โครงงานวิทยาศาสตร์ ผลของความเค็มต่ออัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูง(Poecilia reticulata)
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 17.9K views



ชื่อโครงงาน                   ผลของความเค็มต่ออัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูง(Poecilia  reticulata)

สาขาวิชา                       ชีววิทยา

ผู้จัดทำโครงงาน              นางสาวทิชากร  สิงห์โต

E-mail address              sweet_angle243@hotmail.com

โรงเรียน                         แก่นนครวิทยาลัย 

ครูที่ปรึกษา                     ครูเฉลิมขวัญ  ภูมี

อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ       รศ. อลงกลด   แทนออมทอง

ผู้สนับสนุนการทำโครงงาน  โครงการ  พสวท.  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และศูนย์  พสวท. โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาผลของความเค็มต่ออัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูง  (Poecilia reticulata)  โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอน  ได้แก่  การทดลองตอนที่ 1  ศึกษาอัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูง
เมื่อปรับค่าความเค็มของน้ำอย่างฉับพลัน 3  ระดับ  ได้แก่ 5, 10, 15 ppt  ตามลำดับ  พบว่าในน้ำที่มีค่าความเค็ม 5 ppt และ 10 ppt  อัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูงใน  24  ชั่วโมงมีค่าร้อยละ 100 ± 0.00  และในน้ำที่มีความเค็ม 
15  ppt  มีอัตราการรอดชีวิตใน  24  ชั่วโมงร้อยละ  50 ± 7.07   และการทดลองตอนที่ 2  ศึกษาอัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูงโดยเพิ่มค่าความเค็มครั้งละ 1 ppt  โดยใช้เวลาในการปรับเพิ่มมี 5 ระดับ  ได้แก่  ทุกๆ 1 ช.ม., 2 ช.ม., 6 ช.ม. , 12 ช.ม. และ 24 ช.ม.  ผลการทดลองพบว่าปลาหางนกยูงมีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ  95 ± 0.00,  95 ± 0.00,  100 ± 0.00, 83.5 ± 24.75  และ 90 ± 14.14  ตามลำดับ  พบว่าความถี่ที่ใช้ปรับเพิ่มความเค็ม  1, 2, 6,  12,  24  ชั่วโมง  ครั้งละ 1 ppt  ในการทดลองตอนที่ 2  ไม่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ  และจากการสังเกตพฤติกรรมการว่ายน้ำและการกินอาหารปลาหางนกยูงในระหว่างการทดลอง  พบว่าปลาหางนกยูงในน้ำที่มีการเพิ่มความเค็มมีพฤติกรรมการกินอาหารต่างไปจากชุดควบคุมเล็กน้อยแต่ในด้านพฤติกรรมการว่ายน้ำไม่มีความแตกต่างกัน  และในการทดลองตอนที่  3  ศึกษาอัตราการรอดชีวิตของปลาหางนกยูงในน้ำที่มีความเค็ม  27 ppt  เป็นเวลา  120 วัน   พบว่าปลาหางนกยูงทุกตัวสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้โดยมีอัตราการรอดชีวิต  ร้อยละ  90 ± 3.5