คริสเตียน ไฮเกนส์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 5.5K views



คริสเตียน ไฮเกนส์
Christiaan Huygens

.. 1629 - 1695

          ไฮเกนส์เป็นนักคณิตศาสตร์ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ชาวดัทซ์เกิดเมื่อ 14 เมษายน 1629 ณเมืองเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์บิดาของไฮเกนส์เป็นถึงข้าราชการระดับสูงของเนเธอร์แลนด์

วัยเยาว์และวัยหนุ่ม

          จากการที่บิดารับราชการในระดับสูงฐานะของครอบครัวไฮเกนส์จึงอยู่ในระดับที่มั่งคั่งโดยในวัยเยาว์ไฮเกนส์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นส่วนตัวณที่บ้านพักซึ่งสอนโดยบิดาของเขาและคุณครูส่วนตัวจากนั้นในปี 1645 เมื่ออายุได้ 16 ปีไฮเกนส์เข้าศึกษาสาขาวิชากฎหมายและคณิตศาสตร์ที่เมืองไลเดนและต่อมาในปี 1947 ได้เข้าศึกษาสาขาวิชากฎหมายณวิทยาลัยกฎหมายแห่งเมืองเบรดาโดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิชากฎหมายในปี 1655 จากนั้นไฮเกนส์ได้หันเหความสนใจในวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

ค้นพบดวงจันทร์ไททัน

          จากการที่ไฮเกนส์มีความสัมพันธ์ที่ดีกับแอนโทนีแวนลีเวนฮุคผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่ดีที่สุดในยุคนั้นลีเวนฮุคมีความสามารถเก่งมากในเรื่องการลับและตัดเลนส์จากการสังเกตและเฝ้าดูการทำงานของลีเวนฮุคไฮเกนส์ได้ทำการลับเลนส์เพื่อสร้างกล้องโทรทรรศน์สำหรับดูดาวขึ้นจากกล้องโทรทรรศน์ที่ไฮเกนส์ประดิษฐ์ขึ้นไฮเกนส์ค้นพบดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ในปี 1655

          ดังที่เราทราบมาแล้วว่าได้มีโครงการชื่อแคสซีนี-ไฮเกนส์ซึ่งส่งยานสำรวจไปยังดาวเสาร์ทั้งนี้ยานสำรวจลูกที่ปฏิบัติภารกิจร่อนลงบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ถูกตั้งชื่อว่ายานสำรวจไฮเกนส์


ไททันดวงจันทร์ของดาวเสาร์
ที่มา https://www.surveyor.in-berlin.de/himmel/Bios/Huygens-e.html


ยานสำรวจแคสซีนี-ไฮเกนส์
ที่มา https://www.angryhippy.net/images/Cassini_Huygens2.jpg


ยานสำรวจไฮเกนส์
ที่มา https://huygens.esa.int/science-e/www/area/index.cfm?fareaid=12

          นอกจากนี้ไฮเกนส์ยังได้อธิบายถึงวงแหวนของดาวเสาร์ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นโดยในปี 1656 ไฮเกนส์ได้ค้นพบว่าวงแหวนเหล่านั้นประกอบไปด้วยก้อนหินไฮเกนส์ยังได้ค้นพบว่าวงแหวนดังกล่าวไม่ได้เชื่อมต่อใดๆกับตัวของดาวเสาร์เลยโดยไฮเกนส์ได้บันทึกผลการสังเกตการณ์ดาวเสาร์ของเขาไว้ใน Systema Saturnium ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1959

 

   

Systema Saturnium

ที่มา https://www.sil.si.edu/DigitalCollections/HST/Huygens/


ภาพสเก็ตเกี่ยวกับดาวเสาร์ที่ปรากฏในผลงานที่ชื่อว่า Systema Saturnium
ที่มา https://www.surveyor.in-berlin.de/himmel/Bios/Huygens-e.html

          ในปีเดียวกันไฮเกนส์ได้สเก็ตภาพของเนบิวลานายพราน (orion nebula) และทำการแผนที่ดาวภายในเนบิวลาดังกล่าว

เนบิวลา (nebula) : เนบิวลาเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองอวกาศแบ่งเป็นชนิดต่างๆตามสมบัติทางแสงได้เป็นเนบิวลาเรืองแสงเนบิวลาสะท้อนแสงและเนบิวลามืด

เนบิวลานายพราน (orion nebula) : เนบิวลานายพรานเป็นเนบิวลาชนิดเรืองแสงจากกลุ่มดาวนายพรานซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 400 พาร์เซกโดยเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์อังกฤษ-ไทย, สมาคมดาราศาสตร์ไทย, 2548

          จากการใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองไฮเกนส์ประสบความสำเร็จในการแบ่งเนบิวลาออกเป็นดาวที่ต่างกันเพื่อเป็นเกียรติให้กับไฮเกนส์ส่วนที่สว่างที่สุดซึ่งอยู่ภายในของเนบิวลานายพรานได้ถูกเรียกว่า "บริเวณไฮเกนส์" นอกจากนี้ไฮเกนส์ได้ค้นพบเนบิวลาระหว่างดาว ( interstellar nebulae) และดาวคู่ (double star) ในด้านกลศาสตร์การเคลื่อนที่ไฮเกนส์ได้จัดรูปสมการการเคลื่อนที่กฎข้อที่สองของนิวตันในรูปแบบพีชคณิตที่มีกำลังสอง 


บริเวณไฮเกนส์
ที่มา https://www.koenvangorp.be/deepsky/nebulae.html

ประดิษฐ์นาฬิกาที่เที่ยงตรง

          ความแม่นยำทางเวลาหรือนาฬิกาถือได้ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมากในทางดาราศาสตร์ไฮเกนส์ได้วิจัยและพัฒนาสร้างนาฬิกาที่มีความแม่นยำสำหรับการนำร่องทางเรือซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้ในทางดาราศาสตร์โดยในปี 1658 ไฮเกนส์ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ชื่อ Horologium ซึ่งจากข้อเท็จจริงแล้วไฮเกนส์ได้ประดิษฐ์นาฬิกาเพนดูลัม(ลูกตุ้ม)ได้ในวันคริสมาสต์ปี 1656 ซึ่งถือได้ว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของการรักษามาตรฐานเวลาโดยเป็นที่ทราบกันดีว่าเฟืองเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รักษาอัตราการเดินของนาฬิกาและถือได้ว่าเป็นการพัฒนาขั้นสำคัญในการสร้างนาฬิกาที่มีความแม่นยำสูง 


นาฬิกาลูกตุ้มที่คิดค้นโดยไฮเกนส์
ที่มา https://www.sciencemuseum.org.uk/images/I010/10239953.aspx

          ทั้งนี้หลังจากที่ได้ตีพิมพ์ผลงานดังกล่าวไฮเกนส์ได้ค้นพบว่าไซคอยด์ (cycloid) สามารถประยุกต์กับนาฬิกาเพนดูลัมในรูปแบบสปริงเกลียวซึ่งช่วยให้ส่วนแขวนของเพนดูลัมมีความยืดหยุ่นโดยผลที่ได้จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าการแกว่งของเพนดูลัมเป็นจังหวะสม่ำเสมอโดยไม่ต้องคำนึงถึงขนาด (amplitude) ของการแกว่งทั้งนี้สมการทางคณิตศาสตร์และรายละเอียดเชิงปฏิบัติได้ถูกตีพิมพ์ใน Horologium Oscillatorium ปี 1673


ไซคอยด์
ที่มา https://www.physics.brown.edu/physics/demopages/Demo/solids/demos/1d1550.jpg


]ที่มา https://restoration.typepad.com/photos/uncategorized/2008/03/27/cv_huygensx.jpg

          ไฮเกนส์ได้สังเกตเพนดูลัมสองชุดที่ติดตั้งบนไม้คานเดียวกันโดยไฮเกนส์จัดการทดลองให้ลูกตุ้มเพนดูลัมทั้งสองแกว่งสลับในทิศทางตรงกันข้ามจากการสังเกตการณ์ของไฮเกนส์เขาได้กล่าวอ้างถึงปรากฏการณ์ที่ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าเรโซแนนซ์

          มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นนักประดิษฐ์ของไฮเกนส์ซึ่งมีการกล่าวถึงอย่างแพร่หลายโดยเชื่อว่าไฮเกนส์ไม่ใช่ช่างทำนาฬิกาและไม่เคยทำนาฬิกาด้วยตัวเขาเองโดยมีการกล่าวว่าไฮเกนส์เป็นเพียงนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ทั้งนี้นาฬิกาลูกตุ้มที่เก่าแก่ที่สุดถูกสร้างขึ้นโดย Salomon Coster ก็ได้รับใบอนุญาตจากไฮเกนส์เราสามารถชมนาฬิการูปแบบลูกตุ้มเพนดูลัมยุค 1657 ที่คิดค้นโดยไฮเกนส์ได้ที่พิพิธภัณฑ์บอร์ฮาวีที่เมืองไลเดน

          นอกจากนี้ไฮเกนส์ได้พัฒนานาฬิกาที่ใช้สปริงซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่โรเบิร์ตฮุกนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษประดิษฐ์นาฬิกาดังกล่าวได้โดยมีข้อโต้เถียงระหว่างทั้งสองฝ่ายว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นได้ก่อนอย่างไรก็ตามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2006 ที่ผ่านมาได้มีการค้นพบหลักฐานชิ้นสำคัญซึ่งสูญหายเป็นเวลาหลายร้อยปีโดยหลักฐานดังกล่าวเป็นลายมือของฮุกซึ่งได้ระบุถึงการประดิษฐ์คิดค้นนาฬิกาสปริงของฮุกจากหลักฐานดังกล่าวทำให้นักประวัติศาสตร์ให้เกียรติแก่โรเบิร์ตฮุกว่าเป็นผู้ประดิษฐ์นาฬิกาสปริงได้ก่อนอย่างไรก็ตามก็มิได้หมายความว่าการประดิษฐ์คิดค้นของไฮเกนส์จะไร้ประโยชน์เลยทีเดียวอย่างน้อยไฮเกนส์ก็ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยตัวเขาเอง

ทำงานด้านดาราศาสตร์ให้ราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

          โรยัลโซไซตี้ (Royal Society) สมาคมทางวิทยาศาสตร์อันโด่งดังของอังกฤษได้เลือกให้ไฮเกนส์เข้าเป็นสมาชิกในปี 1663 และในปี 1666 ไฮเกนส์ได้ย้ายไปพำนักที่กรุงปารีสโดยทำงานให้กับสถาบันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส (French Academy of Sciences) ซึ่งอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยใช้หอดูดาวณกรุงปารีส (สร้างเสร็จเมื่อปี 1672)

 

 

      อาคารโรยัล โซไซตี้
      ที่มา https://www.vladounet.com/

      หอดูดาวกรุงปารีส
      ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Paris_Observatory

          ไฮเกนส์ได้ทำงานร่วมกับแคสซีนีในการสังเกตดวงดาวบนท้องฟ้าได้อย่างต่อเนื่องโดยในปี 1684 ไฮเกนส์ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ "Astroscopia Compendiaria" ซึ่งอธิบายกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่ที่ไม่มีลำกล้อง

หนังสือ Astroscopia Compendiaria
      
ที่มา https://www.phys.uu.nl/

กล้องโทรทรรศน์ไร้ลำกล้อง
    ที่มา https://www.astrosurf.com/re/king_055.jpg

จินตนาการทางวิทยาศาสตร์

           ไฮเกนส์ได้วาดฝันเกี่ยวกับชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นไว้ในหนังสือชื่อ Cosmotheoros ซึ่งต่อมาใช้ชื่อว่า celestial worlds discover'd: or, conjectures concerning the inhabitants, plants and productions of the worlds in the planets โดยไฮเกนส์ได้จินตนาการว่าจักรวาลเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตซึ่งมีการใช้ชีวิตตล้ายกับยุคทศวรรษที่ 17 บนพื้นโลกซึ่งบรรยากาศการปกครองในเนเธอร์แลนด์ณเวลานั้นไม่เพียงแต่อนุญาตให้ทำเช่นนั้นแต่ยังสนับสนุนการวาดฝันหรือจินตนาการทางวิทยาศาสตร์


หนังสือ Cosmotheoros
ที่มา https://www.phys.uu.nl/~huygens/cosmotheoros_en.htm

 

ช่วงท้ายของชีวิต

          ในปี 1681 ไฮเกนส์ได้ย้ายกลับไปยังกรุงเฮกเนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงในปี 1695 เขาพยายามที่กลับไปยังฝรั่งเศสแต่เหตุการณ์จลาจลในฝรั่งเศสทำให้การย้ายของเขาต้องหยุดชงักลงไฮเกนส์เสียชีวิตลงด้วยวัย 66 ปีณกรุงเฮกในวันที่ 8 กรกฎาคม 1695 

ที่มา : https://www.space.mict.go.th/astronomer.php