คำสมาส คำสนธิ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 1.1M views



คำสมาส คำสนธิ

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย 
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป 
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น) 
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา,ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน 
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ) 
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

 

ประวัติศาสตร์

อ่านว่า

ประ –หวัด –ติ –ศาสตร์

นิจศีล

อ่านว่า

นิจ –จะ –สีน

ไทยธรรม

อ่านว่า

ไทย –ยะ –ทำ

อุทกศาสตร์

อ่านว่า

อุ –ทก –กะ –สาด

อรรถรส

อ่านว่า

อัด –ถะ –รด

จุลสาร

อ่านว่า

จุน –ละ –สาน

 

9. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์ 

       ข้อสังเกต
1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น

 

เทพเจ้า

(เจ้า เป็นคำไทย)

พระโทรน

(ไม้ เป็นคำไทย)

พระโทรน

(โทรน เป็นคำอังกฤษ)

บายศรี

(บาย เป็นคำเขมร)

 

2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น

 

ประวัติวรรณคดี

แปลว่า

ประวัติของวรรณคดี

นายกสมาคม

แปลว่า

นายกของสมาคม

วิพากษ์วิจารณ์

แปลว่า

การวิพากษ์และการวิจารณ์

 

3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น

 

ปรากฏ

อ่านว่า

ปรา –กด –กาน

สุภาพบุรุษ

อ่านว่า

สุ –พาบ– บุ –หรุด

สุพรรณบุรี

อ่านว่า

สุ –พรรณ– บุ –รี

สามัญศึกษา

อ่านว่า

สา –มัน –สึก –สา

  

ตัวอย่างคำสมาส

  

ธุรกิจ

กิจกรรม

กรรมกร

ขัณฑสีมา

คหกรรม

เอกภพ

กาฬทวีป

สุนทรพจน์

จีรกาล

บุปผชาติ

ประถมศึกษา

ราชทัณฑ์

มหาราช

ฉันทลักษณ์

พุทธธรรม

วรรณคดี

อิทธิพล

มาฆบูชา

มัจจุราช

วิทยฐานะ

วรรณกรรม

สัมมาอาชีพ

หัตถศึกษา

ยุทธวิธี

วาตภัย

อุตสาหกรรม

สังฆราช

รัตติกาล

วสันตฤดู

สุขภาพ

อธิการบดี

ดาราศาสตร์

พุพภิกขภัย

สุคนธรส

วิสาขบูชา

บุตรทาน

สมณพราหมณ์

สังฆเภท

อินทรธนู

ฤทธิเดช

แพทย์ศาสตร์

ปัญญาชน

วัตถุธรรม

มหานิกาย

มนุษยสัมพันธ์

วิทยาธร

วัฏสงสาร

สารัตถศึกษา

พัสดุภัณฑ์

เวชกรรม

เวทมนตร์

มรรคนายก

อัคคีภัย

อุดมคติ

เอกชน

ทวิบาท

ไตรทวาร

ศิลปกรรม

ภูมิศาสตร์

รัฐศาสตร์

กาฬพักตร์

ราชโอรส

ราชอุบาย

บุตรทารก

ทาสกรรมกร

พระหัตถ์

พระชงฆ์

พระพุทธ

พระปฤษฏางค์

วิทยาศาสตร์

กายภาพ

กายกรรม

อุทกภัย

วรพงศ์

เกษตรกรรม

ครุศาสตร์

ชีววิทยา

มหกรรม

อัฏฐางคิกมรรค

มหาภัย

อุบัติเหตุ

กรรมกร

สันติภาพ

มหานคร

จตุปัจจัย

  

คำสนธิ คือการสมาสโดยการเชื่อมคำเข้าระหว่างพยางค์หลังของคำหน้ากับพยางค์หน้าของคำหลัง เป็นการย่ออักขระให้น้อยลงเวลาอ่านจะเกิดเสียงกลมกลืนเป็นคำเดียวกัน

       หลักสังเกตคำสนธิในภาษาไทย 
การสนธิแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. สระสนธิ 2. พยัญชนะสนธิ 3. นฤคหิตสนธิ 
       1. สระสนธิ คือการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นค้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระตามกฏเกณฑ์ 
       - ตัดสระพยางค์ท้ายคำหน้า แล้วใช้สระพยางค์หน้าคำหลัง เช่น

ราช อานุภาพ

=

ราชานุภาพ

สาธารณ อุปโภค

=

สาธารณูปโภค

นิล อุบล

=

นิลุบล

       - ตัดสระพยางค์ท้านคำหน้า และใช้สระพยางค์ต้นของคำหลัง โดยเปลี่ยนสระพยางค์ต้นของคำหลัง

อะ

เป็น

อา

อิ

เป็น

เอ

อุ

เป็น

อู

อุ, อู

เป็น

โอ

      เช่น

พงศ อวตาร

=

พงศาวตาร

ปรม อินทร์

=

ปรเมนทร์

มหา อิสี

=

มเหสี

     - เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นพยัญชนะ คือ

อิ อี

เป็น

อุ อู

เป็น

      ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังซึ่งอาจเปลี่ยนรูปหรือไม่เปลี่ยนรูปก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้นของคำหลังไม่ใช่ อิ อี อุ อู อย่างสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น

กิตติ อากร

=

กิตยากร

สามัคคี อาจารย์

=

สามัคยาจารย์

ธนู อาคม

=

ธันวาคม

      คำสนธิบางคำไม่เปลี่ยนสระ อิ อี เป็น ย แต่ตัดทิ้ง ทั้ง สระพยางค์หน้าคำหลังจะไม่มี อิ อี ด้วยกัน เช่น

ศักคิ อานุภาพ

=

ศักดานุภาพ

ราชินี อุปถัมภ์

=

ราชินูปถัมภ์

หัสดี อาภรณ์

=

หัสดาภรณ์

      2. พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะเป็นการเชื่อมเสียง พยัญชนะในพยางค์ท้ายของคำแรกกับเสียงพยัญชนะหรือสระในพยางค์แรก ของคำหลัง เช่น
      -สนธิเข้าด้วยวิธี โลโป คือลบพยางค์สุดท้ายของคำหน้าทิ้ง เช่น

นิรส ภัย

=

นิรภัย

ทุรส พล

=

ทุรพล

อายุรส แพทย์

=

อายุรแพทย์

      -สนธิเข้าด้วยวิธี อาเสโท คือแปลงพยัญชนะท้ายของคำหน้า เป็นสระ โอ แล้วสนธิตามปกติ เช่น

มนส ภาพ

=

มโนภาพ

ยสส ธร

=

ยโสธร

รหส ฐาน

=

รโหฐาน

      3. นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำด้วยนฤคหิต เป็นการเชื่อมเมื่อพยางค์หลังของคำแรกเป็นนฤคหิตกับเสียงสระในพยางค์แรกของคำหลัง มี 3 วิธี คือ 
      1. นฤคหิตสนธิกับสระ ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็น ม แล้วสนธิกัน 
           เช่น สํ อาคม = สม อาคม = สมาคม 
                  สํ อุทัย = สม อุทัย = สมุทัย 
      2. นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะของวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของพยัญชนะในแต่ละวรรค ได้แก่
                  วรรคกะ เป็น ง 
                  วรรคจะ เป็น ญ 
                  วรรคตะ เป็น น 
                  วรรคฏะ เป็น ณ 
                  วรรคปะ เป็น ม 
           เช่น สํ จร = สญ จร = สัญจร  

              สํ นิบาต = สน นิบาต = สันนิบาต 
      3. วรรคกะ เป็นสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ง 
          เช่น สํ สาร = สงสาร 
                  สํ หรณ์ = สังหรณ์

 

 

ตัวอย่างคำสนธิ

 

นครินทร์

ราโชวาท

ราชานุสรณ์

คมนาคม

ผลานิสงส์

ศิษยานุศิษย์

ราชินยานุสรณ์

สมาคม

จุลินทรีย์

ธนคาร

มหิทธิ

นภาลัย

ธนาณัติ

สินธวานนท์

หิมาลัย

ราชานุสรณ์

จุฬาลงกรณ์

มโนภาพ

รโหฐาน

สงสาร

หัสดาภรณ์

จักขวาพาธ

หัตถาจารย์

วัลยาภรณ์

นโยบาย

อินทรธิบดี

มหัศจรรย์

มหรรณพ

มหานิสงส์

ดรุโณทยาน

ภยาคติ

บรรณารักษ์

เทพารักษ์

ทันตานามัย

วโรดม

สินธวาณัติ

ศิลปาชีพ

ปรเมนทร์

ทุตานุทูต

นเรศวร

กุศโลบาย

ราโชบาย

ชลาลัย

สุโขทัย

สังคม

สมาทาน

สุริโยทัย

ขีปนาวุธ

บดินทร์

พนาลัย

อนามัย

สังหรณ์

กินนรี

สโมสร

กาญจนามัย

พลานามัย

นิรภัย

คณาจารย์

มีนาคม

มกราคม

กุมภาพันธ์

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

ทุรชาติ

ยโสธร

อมรินทร์

หัสดินทร์

มนินทร์

มหินทร์

อายุรเวช

อุปรากร

ทรัพยากร

วราภรณ์

จุฬาภรณ์

ราชูปโภค

ราชินทร์เคหาภิบาล

สุรางค์

คงคาลัย

จินตนาการ

วิทยาการ

หัสดินทร์

มัคยาจารย์

หัตถาจารย์

รังสิโยภาส

นีโลตบล

โภไคศวรรย์

บดินทร์

นิราพาธ

สมณาจารย์

ราชินูปถัมภ์

วิเทโศบาย

กตัญชลี

สัมปทาน