การประยุกต์สถิติในชีวิตประจำวัน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 91.3K views



ในชีวิตประจำวันเรามักเกี่ยวข้องกับสถิติ ตัวเลขต่าง ๆ มากมาย เราได้ยินการพูดถึงสถิติเรื่องต่าง ๆ เช่นประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมาก และมีสถิติผู้ตายด้วยไข้เลือดออกเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของผู้ป่วยที่พบ เราดูทีวีก็พบสถิติการรายงานปริมาณน้ำฝนในที่ต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ หรือบางปีบอกว่าฝนแล้งหรือมีปริมาณฝนน้อยที่สุดในรอบยี่สิบปี ครั้งเมื่อดูกีฬา เช่น กีฬาเอเซียนเกมที่ผ่านมา ก็พบว่านักกีฬาบางคนทำลายสถิติในหลายประเภท ประเภทกีฬาทางน้ำ และกรีฑา มีสถิติเป็นตัวเลขบอกไว ้มีการเปรียบเทียบกับสถิติ คำว่าสถิติจึงคุ้นหูเราอยู่เสมอ

 

ขอบเขตของคำว่า "สถิติ" มีความหมายกว้างขวางยิ่งนัก สถิติเป็นศาสตร์ สาขาหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทุกคน เพราะการดำรงชีวิตของเราอยู่ที่การเปรียบเทียบ การวัด การประมาณค่าตลอดจนการนำตัวเลขมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อ 4% สถิติยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สรุปผลการทดลองต่าง ๆ ได้อย่างมากมายภายในบ้าน พ่อบ้านแม่เรือน ก็อาจจะมีการบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน มีการตรวตดูและควบคุมเพื่อให้รายรับและรายจ่ายพอเหมาะต่อการดำรงชีพของครอบครัวภายในองค์ฏรเช่นในบริษัทก็มีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ บันทึกการขาย มีการลงบัญชีเพื่อทำงบดุลต่าง ๆ มีการสร้างค่าสถิติตัวเลขให้ผู้บริหารได้รับทราบสภาพของกิจการ มีการเขียนในรูปกราฟหรือการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ดูได้ง่ายคำว่า "สถิติ" ที่หลายคนพบเห็นจึงเกี่ยวข้องกับตัวเลข จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า วิชาการทางสถิติจะเกี่ยวข้องแต่ตัวเลขเท่านั้น หรือสถิติคงเกี่ยวกับการประมวลผลตัวเลขตามวิธีการทางสถิติสถิติเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลละการประมวลผลข้อมูล ในความหมายที่แท้จริง ยังรวมถึงระเบียบวิธีการทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล นำวิเคราะห์ข้อมูล การตีความหมายข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา การนำเสนอข้อมูล รวมถึงการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ

ตารางแสดงอัตราการแท้งแต่ละประเภทระหว่างปี พ.ศ. 2514 - 2521
 
ปี พ.ศ.ชนิดของการทำแท้งรวม
แท้งเพื่อการรักษาแท้งผิดกฎหมายแท้งเอง
จำนวนร้อยละจำนวนร้อยละจำนวนร้อยละจำนวนร้อยละ
2514 6 0.3 246 14.1 1494 85.6 1746 100
2515 7 0.4 328 17.8 1507 81.8 1842 100
2516 18 0.9 415 21.7 1477 77.3 1910 100
2517 21 0.9 489 21.4 1770 77.6 2280 100
2518 12 1.5 541 24.4 1662 75.0 2215 100
2519 32 1.4 624 28.5 1536 70.1 2192 100
2520 25 1.1 661 29.9 1524 68.9 2210 100
2521 35 1.5 648 28.5 1588 69.9 2271 100
ที่มา : จากหนังสือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้งในประเทศไทย ของสุพร เกิดสว่าง

วิชาทางด้านสถิติจึงได้รับการพัฒนามานานแล้ว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า นักคณิตศาสตร์ชาวจีน ชาวกรีกโบราณ รู้จัดการใช้สถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำข้อมูลบางอย่างมาใช้ เช่น ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม การจัดเก็บภาษีเมื่อสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เจริญขึ้น ปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันยิ่งซับซ้อนขึ้น เช่นปัญหาการผลิตสินค้าจำนวนมากในระบบอุตสาหกรรม สถิติเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก การพัฒนาประเทศก็เป็นปัญหาที่ซับซ้อน สถิติช่วยในการบริหารงานของภาครัฐ ข้อมูลสถิติช่วยให้เห็นสภาพความเป็นไปของสังคม และได้เข้าใจและรู้จักกับสถานะภาพของสังคมได้ดีขึ้น สถิติจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ และกำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://pirun.ku.ac.th/~b5410301455/4.html