บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง สื่อสารดี บริการด่วน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 9.6K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การฟัง การเขียน การใช้ภาษา รวมถึงการจัดแสดง



ความหมายและองค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร
สาร ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สื่อในช่องทางการสื่อสาร การตอบกลับ
ประเภทของการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) การติดต่อสื่อสารทางตรง เช่น การเจรจาซื้อขาย
2) การติดต่อสื่อสารทางอ้อม เช่น การประกาศ

วัตถุประสงค์ของการติดต่อสื่อสาร
1) เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารหรือความรู้
2) เพื่อโน้มน้าวใจ เช่น การพูดโฆษณาสินค้า
3) เพื่อจรรโลงใจ เช่น การพูดยกย่องสดุดีวีรกรรมบุคคล เป็นต้น
4) เพื่อความบันเทิง เช่น การฟังเพลง การดูโทรทัศน์ การอ่านหนังสือนวนิยาย



ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร มี 2 แบบ ได้แก่
1. ภาษาที่เป็นถ้อยคำหรือวัจนภาษา ได้แก่ คำพูดและหนังสือหรือลายลักษณ์อักษร
2. ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา ได้แก่ การแสดงสีหน้า การแต่งกาย การใช้มือ

วิธีการติดต่อสื่อสาร
1. การติดต่อสื่อสารโดยการฟังและการดู
การฟัง คือ การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน การดู คือ การรับรู้ทาง
จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู
เพื่อติดต่อสื่อสาร เพื่อรับความรู้ เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อคติชีวิตและความจรรโลงใจ
มารยาทในการดูและการฟัง หมายถึง
การมีกิริยาสุภาพเรียบร้อยในขณะที่กำลังฟังหรือดู

2. การติดต่อสื่อสารโดยการพูด
การพูด คือ การส่งสารด้วยเสียง โดยมีคำพูดเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก
จุดมุ่งหมายของการพูด มีดังนี้
เพื่อให้ข่าวสาร สร้างความสนใจ เพื่อการสนับสนุน หรือสร้างความเชื่อถือ ศรัทธา

มารยาทในการพูด มีดังนี้
มีกิริยาท่าทางสำรวม หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ไม่พูดยาวหรือสั้นเกินไป ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3. การติดต่อสื่อสารโดยการเขียน
การเขียน คือ การถ่ายทอดด้วยลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารได้ข้าใจความประสงค์นั้น ๆ
ประเภทของการเขียน
แบ่งออกเป็น
การเขียนเพื่อกิจธุระ การเขียนเชิงวิชาการ การเขียนเชิงสร้างสรรค์
มารยาทในการเขียน มีดังนี้
1) ใช้คำถูกต้อง อ่านเข้าใจง่าย
2) เขียนด้วยความรับผิดชอบ
3) เขียนด้วยความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง
4) ไม่ควรเขียนเพื่อทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน
5) ไม่ควรเขียนเรื่องที่ตนเองไม่มีความรู้หรือรู้ไม่จริง
6) ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าของข้อมูลเดิม

4. การติดต่อสื่อสารโดยการอ่าน
การอ่าน
การอ่านต้องอาศัยความรู้ รวมถึงความสามารถในการตีความ
ประเภทของการอ่าน
อาจแบ่งได้ดังนี้
การอ่านเก็บความรู้ อ่านเอาเรื่อง อ่านวิเคราะห์ อ่านตีความ และอ่านขยายความ

การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
1. ความรู้ของผู้ส่งสาร
2. ความคิดของผู้ส่งสาร
3. การส่งสารให้ตรงประเด็น
4. การลำดับความในสาร
5. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
6. ความตั้งใจและความสนใจของผู้รับสาร

การติดต่อสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยี
โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร หรือแฟกซ์ ระบบอินเทอร์เน็ต
ปัจจัยที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร มีดังนี้
1) เป็นมาตรฐาน ทำมีศักยภาพที่จะทำให้อุปกรณ์แทบทุกชนิดติดต่อกันได้
2) เป็นการเชื่อมโยง มี ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้ติดต่อกันโดยตรง
3) สามารถสื่อสารได้อย่างกว้างขวาง ถึงแม้จะอยู่ที่ใดก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
4) มีความรวดเร็ว โดยใช้ระบบการประชุมทางไกล แทนการเดินทางไปประชุมด้วยตนเอง
5) สนับสนุนการสื่อสารแบบสองทาง เช่น ส่งข้อความสอบถามไปยังผู้ผลิตหรือคนกลาง โดยผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) 

คำสำคัญ
การติดต่อสื่อสาร วัจนภาษา อวัจนภาษา วิธีการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th