บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสัมพันธ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 24.1K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี
- ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
 ช่วยในเรื่องของความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต

 


- ด้านการพัฒนาประเทศ ช่วยผลิตสินค้าและการบริการ

 

 


- ด้านสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีสะอาด การรีไซเคิล

 


ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ



เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างการได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีดังนี้
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้จากการที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาและวิจัยจนได้ข้อสรุปที่เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี ได้จากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์โดยอาศัยการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชน และกลุ่มผู้ทำการวิจัยจะต้องเป็นกลุ่มใหญ่และมีความรู้เฉพาะสาขา
ดังนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก เพราะทั้ง2อย่างนั้นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน

เทคโนโลยีกับเกษตรศาสตร์
การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใช้ในการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มผลผลิต ได้ปริมาณและมีคุณภาพตรงกับความต้องการ ลดการสูญเสียในช่วงเก็บเกี่ยว และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

 

  


เทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์
ปัจจุบันระบบการศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยีมาเป็นสื่อเพื่อการเรียนการสอน ทำให้เกิดความสะดวกทั้งผู้สื่อสารและผู้รับสาร การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ต่างมากมาย นอกจากจะใช้สอนเนื้อหาแล้วยังสามารถใช้ฝึกทักษะ และใช้สร้างสถานการณ์จำลองอีกด้วย

 

  


เทคโนโลยีกับโภชนศาสตร์
1. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์และการสเตอริไลซ์ เป็นการใช้ความร้อนทำงานจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่ให้โทษ เมื่ออาหารผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้วต้องเก็บรักษาโดยใช้ความเย็นทันที ส่วนการสเตอริไลซ์ไม่ต้องแช่เย็น

 


2. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการแช่เย็นและการแช่แข็ง ความเย็นจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ทำให้ยืดอายุการเก็บรักษาอาหารและคงคุณค่าทางโภชนาการ
3. เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปมังคุด พัฒนาวิธีการบรรจุหีบห่อ เทคนิคการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า
4. การเร่งกระบวนการหมักน้ำปลาโดยการประยุกต์ใช้เอนไซม์ พัฒนากระบวนการหมักน้ำปลา โดยการใช้เอนไซม์เร่งการย่อยสลายโปรตีน และสร้างสารปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติ
5. การถนอมอาหารโดยการฉายรังสี ฉายรังสีเพื่อจะยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และการทำงานของเอนไซม์ 

 


เทคโนโลยีกับแพทยศาสตร์
วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

1. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับคลื่นวิทยุมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค

 


2. เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นแสงที่มีคลื่นต่าง ๆ กัน ถูกนำมาใช้ในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียด
3. ชุดตรวจเชื้อไข้หวัดนกทั้งที่เกิดในสัตว์และในคน ชุดตรวจนี้ตรวจพบเชื้อได้ภายใน 10 นาที มีความแม่นยำสูง

 


4. การนำสารกัมมันตรังสีและรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วตรวจด้วยเครื่องมือแสดงภาพอวัยวะ
5. การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ วัคซีน คือ สารที่ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเฉพาะอย่าง

เทคโนโลยีกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม
- เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบ คือ ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้เพื่อผลิตความร้อน

 

  


- เทคโนโลยีจากพลังงานลม อาศัยเทคโนโลยีกังหันลม

 


- เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เติมอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ เหมาะสำหรับแหล่งน้ำสาธารณะและแหล่งน้ำธรรมชาติ

 

 


เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตพลังงาน (ก๊าซชีวภาพ) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์ม

 


การนำเศษแก้วมารีไซเคิลใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตขวดแก้ว ช่วยลดพลังงานในการหลอมวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต

 


เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง กระบวนการสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่คนในท้องถิ่นพัฒนาขึ้น เช่น
- เทคโนโลยีท้องถิ่นด้านอาหารไทย

 

  

 

- เทคโนโลยีท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัย

 

  

 

- เทคโนโลยีท้องถิ่นด้านเครื่องนุ่งห่ม

 

  

 

- เทคโนโลยีท้องถิ่นในด้านการแพทย์แผนไทย

 

  


เทคโนโลยีนำเข้า
- เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

 

 

- เทคโนโลยีทางการแพทย์

 

 

- เทคโนโลยีชีวภาพ

 

 

- เทคโนโลยีการสื่อสาร การโทรคมนาคม และการขนส่ง

 


เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
1. การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ให้มีผลผลิตตลอดปี
2. การวิจัยและพัฒนาอาหารไทยให้มีคุณค่าทางโภชนาการ
3. การพัฒนาและส่งเสริมอาหารไทยเข้าสู่ระบบอาหารจานด่วน
4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงอาหารสำเร็จรูป
5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูป
6. การออกแบบและสร้างที่อยู่อาศัย
7. การส่งเสริมและพัฒนาผ้าพื้นเมืองเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก 
8. การส่งเสริมและพัฒนาแพทย์แผนไทยให้มีมาตรฐานมากขึ้น 

 

  


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th