เวลาและปฏิทิน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 73.8K views



เวลาและปฏิทิน

หลักการนับเวลาของไทย

     การนับเวลาที่นิยมใช้ในประเทศไทยดังกล่าวมาแล้ว  ในปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ทั้ง 2 แบบ  คือ
          1.  การนับเวลาแบบจันทรคติ
               การนับเวลาแบบจันทรคติ  เป็นการนับเวลาโดยยึดเอาการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เป็นหลัก  ซึ่งวันทางจันทรคติเรียกว่า  ข้างขึ้น  ข้างแรม
               ข้างขึ้น  คือ  วันที่ดวงจันทร์ค่อย ๆ สว่างขึ้น  เริ่มนับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ  วันขึ้น 2 ค่ำ  เรื่อยไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ  ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง
               ข้างแรม  คือ  วันที่ดวงจันทร์ค่อย ๆ มืดลง  เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ  วันแรม 2 ค่ำ  เรื่อยไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำ  ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์มืดเต็มดวง
          จากประวัติความเป็นมาในอดีต  ประเทศไทยใช้การนับเวลาแบบจันทรคติ  ซึ่งมีวิธีเขียนโดยใชช้สัญลักษณ์  และมีวิธีการอ่าน  เช่น

อ่านว่า  วันอาทิตย์  เดือน 6  ขึ้น 15 ค่ำ





อ่านว่า  วันอาทิตย์  เดือน 6  แรม 15 ค่ำ

 วิธีเขียนบอกวันทางจันทรคติแบบนี้  มีความหมาย  ดังนี้
               เลขตัวแรก  หมายถึง  วันใน 1 สัปดาห์  เริ่มนับวันแรก  คือ  วันอาทิตย์
               เลขที่อยู่ล่างเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)  หมายถึง  ข้างขึ้น
               เลขตัวสุดท้าย  หมายถึง  เดือน

          2.  การนับเวลาแบบสุริยคติ
               การนับเวลาแบบสุริยคติ  เป็นการนับเวลาที่ถือเป็นเวลาสากล  และนิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน  เป็นเวลานับาเวลาโดยยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นหลัก  ดังนี้
               ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ  เท่ากับ 1 วัน
               ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ  เท่ากับ 365.25 วัน  หรือ 365 วัน 6 ชั่วโมง  ทุก 1 ปี  จะมีเศษวันเหลืออยู่ 0.25 วัน  เมื่อครอบ 4 ปี  ก็จะเท่ากับ  1 วันพอดี  จึงเพิ่มวันเข้าไปในเดือนกุมภาพันธ์  ดังนั้นทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์   จึงมี 29 วัน  และในปีนั้น จะมี 365 วัน

 การนับวันทางสุริยคติ  เช่น  วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551  วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551  เป็นต้น
               การนับเวลาทั้งสองแบบนี้ยังมีใช้กันอยู่ทั่วไป  สำหรับประเทศไทย  มีการนับเวลาทั้งสองแบบ  แต่ในอดีตนิยมใช้การนับเวลาแบบจันทรคติ  และนับวันเป็นข้างขึ้น  ข้างแรม  เรียกชื่อเดือนแบบง่าย ๆ ว่าเดือนอ้าย  (เดือนหนึ่ง)  เดือนยี่  (เดือนสอง)  เดือนสาม  เดือนสี่  จนถึงเดือนสิบสอง  นับปีตามปีนักษัตร   เช่น  ปีชวด  ปีฉลู  ปีขาล  ปัจจุบันประเทศไทยนิยมใช้การนับเวลาแบบสุริยคติมากกว่า  ซึ่งเห็นได้จากชีวิตประจำวันของเรา  เช่น
               -  วันเสาร์ที่ 12 มกราคม  พ.ศ. 2551  เป็นวันเด็ก
               -  วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์  เป็นวันเกิดของฉัน
               ส่วนการนับช่วงเวลาทางจันทรคติจะนิยมใช้ในเรื่องเกี่ยวกับวันทางพระพุทธศาสนา  วัฒนธรรมประเพณี  เช่น
               -  วันมาฆบูชา  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 3
               -  วันวิสาขบูชา  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 6

 ที่มา: https://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1433-00/