวิตดั้งเดิม คือ สังคมเกษตรที่พึ่งพาธรรมชาติ ความคิด ความเชื่อทางศาสนา ผสมผสานวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งดัดแปลงให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์
1. วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรม (culture) หมายถึง สิ่งดีงามที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ คนในสังคมยึดถือเป็นแบบแผนเพื่อปฏิบัติสืบกันมา
วัฒนธรรมไทย (Thai Culture) หมายถึง สิ่งที่คนไทยคิดและสร้างขึ้นจากความรู้และประสบการณ์ ซึ่งมีรูปแบบ กฎเกณฑ์เป็นที่ยอมรับในสังคม แสดงถึงความเจริญงอกงาม มีการสืบทอดต่อกันมา เช่น ภาษา ศิลปะ การแต่งกาย ประเพณี ความเชื่อ ซึ่งต้องรักษาทะนุบำรุงให้เจริญงอกงาม
     1.1 สาขาของวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยแบ่งได้เป็น 5 สาขา ดังนี้
          1.1.1 วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณกรรม
ภาษา คือสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อความหมายของคนหรือชาติใดชาติหนึ่งให้เข้าใจกัน ไทยมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง

 

อักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอักษรไทยสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)

อักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

          1.1.2 วัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต มีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น
          1.1.3 วัฒนธรรมทางจิตใจ วัฒนธรรมทางจิตใจ เกี่ยวกับความคิด ความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม
          1.1.4 วัฒนธรรมทางจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี
          1.1.5 วัฒนธรรมทางสุนทรียะ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง
     1.2 ศิลปะการแสดง รับรู้ด้วยการรับชมและการฟัง ประกอบด้วยนาฏศิลป์ การละคร และการดนตรี เพลงพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน และการละเล่น
2. ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdom) หมายถึงความรู้ ความสามารถของคนไทยจากการสั่งสมประสบการณ์ด้วยการเรียนรู้ เลือกสรร ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทย
     2.1 ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อวิธีการดำเนินชีวิตของคนไทย
          2.1.1 ด้านการเมืองการปกครอง
               1. ฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย โครงสร้างของสังคมประกอบด้วยผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครอง สังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองผู้ใต้ปกครองให้ปกติสุข และเป็นศูนย์กลางสำคัญที่สุดและสูงสุดของสังคม มีบทบาทสำคัญ คือ รับผิดชอบต่อการเมืองและสังคม

 

พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา

 

               2. ระบบการเกณฑ์แรงงาน จำนวนประชากรไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง พ.ศ. 2500 ไม่สมดุลกับพื้นที่ที่กว้างใหญ่ ทำให้ผู้ปกครองต้องให้ระบบการควบคุมแรงงานเพื่อใช้ในการสร้างเมือง งานสาธารณะ การทหาร ซึ่งเรียกว่าระบบไพร่
          2.2.2 ด้านคติความเชื่อ
ความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อคนไทย มีความเชื่อในพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ
               1. ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ ใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถอธิบายได้ คนไทยนับถือผีก่อนพระพุทธศาสนา
               2. คติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ทำให้คนไทยมีกรอบความคิดและโลกทัศน์ตามคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น นิสัยโอบอ้อมอารี เมตตากรุณา ไม่นิยมความรุนแรง มองโลกในแง่ดี
          2.2.3 ด้านการดำเนินชีวิต
ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตเกิดขึ้นจากการปรับตัวในการตั้งถิ่นฐานในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
               1. การตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง คนไทยเลือกตั้งถิ่นฐานตามความเหมาะสมของ
               2. ระบบการจัดการน้ำ หลักฐานทางโบราณคดี คือ การขุดคูน้ำและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ซึ่งช่วยป้องกันศัตรู เป็นอาหารให้ประชากร และเป็นผลสะท้อนการจัดระบบแรงงาน
               3. การรักษาโรค ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของไทยทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีพืชที่มีคุณในการรักษาโรค
               4. การประดิษฐ์ดินเผา พบในการขุดซากโบราณวัตถุ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นภาชนะดินเผาที่ปั้นด้วยมือ มีการปั้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ชนิดเคลือบเรียกเครื่องสังคโลก สมัยนี้ผลิตกันอย่างแพร่หลายและถือเป็นสินค้าที่สำคัญ มรการขุดพบทั้งเตาเผาและภาชนะดินเผาจำนวนมากที่สุโขทัยและศรีสัชนาลัย

 

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครื่องสังคโลกเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด

 

               5. การประดิษฐ์เครื่องจักสาน โดยนำวัสดุธรรมชาติมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน เช่น เครื่องมือจับปลา และเครื่องมือการเกษตร เครื่องจักสานย่านลิเภาเป็นงานฝีมือชั้นสูง
               6. เครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะ เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากการประยุกต์แร่ธรรมชาติมาดัดแปลง ได้แก่ เครื่องมือโลหะสำริด และโลหะเหล็ก เครื่องมือเครื่องใช้สำริดบ้านเชียง อายุประมาณ 3,000 ปี
          2.3.4 การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และสืบทอดมาอย่างยาวนาน เราจึงควรการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้เป็นมรดกของชาติ ซึ่งมีวิธีดังนี้
               1. ช่วยกันถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย โดยรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ให้คนไทยหันมาสนใจศึกษาภูมิปัญญาไทย เพื่อสืบทองให้คงอยู่ต่อไป
               2. ประกาศยกย่องเชิดชูผู้ทรงภูมิปัญญาไทย เช่น ครูภูมิปัญญาไทย ศิลปินแห่งชาติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม คนดีศรีสังคม โดยยกย่องเชิดชูเกียรติทั้งระดับชาติและระดับโลก เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะเผยแพร่ภูมิปัญญา
               3. จัดตั้งศูนย์ภูมิปัญญาไทย เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชน หรือเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
               4. จัดตั้งสถาบันภูมิปัญญาไทยแห่งชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานเผยแพร่ข้อมูลระดับชาติ ทำให้มีการศึกษาอย่างจริงจัง
               5. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง
               6. จัดตั้งด้านการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพื่อมิให้ชาติอื่นมาครอบครองภูมิปัญญาของไทยและควร

 

คำสำคัญ
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมทางวัตถุ
วัฒนธรรมทางจิตใจ
ศิลปะการแสดง
ภูมิปัญญาไทย
คติความเชื่อ
ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ
ความเชื่อในพระพุทธศาสนา
การดำเนินชีวิต
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th