ฌอง เลอง ฟูโกต์ นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส .. เพราะโลกหมุนรอบตัวเอง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 8.1K views




 

ฌอง เลอง ฟูโกต์ (Jean Bernard Leon Foucault) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส  เกิดเมื่อเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1819 ที่เมืองปารีส เขาคือ ผู้พิสูจน์ให้โลกรู้ว่าโลกหมุนรอบตัวเอง 

         ในอดีตไม่มีใครมีหลักฐานที่ทำให้ทุกคนมั่นใจ เรื่องโลกหมุนรอบตัวเอง ทั้งๆ ที่ได้พยายามกันมาก เช่น ปล่อยตุ้มน้ำหนักจากที่สูง ยิงปืนใหญ่ดิ่งขึ้นฟ้า แล้วดูตำแหน่งที่ลูกตุ้มตก หรือกระสุนปืนใหญ่กระทบพื้นว่า การหมุนของโลกทำให้วัตถุตกห่างจากตำแหน่งที่คำนวณเพียงใด แต่ก็ไม่เห็นค่าเบี่ยงเบนเลย (ในความเป็นจริงมีค่าเบี่ยงเบนเกิดขึ้นทุกครั้ง แต่นักทดลองวัดไม่ได้)
       
       จนกระทั่งปี ค.ศ. 1851 (ตรงกับรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) นักฟิสิกส์หนุ่มชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ León Foucault ก็ได้ทำให้ทุกคนประทับใจ เมื่อเขานำเพนดูลัม (ระบบที่ประกอบด้วยลูกตุ้มติดอยู่ที่ปลายลวด หรือเส้นเชือกโดยปลายอีกข้างหนึ่งของลวดหรือเชือกถูกตรึงแน่น จากนั้นก็ปล่อยลูกตุ้มให้แกว่งไปมา) ที่ทำด้วยเส้นลวดยาว 67 เมตร และลูกตุ้มหนัก 28 กิโลกรัม มาแกว่งน้อยๆ ใต้โคมสูงของ Pantheón ในกรุงปารีส แล้วทุกคนก็ได้เห็นกับตาว่า ระนาบการแกว่งของเพนดูลัมค่อยๆ เบนไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา เพราะถูกอิทธิพลการหมุนรอบตัวเองของโลกกระทำ


-------------------------------------------------------------

ประวัติย่อ 

          ฟูโกต์เกิดที่กรุงปารีส บิดาเป็นพ่อค้าหนังสือ เขาเป็นเด็กขี้โรคและมีปัญหาทางสายตา จึงไม่ชอบไปโรงเรียน แม่ของเขาจึงต้องสอนหนังสือให้ที่บ้าน เขาเรียนแพทย์ได้ไม่นานก็ย้ายไปเรียนฟิสิกส์แต่ก็เรียนไม่จบ เพราะมัวแต่หลงไหลการประดิษฐ์ทดลอง

         เขาได้ช่วย ดาแกร์ (Louis Daguerre) คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพด้วยอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ช่วย อาร์มองด์ ฟิโซ (Armand Fizeau) วัดความเร็วแสงได้เท่ากับ 298,000 กิโลเมตร / วินาที ซึ่งแตกต่างจากค่าปัจจุบันเพียง 0.6 % เท่านั้นเอง และยังได้พบอีกว่า แสงเคลื่อนที่ในน้ำได้ช้ากว่าในอากาศ

        การทดลองของฟูโกต์จึงช่วยสนับสนุนความคิดที่ว่า แสงเป็นคลื่นมิใช่เป็นอนุภาค

-------------------------------------------------------------
 

ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา 
 

          --  การทดลอง "เพนดูลัม" เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีที่ว่าโลกหมุนรอบตัวเอง โดยใช้ลูกตุ้มแขวนจากเพดานสูง พร้อมทั้งเชิญนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสให้มาเป็นสักขีพยานการทดลองครั้งนี้ด้วย

          โดยเขาได้ประดิษฐ์และตั้งชื่อผลงานของเขาว่า ไจโรสโคป (gyroscope)  ซึ่งนำเพนดูลัม (ระบบที่ประกอบด้วยลูกตุ้มติดอยู่ที่ปลายลวด หรือเส้นเชือกโดยปลายอีกข้างหนึ่งของลวดหรือเชือกถูกตรึงแน่น จากนั้นก็ปล่อยลูกตุ้มให้แกว่งไปมา) ที่ทำด้วยเส้นลวดยาว 67 เมตร และลูกตุ้มหนัก 28 กิโลกรัม มาแกว่งน้อยๆ ใต้โคมสูงของ Pantheón ในกรุงปารีส แล้วทุกคนก็ได้เห็นกับตาว่า ระนาบการแกว่งของเพนดูลัมค่อยๆ เบนไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา เพราะถูกอิทธิพลการหมุนรอบตัวเองของโลกกระทำ

       ซึ่งถ้าเขาทดลองที่ขั้วโลก ระนาบการแกว่งของเพนดูลัมจะเบนไป 360 องศาในหนึ่งวัน แต่ถ้าทดลองที่เส้นศูนย์สูตร ระนาบการแกว่งของเพนดูลัมจะไม่เบี่ยงเบนเลย Foucault เชื่อว่า มุมเบนขึ้นกับ sine ของมุม q เมื่อ q คือมุมที่บอกตำแหน่งเส้นรุ้งของบริเวณที่เพนดูลัมแกว่ง 

ไจโรสโคป (gyroscope)

 

             ผลงานของเขามีผลต่อการพัฒนาเข็มทิศ นักบินอัตโนมัติของเครื่องบิน เรือ กลไกบังคับหางเสือของตอร์ปิโด อุปกรณ์ป้องกันการกลิ้งบนเรือใหญ่ และระบบนำร่องเฉื่อย อื่นๆอีกมากมาย โดยนับว่าเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ของโลกเราเลยทีเดียว

และมีการนำไปประยุกต์ใช้ต่อในงานด้านต่าง ๆ เช่น

  • การพัฒนาจรวดนำวิธีที่บังคับบังคับทิศทางโดยอัตโนมัติ

  • การพัฒนาเครื่องเล็งปืนแบบเสถียร พัฒนาเครื่องปล่อยระเบิด และฐานยึดปืน รวมทั้งสายอากาศเรดาร์บนเรือ 

          -- นอกจากนี้เขายังเป็นคนแรกที่ถ่ายภาพจุดบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot) ได้

 

 

ด้วยการประดิษฐ์ กล้องโทรทรรศน์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของกระจกโค้งยาวถึง 80 เซนติเมตรได้ และกล้องโทรทรรศน์นี้ได้ถูกนำไปติดตั้งที่หอดูดาวแห่งเมือง Marsailles เพื่อศึกษาดวงอาทิตย์ 

ในบั้นปลายชีวิตเขาล้มป่วยด้วยโรคอัมพาตและเสียชีวิตในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2411 รวมอายุได้ 49 ปี  ชื่อของเขาได้ถูกนำไปจารึกลงบนเหล็กที่ใช้ในการสร้างหอ Eiffel ด้วย 

-------------------------------------------------------------

 

ภาพและเนื้อหา เรียบเรียงจาก 

https://www.thlive.com/forums/topic/leon-foucault

https://guru.sanook.com/ 

https://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?newsID=9550000079694

https://visindavefur.is/svar.php?id=6346