บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีมีระดับ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 39.9K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Low Technology)
เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีที่คนในท้องถิ่นคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต โดยอาศัยความรู้หลักการทางธรรมชาติและประสบการณ์ที่สั่งสมกันมา
เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านที่น่าสนใจมีดังนี้
1. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านด้านการถนอมอาหาร
การทำให้แห้งโดยแสงอาทิตย์
ข้อดี คือ สะดวกและประหยัด ข้อเสีย คือ อาหารจะมีคุณภาพต่ำ มักปนเปื้อนฝุ่นละออง
2. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านด้านสิ่งทอ เส้นใยธรรมชาติ
3. เทคโนโลยีระดับพื้นฐานด้านการแพทย์แผนไทย วิธีการปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาโรคของคนไทย ประกอบด้วยการใช้สมุนไพรหัตถบำบัด
4. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านด้านการเกษตร

ปุ๋ย คือ วัสดุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือเกิดจากการสังเคราะห์
การปักชำ คือ
การตัดเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชพันธุ์ดีไปปักชำในวัสดุเพาะชำที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)
เทคโนโลยีระดับกลาง คือ เทคโนโลยีที่เกิดจากการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน ผู้ปรับปรุงและพัฒนาจะต้องมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับระบบการทำงานและกลไกต่าง ๆ ของเทคโนโลยีนั้น ๆ
เทคโนโลยีระดับกลางที่สำคัญมีดังนี้
1. เทคโนโลยีระดับกลางด้านการถนอมอาหาร ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
2. เทคโนโลยีระดับกลางด้านสิ่งทอ เส้นใยสังเคราะห์


 

3. เทคโนโลยีระดับกลางด้านการแพทย์แผนไทย เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญที่ได้จากพืช ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ
4. เทคโนโลยีระดับกลางด้านการเกษตร เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับปุ๋ยและการขยายพันธุ์พืช ได้แก่
ปุ๋ยหมัก เกิดจากการหมักโดยธรรมชาติ หรือการหมักโดยฝีมือมนุษย์



การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Plant Tissue Culture) คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดจากเชื้อ จนกระทั่งเติบโตเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์จึงนำไปปลูกในธรรมชาติ

เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
เทคโนโลยีระดับสูง คือ เทคโนโลยีที่เกิดจากประสบการณ์ในการใช้หรือแก้ปัญหาจากเทคโนโลยีระดับกลาง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีระดับกลางให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1. เทคโนโลยีระดับสูงด้านการถนอมอาหาร เป็นการถนอมอาหารโดยการฉายรังสี
2. เทคโนโลยีระดับสูงด้านสิ่งทอ
นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้าง และการวิเคราะห์วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก

 

 

3. เทคโนโลยีระดับสูงด้านการแพทย์ รูปแบบของยาสังเคราะห์

 

 

4. เทคโนโลยีระดับสูงด้านการเกษตร เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับปุ๋ยและการขยายพันธุ์พืช

 


เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาประเทศ ควรมีลักษณะดังนี้
1. เป็นเทคโนโลยีที่มีเครื่องจักรกลที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ราคาปานกลาง คนในท้องถิ่นสามารถซื้อได้
2. เป็นเทคโนโลยีแบบใช้แรงงานมากกว่าทุนเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน
3. เป็นเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการใช้และการบำรุงรักษา สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย แข็งแรง
4. เป็นเทคโนโลยีที่เข้ากันได้กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
5. เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เกิดการจัดการกันได้ภายในท้องถิ่น เกิดความเสมอภาค

 


ผลกระทบของเทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยีโดยไม่มีการควบคุมหรือใช้ไม่เหมาะสมจะส่งผลเสียต่อมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อชั้นบรรยากาศของโลกยอมให้รังสีความร้อนผ่านมายังผิวโลก ขณะเดียวกันก็จะสะท้อนกลับออกไปนอกบรรยากาศ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และต่อสุขภาพของมนุษย์
แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบของเทคโนโลยี มีดังนี้
1. การลดอัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิง โดยนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
2. การลดปริมาณก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เช่น ลดการตัดไม้ทำลายป่า
3. การยอมรับในสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลดการใช้น้ำมัน


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th