กฎ-กติกา-ข้อบังคับในการแข่งขันเจ็ตสกี
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 24.5K views



กฎ-กติกา-ข้อบังคับในการแข่งขันเจ็ตสกี

ข้อมูลเผยแพร่ : การแข่งขันกีฬาเจ็ตสกี ประจำปี 2550 ที่มา : สมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย

 

1. ระดับขั้นของนักกีฬา

• ‘BEGINNER’ – นักกีฬาในขั้นเริ่มต้น 
• ‘NOVICE’ – นักกีฬาระดับมือใหม่ที่มีประสบการณ์แล้ว
• ‘EXPERT’ – นักกีฬาระดับกึ่งอาชีพ
• ‘PRO’ – นักกีฬาระดับมืออาชีพในบางกรณี การแข่งขันจะอนุญาตให้นักกีฬาลงแข่งรวมขั้นกันได้
• ‘AMATEUR’ – นักกีฬาที่รวมขั้นระหว่าง NOVICE และ EXPERT 
• ‘PRO-AM’ – นักกีฬาที่รวมขั้นระหว่าง EXPERT และ PRO

 

2. ประเภทของเรือเจ็ตสกี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
• ‘SKI’ – เรือเจ็ตสกีแบบยืน 
• ‘SPORT’ – เรือเจ็ตสกีแบบสปอร์ต (ผสมระหว่างเรือยืนและเรือนั่ง)
• ‘RUNABOUT’ – เรือเจ็ตสกีแบบนั่ง

 

3. ขนาดของเครื่องยนต์แข่งขัน (ซีซี) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
• เครื่องยนต์ 800 ซีซี – 2 จังหวะ
• เครื่องยนต์ 1200 ซีซี – 2 จังหวะปัจจุบันมีการผลิตเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ~1600 ซีซี แต่ยังคงถูกจัดลงแข่งอยู่ในประเภท1200 ซีซี – 2 จังหวะ

 

4. ระดับของการปรับแต่งเครื่องยนต์แข่งขัน มี 4 ประเภท คือ                  

• รุ่น ‘STOCK’ คือ โดยรวมแล้วเรือเจ็ตสกีจะต้องเป็นอุปกรณ์มาตรฐานเดิมจากโรงงาน
• รุ่น ‘LIMITED’ คือ โดยรวมสามารถเปลี่ยนอุปกรณ์-อะไหล่ แต่ไม่สามารถ MODIFIED ได้
• รุ่น ‘OPEN’ คือ โดยรวมสามารถเปลี่ยนอุปกรณ์-อะไหล่ และ MODIFIED ได้
• รุ่น ‘MODIFIED’ คือ สามารถ MODIFIED ได้อย่างเต็มที่ ภายใต้กฏการแข่งขันที่ปลอดภัย

รายละเอียดในการแต่งเครื่องยนต์รุ่นต่างๆ อยู่ในหนังสือกฎการแข่งขัน “IJSBA RULE BOOK” ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

 

5. การแข่งขันชนิดต่างๆ มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ประกอบด้วย
• ‘CLOSED COURSE’ – การแข่งขันที่หาผู้ชนะจากผู้ที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับแรก
• ‘SLALOM’ – การแข่งขันแบบจับเวลา
• ‘FREE STYLE’ – การแข่งขันแสดงท่าทาง
• ‘ENDURANCE’ – การแข่งขันระยะทางไกล


6. การเรียกชื่อรุ่นการแข่งขัน ‘CLOSED COURSE’ ชื่อรุ่นการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เช่น: รุ่น ‘PRO RUNABOUT 800 OPEN’ คือ รุ่นนักแข่งระดับมืออาชีพ เรือเจ็ตสกีประเภทนั่งเครื่องยนต์ 800 ซีซี แต่งเครื่องยนต์แบบ OPEN

 

7. กติกาและขั้นตอนของการแข่งขัน ‘CLOSED COURSE’การแข่งขันในแต่ละครั้ง จะจำกัดจำนวนเรือแข่งมากที่สุด 12 ถึงไม่เกิน 18 ลำ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ RACE DIRECTOR ในการแข่งขันรุ่นนั้นๆ กรณีที่มีผู้สมัครเข้าแข่งขันจำนวนมากกว่า 18 คน หรือจำนวนที่กำหนด จะแบ่งกลุ่มทำการแข่งขันในรอบคัดตัว (Qualifier) โดยมีรูปแบบการแข่งขันดังนี้

ยกตัวอย่าง มีนักกีฬาสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน 24 คน ต้องแข่งขันรอบสุดท้าย 18 คน
• การแข่งขันรอบคัดตัว จะแบ่งนักกีฬาออกเป็น 2 กลุ่ม (HEAT) กลุ่มละ 12 คน คัดนักกีฬาลำดับที่ 1 – 8 ของแต่ละกลุ่มเข้าสู่รอบสุดท้าย = มีนักกีฬาผ่านเข้ารอบแล้ว 16 คนนักกีฬาที่ตกรอบยังมีโอกาสอีกครั้งในการคัดตัว ‘LCQ.’ (Last Chance Qualifier)
• การแข่งขัน LCQ จะรวมนักกีฬาที่ไม่ผ่านเข้ารอบกลุ่มละ 4 คน มาคัดนักกีฬาลำดับที่ 1 – 2 (จาก 8 คน) ผ่านเข้ารอบเป็นโอกาสสุดท้ายรวม ‘HEAT’ และ ‘LCQ’ มีนักกีฬาผ่านเข้ารอบ 18 คน
• การแข่งขันรอบสุดท้าย (MOTO) จะเป็นการแข่งขันแบบสะสมคะแนน (ดูได้จากตารางคะแนน)ส่วนมากจะแข่งสะสมคะแนนรวมขั้นต่ำ 2 ครั้ง แต่ไม่เกิน 4 ครั้ง (2 – 4 MOTO)


8. การเข้าประจำตำแหน่ง ‘STARTING GATE’ : การแข่งขันครั้งแรก (MOTO 1) ของรุ่นที่ 1 นักกีฬาจะต้องนำเรือมารายงานตัว และทำการจับฉลากตำแหน่ง Start ด้วยตนเอง ก่อนเริ่มต้นการแข่งขัน รุ่นต่อๆไป ให้นักกีฬานำเรือมารายงานตัว ภายใน 2 นาที หลังจากรุ่นก่อนหน้าผ่านครึ่งทางแล้ว(ดูรายละเอียดหัวข้อสัญญาณธง) การแข่งขัน MOTO หลังจากนั้น นักกีฬาที่มีผลการแข่งขัน MOTO ก่อนหน้าที่ดีกว่า จะได้สิทธิในการรายงานตัว และเลือกตำแหน่ง Start ก่อน- นักกีฬาที่ไม่ได้มารายงานตัว และเลือกตำแหน่ง Start ในขณะที่เป็นลำดับของตนเอง จะถูกปรับให้เลือกตำแหน่ง Start ในลำดับสุดท้าย- นักกีฬาที่ไม่ได้มารายงานตัว และเลือกตำแหน่ง Start หลังจากการรายงานตัวเสร็จสิ้นลงภายในเวลา 2 นาที จะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขันใน MOTO นั้นๆ

9. การปล่อยตัว : เรือแข่งจะต้องเรียงแถวหน้ากระดานอยู่ใน Starting Gate และจะต้องปฏิบัติ ตามกติกาดังต่อไปนี้

     9.1 กรรมการจะให้สัญญาณปล่อยตัว โดยจะยกป้ายหมายเลข ‘2’, และทำสัญญาณ ‘หมุนธง’ เป็นการอนุญาตให้ติดเครื่องยนต์ ในช่วงนี้หากนักกีฬาผู้ใดมีปัญหา เช่น เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด หรืออุปกรณ์ต่างๆขัดข้องฉุกเฉิน ให้นักกีฬาชูมือขึ้นเพื่อที่จะขอเวลานอก ในขณะเดียวกันกรรมการจะชี้ธงไล่ไปตามลำดับ และชี้ธงไปยังเรือที่ล้ำเส้นเชือกออกมา ให้ถอยหลังกลับไป ถ้าไม่มีนักกีฬาผู้ใดมีปัญหา กรรมการจะพลิกป้ายสัญญาณเป็นหมายเลข ‘1’และ ‘พลิกป้ายขวาง’ เป็นสัญญานดีดเชือก ‘รับเบอร์แบน’ ปล่อยตัว
     9.2 หากมีเรือลำใด ออกจากจุดปล่อยตัวไปก่อนที่เส้นยาง ‘รับเบอร์แบน’ จะดีด ถือว่าเป็นการทำผิดกติกา (Jump Start) จะต้องยกเลิกการแข่งขัน ซึ่งกรรมการจะยกธงแดง และให้นักกีฬานำเรือวิ่งตามลู่กลับมาทำการปล่อยตัวใหม่อีกครั้ง สำหรับนักกีฬาที่ทำผิดกติกา จะถูกปรับให้ไปยืนอยู่ด้านหลังของเรือ พร้อมถอดกุญแจเรือถือไว้กับตัว ขณะที่มีผู้จับเรือได้เพียง 1 คน และเมื่อเรือลำอื่นถูกปล่อยตัวแล้ว นักกีฬาที่ถูกปรับ จะต้องรอสัญญาณจากกรรมการ จึงสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ออกไปได้ หากนักกีฬาดังกล่าวไม่ปฎิบัติตามกติกา หรือทำผิดกติกาในข้ออื่นๆอีก อาจจะถูกเชิญให้ออกจากการแข่งขัน

     9.3 การวิ่งเข้าสู่ช่วง ‘HOLE SHOT’ : เมื่อนักกีฬาออกจากเส้นปล่อยตัวไปแล้ว และไม่มีการทำผิดกติกาใดๆ ห้ามมิให้นักกีฬาขับขี่ข้ามเลนของตนเอง หรือ ‘Crossing lane’ นักกีฬาที่ทำผิดกติกาในข้อนี้ อาจได้รับการลงโทษโดยการจับ ‘Jump Start’ หรือ การลงโทษขั้นสูงสุด คือ ถูกเชิญให้ออกจากการแข่งขัน โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ RACE DIRECTIOR

     9.4 การเข้า ‘HOLE SHOT’ นักกีฬาใน GATE ซ้าย และขวาจะต้องวิ่งมุ่งหน้าเข้าทุ่น HOLE SHOT ในเส้นทางของตนเองเท่านั้น โดยเรือที่อยู่ในจุดสตาร์ทตั้งแต่ช่องเลนที่ 2 ไป จะต้องเปิดช่องซ้ายสุดไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ช่องเลนเสมอ และเลี้ยวซ้ายวิ่งตามเส้นทางบังคับ เมื่อผ่านกลับมาหน้ากรรมการ ถือเป็นการวิ่งผ่านรอบที่ 1 (โดยปกติจะแข่งประมาณ 8 – 12 รอบ)3.2 นักกีฬาใน GATE ขวา ทั้งหมด ช่วงรอบที่ 1 จะต้องใช้เส้นทาง ด้านนอกเท่านั้น3.3 นักกีฬาใน GATE ซ้าย ทั้งหมด ช่วงรอบที่ 1 จะต้องใช้เส้นทาง ด้านในเท่านั้น(หมายเหตุ - รูปแบบเส้นทางแข่งขันปกติ ดูได้จากเอกสาร ‘ I ’)(และสนามแข่งขันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสภาพของสถานที่)


10. กติกาสนามแข่งขัน : นักกีฬาทุกคนจะต้องแข่งขันโดยขับขี่ตามเส้นทางบังคับที่กำหนด(ทุ่นแดง – เลี้ยวซ้าย, ทุ่นเขียว – เลี้ยวขวา) หากนักกีฬาคนใดเลี้ยวผิด หรือ ขับขี่ลัดทุ่นจะต้องวนกลับมาขับขี่ในเส้นทางที่ถูกต้อง โดยให้ทางแก่เรือที่ขับขี่ตามมาอย่างกระชั้นชิดแซงไปก่อน (บางสนาม RACE DIRECTOR ห้ามวนกลับในทุ่นที่เลี้ยวผิด แต่จะวางทุ่นพิเศษ เพื่อให้นักกีฬาที่ขับขี่ลัดทุ่น วิ่งไปอ้อมเพื่อแก้ไขการลัดทุ่นในรอบนั้นๆ) และหากนักกีฬาขับขี่ขวางเส้นทางดังกล่าว ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตราย จะได้รับการลงโทษอย่างสูงสุด คือ การเชิญให้ออกจากการแข่งขัน ส่วนสำหรับนักกีฬาที่ขับขี่ต่อไปโดยไม่วนกลับมาในเส้นทางที่ถูกต้อง หรือไม่ได้ไปเข้าทุ่นพิเศษ ในรอบนั้นๆ (ถ้ามี) ถือว่าได้ทำผิดกติกา และจะถูกลงโทษโดยการตัด 1 รอบการแข่งขัน ต่อการลัดทุ่น 1 จุด เช่น ทั้งหมดทำการแข่งขัน 10 รอบสนาม นักกีฬาที่ขับขี่แม้จะเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 1 แต่ได้ลัดทุ่น 2 จุด จะโดนตัด2 รอบสนาม เท่ากับทำการแข่งขันเพียง 8 รอบเท่านั้น ในขณะที่นักกีฬาอื่นๆ แข่งครบ 10 รอบ ทำให้มีตำแหน่งสุดท้ายทันที


11. กติการะหว่างการแข่งขัน :
     11.1 การถูกน็อครอบ – จะต้องหลีกทางให้เรือของนักกีฬาที่กำลังน็อครอบผ่านไปก่อน
     11.2 กรณีเรือหมุน – จะต้องให้ทางแก่เรือที่ตามมาอย่างกระชั้นชิดไปก่อน และพยายามกลับมาในทิศทางเดิมเพื่อแข่งขันต่อไป
     11.3 การที่จะนำเรือเข้าสู่เลนด้านใน – ต้องไม่เป็นการปาดตัดหน้าเรือนักกีฬาลำอื่นอย่างกระชั้นชิด
     11.4 กรณีนักกีฬาตกน้ำ – จะต้องแสดงสัญญาณมือโดยการชูมือขึ้นเหนือศีรษะ เพื่อแสดงว่าไม่ได้รับบาดเจ็บ และต้องการจะทำการแข่งขันต่อไป

หมายเหตุ : นักกีฬาที่มีอายุระหว่าง 14 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี การลงแข่งขันจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปกครอง จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันได้


12. สัญญาณธงในการแข่งขัน ‘CLOSED COURSE’
• สัญญาณการหมุนธง ณ จุดสตาร์ต หมายถึง การอนุญาตให้ติดเครื่องยนต์
• สัญญาณการชี้ธงไปยังนักกีฬา ณ จุดสตาร์ต หมายถึง เรือลำดังกล่าวกำลังทำผิดกติกาอยู่
• ธงสีแดง หมายถึง ยกเลิกการแข่งขัน เช่น อาจมีนักกีฬาทำผิดกติกา หรือ มีอุปสรรคต่อการแข่ง ให้นักกีฬาทั้งหมดลดความเร็ว และขับขี่ตามลู่แข่งขันกลับมายังจุดปล่อยตัว
• ธงสีเขียว หมายถึง ดำเนินการแข่งขันต่อไป
• ธงสีเหลือง หมายถึง มีอุบัติเหตุอยู่ข้างหน้า ให้นักกีฬาลดความเร็ว และขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ห้ามมีการแซงในช่วงดังกล่าว นักกีฬาคนใดฝ่าฝืนจะถูกตัด 1 รอบสนาม
• การไขว้ธงเครื่องหมายกากบาท หมายถึง การแข่งขันได้ผ่านมาแล้วครึ่งทาง ยังเหลือระยะทางอีกครึ่งหนึ่งที่จะต้องทำการแข่งขันต่อไป
• ธงสีน้ำเงิน หมายถึง มีนักกีฬาที่ขับขี่ ‘น๊อครอบ’ ตามมาด้านหลัง จะต้องหลีกทางให้
• ธงสีดำ หมายถึง การเชิญให้ออกจากการแข่งขัน
• ธงขาว หมายถึง เหลือระยะทางอีกเพียง 1 รอบ จะถึงเส้นชัย• ธงหมากรุก หมายถึง การเข้าเส้นชัย


13. กติกาและลักษณะหลักของแผนผังสนาม ‘CLOSED COURSE’ (ปกติ)

• นักกีฬาในประตูซ้าย – ในช่วงรอบที่ 1 ต้องวิ่งเส้นทางด้านใน (ทุ่น 1 – 9)
• นักกีฬาในประตูขวา – ในช่วงรอบที่ 1 ต้องวิ่งเส้นทางด้านนอก (ทุ่น 10 – 20 ยกเว้น ทุ่น 15, 19)
• หลังจากผ่านรอบที่ 1 นักกีฬาสามารถเลือก OPTION ใน (ทุ่น 6 - 9) หรือ OPTION นอก (ทุ่น 15 – 20 ยกเว้น ทุ่น 19) ก็ได้
• สนามแข่งขันอาจจะเปลี่ยนรูปแบบ แต่รูปแบบรอบที่ 1 และ ‘OPTION’ จะยังคงเหมือนเดิม


14. การคิดคะแนน และเครื่องหมายในการคิดคะแนน ‘CLOSED COURSE’
     14.1 การแข่งขัน ‘CLOSED COURSE’ จะทำการแข่งขันในระบบ ‘MOTO’ คือ การรวมคะแนนจากการแข่งขันที่เป็น ‘MOTO’ เท่านั้น ไม่รวมถึงการคัดตัวรอบ ‘HEAT” และ ‘LCQ’ และสำหรับคะแนนของการแข่งขันในแต่ละ MOTO จะได้จากตำแหน่งในการเข้าเส้นชัย ซึ่งได้มีการกำหนดคะแนนไว้ตายตัว (ดูได้จากตารางคะแนน)
     14.2 นักกีฬาที่ไม่เข้าร่วมการแข่งขันใน ‘MOTO’ นั้นๆ จะได้รับเครื่องหมาย "DNR" ได้คะแนน "0"
     14.3 เรือทุกลำต้องวิ่งผ่าน GATE START, ผ่านหน้ากรรมการ และได้รับการตีธงเขียวจากกรรมการถ้าเรือที่เข้าร่วมการแข่งขัน แต่ไม่ได้รับการตีธงเขียวจากกรรมการ ได้คะแนน “0”
     14.4 นักกีฬาที่ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ผ่าน GATE ไปได้ และเรือที่นำมาวิ่งผ่านไปเกินรอบที่ 3 จะถูกตัดสิทธิ์ในการลงแข่ง MOTO นั้นๆ
     14.5 นักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขัน แต่ไม่สามารถวิ่งผ่านธงตราหมากรุกได้ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม จะได้รับเครื่องหมาย “DNF” (จะได้รับตำแหน่งเท่ากับจำนวนเรือใน MOTO นั้นทั้งหมด บวก 2)
     14.6 นักกีฬาที่ขับขี่ลัดทุ่น (MIS BUOY) "MB" และไม่ทำการแก้ไข จะถูกตัดคะแนน 1 รอบ ต่อ 1 ทุ่น
     14.7 นักกีฬาที่ขับขี่อันตราย (DANGEROUS RIDING) จะได้รับเครื่องหมาย "DR" อาจถูกลงโทษโดยการตัดคะแนน หรือการเชิญให้ออกจากการแข่งขัน
     14.8 กรณีที่นักกีฬาทำผิดกติกาใดๆ ในส่วนต่างๆ อาจจะโดนลงโทษตัดคะแนนศูนย์ หรือเชิญให้ออกจากการแข่งขัน แล้วแต่กรณี และความรุนแรงของความผิด ในส่วนของการ ‘DISQUALIFY’ ซึ่งจะได้รับเครื่องหมาย "DQ" (มี 2 ชนิด คือ เฉพาะ "MOTO" และ "ตลอดทั้งการแข่งขัน")
     14.9 การตัดคะแนนเฉพาะ "MOTO" จะใช้เครื่องหมาย "DQM"
     14.10 การตัดคะแนนตลอดทั้งการแข่งขัน จะใช้เครื่องหมาย "DQT"

 

ตารางเทียบคะแนน

ตำแหน่งที่เข้าเส้นชัย คะแนน ตำแหน่งที่เข้าเส้นชัย คะแนน
1 60 11 22
2 53 12 20
3 48 13 18
4 43 14 16
5 39 15 14
6 36 16 12
7 33 17 10
8 30 1 8
9 27 19 6
10 24 20 4


15. การประท้วง (PROTEST)
• การประท้วงของนักกีฬาแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
     1. การประท้วงอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับภายในเครื่องยนต์ค่าประท้วง 2,000 บาท (ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท, ค่าประกัน 1,000 บาท)
     2. การประท้วงภายในเครื่องยนต์ค่าประท้วง 5,000 บาท (ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท, ค่าประกัน 4,000 บาท)
หมายเหตุ : ค่าประกันจะให้ หรือคืนแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่เป็นฝ่ายชนะในการประท้วง: กรณีที่มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการประท้วงกรณีนั้นๆ เกินกว่าเงินประกันและการประท้วง ‘ไม่เป็นผล’ ผู้ประท้วงจะต้องชดใช้ค่าซ่อมที่เกินตามความเป็นจริง: ค่าธรรมเนียมในการประท้วงเป็นของสมาคมฯ 
• การประท้วงจะมีผลเมื่อได้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
     1. การประท้วงกระทำโดยผู้จัดการทีมเท่านั้น
     2. การประท้วงจะมีผล เมื่อกรรมการฝ่ายรับเรื่องประท้วง ได้รับการประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมด้วยค่าประท้วงแล้วเท่านั้น
     3. MOTO 1 – 3 จะต้องยื่นเรื่องภายใน 30 นาที หลังประกาศผลบนบอร์ดอย่างเป็นทางการMOTO 4 หรือ MOTO สุดท้าย จะต้องยื่นเรื่องก่อนจบการแข่งขันรุ่นนั้นๆและสำหรับการตรวจสอบผลใน MOTO 4 หรือ MOTO สุดท้าย จะมีเวลา 10 นาทีหลังประกาศผลบนบอร์ดอย่างเป็นทางการ


16. การตัดสินการแข่งขันของ RACE DIRECTOR
• การตัดสินของ RACE DIRECTOR ถือเป็นที่สิ้นสุด


ขอขอบคุณข้อมูลจากสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย