นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 24.7K views



อลัน มาธิสัน ทัวริง

       อลัน มาธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing
) เกิดวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๑๙๑๒ ที่กรุงลอนดอน ปรเทศอังกฤษ คิดค้นเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) เครื่องมือในฝันที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ถ้าเพียงแต่เราจะใส่วิธีทำลงไป ซึ่งกลายเป็นต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทัวริงแมชชีนเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราแยก "อุปกรณ์" ออกจาก "ความสามารถของอุปกรณ์" ได้ เครื่องจักรทัวริงนั้นไม่ยุ่งยาก เป็นเหมือนเครื่องอ่านม้วนกระดาษยาวๆ (หรือเทป) บนกระดาษจะบันทึกเลขสองตัวคือ ศูนย์และหนึ่ง เช่น ...0011011000100... ทัวริงแมชชีนมีหัวอ่านค่าในกระดาษนี้

       อลัน ทัวริงเข้าเรียนที่ King's College ในเคมบริดจ์ เมื่อเรียนจบได้ไม่นานก็เผยแพร่ผลงานเครื่องจักรทัวริง ช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง จากผลงานของทัวริงที่ปรากฎทำให้รัฐบาลเรียกตัวเขาไปร่วมงานชิ้นสำคัญ ในตอนนั้น รัฐบาลอังกฤษรวบรวมใครก็ตามที่มีผลงานเกี่ยวกับหลักตรรกศาสตร์ เพื่อพยายามถอดรหัสของเครื่องเอนิกมา (Enigma) ซึ่งเป็นรหัสลับที่นาซีใช้ติดต่อสื่อสารในช่วงสงคราม งานนี้เป็นความลับระดับชาติ หลังจากทัวริงเสียชีวิตไปแล้ว สาธารณชนจึงได้รับรู้ว่าทัวริงมีส่วนในการออกแบบเครื่องมือที่ใช้แกะนาซีโค้ดที่ส่งไปที่ U-boats ในแอตแลนติกเหนือ และมีส่วนช่วยให้แกะรหัสนี้สำเร็จในเวลาต่อมา

       ทัวริงยังคิดค้นการทดสอบแบบทัวริง (Turing test) ที่โด่งดังซึ่งเป็นการวัดว่าเครื่องมือหนึ่งๆ จะมีความฉลาดทัดเทียมมนุษย์ได้หรือไม่ โดยวัดจากการนำคนหนึ่งไปนั่งในห้องปิด และถามคำถามเดียวกันกับคน และกับเครื่อง (แต่มองไม่เห็นว่าใครตอบ) ถ้าผู้ถามไม่สามารถแยกแยะได้ว่าคำตอบใดมาจากเครื่อง คำตอบใดมาจากคน นั่นย่อมแปลว่าเครื่องกลนั้นฉลาดทัดเทียมมนุษย์

   •   •   •   •

เฉียน ซุง หวู

       เฉียน ซุง หวู เกิดที่ประเทศจีน ในพ.ศ.๒๓๗๙ เธอไปศึกษาวิชาฟิสิกส์ ในสหรัฐอเมริกาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในพ.ศ.๒๕๐๐ เธอได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการสร้างทฤษฏีว่าด้วยการสลายตัวทางนิวเคลียร์ ร่วมกับเพื่อนร่วมชาติอีก ๒ คน คือ เฉิน หนิง หยาง กับ ซุง เตา ลี ซึ่งก็ไปทำงานอยู่ในสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน

   •   •   •   •

คริสเตียน บาร์นาร์ด

       เกิดที่แอฟริกาใต้ ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับบัณทิตศึกษาในสหรัฐอเมริกา เขาได้นำวิธีการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดไปเผยแพร่ในแอฟริกาใต้ ในพ.ศ.๒๕๑๐ เขาเป็นหัวหน้าคณะศัลยแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้คนไข้เป็นรายแรกของโลกที่โรงพยาบาล กรูต เชอร์ เมืองเคปทาวน์

   •   •   •   •

โดโรธีฮอดจ์กิน
(..๒๔๕๓..๒๕๓๗ )

       เกิดที่อียิปต์เป็นคนเชื้อชาติอังกฤษศึกษาวิชาเคีที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ในช่วง พ.๒๔๗๓๒๔๙๒  เธอศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลทางชีววิทยาโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยรังสีเอกซ์พ..๒๕๐๗ และได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมีสำหรับผลงานการศึกษาโครงสร้างของวิตามินบี ๑๒ ทั้งยังได้เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลับออกซ์ฟอร์ดระหว่าง พ..๒๕๒๐ - ๒๕๒๓ อีกด้วย

   •   •   •   •

เอดวิน ฮับเบิล
(พ.ศ.๒๔๓๒ – พ.ศ.๒๔๙๖ )

       เกิดในสหรัฐอเมริกา และศึกษาดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลับชิคาโก หลังสำเร็จการศึกษาเขายึดอาชีพทนายความแต่ไม่ชอบงานดังกล่าว จึงหวนกลับมาที่มหาวิทยาลับชิคาโกเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในพ.ศ.๒๔๖๗ เขาค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับกาแล๊กซีของกลุ่มดาวที่อยู่นอกทางช้างเผือก ผลงานของเขาบ่งชี้ว่าจักรวาลกำลังขยายตัวออกไปเรื่อยๆ

   •   •   •   •

เกรซ ฮอปเปอร์
(..๒๔๔๙..๒๕๓๕ )

       เกิดที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เกรซ ฮอปเปอร์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแวสซาร์ย และต่อมาก็กลับมาสอนคณิตศาสตร์ที่สถาบันแห่งนี้ จนพ..๒๔๘๖ เธอเข้ารับข้าราชการในกองทัพเรือสหรัฐฯ จนถึงพ..๒๔๙๒ จึงออกมาทำงานกับบริษัทเอคเคิร์-เมาชลีคอมพิวเตอร์คอร์ปอเรชัน เธอเป็นผู้พัฒนาภาษาโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ยูนิแวค ๑ ซึ่งสร้างให้กับสำนักงานสำมะโนประชากรสหรัฐฯ เธอยังทำงานคิดค้นริเริ่มอีกจำนวนมากซึ่งได้กลายเป็นเทคนิคการเขียนโปรแกรมในสมัยต่อๆมา เธอได้รับเกียรติยศมากมายจากงานบุกเบิกริเริ่มของเธอ

   •   •   •   •

เจมส์วัตสันและฟรานซิสคริกค

       เจมส์ วัตสัน (เกิดปีพ..๒๔๗๑ สหรัฐอเมริกา) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน กับฟรานซิสคริกค์ (เกิดปีพ..๒๔๕๙ ประเทศอังกฤษ) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบโครงสร้างของโมเลกุล DNA พวกเขาพบว่า DNA ซึ่งเป็นสารถ่ายทอดพันธุกรรมมีลักษณะเป็นเกลียวคู่ บรรดาโมเลกุล DNA เหล่านี้ที่อยู่ในเซลล์แบ่งตัวขยายออกไปเมื่อมีสิ่งมีชีวิตถือกำเนิด โดยที่เซลล์ต่างๆเหล่าจะมี DNA ที่เป็นพิมพ์เดียวกันกับผู้ที่ให้กำเนิด หรือพ่อ-แม่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงถ่ายทอดเอกลักษณะต่างๆมาจากพ่อ-แม่ด้วย

   •   •   •   •

เจน  กูดัลล์

       เจน  กูดัลล์ (เกิดพ..๒๔๗๗) ในประเทศอังกฤษ  เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว  เธอทำงานเป็นเลขานุการก่อนจะเดินทางไปแอฟริกาเพื่อทำงาน  เป็นผู้ช่วยของนักมานุษยวิทยาชื่อหลุยส์  เลคคีย์ในพ..๒๕๐๓  เธอตั้งค่ายพักขึ้น  ที่เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า  กอมเบ  สตรีม  เกม  รีเสิร์ฟ  เพื่อเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลิงชิมแปนซีผลงานอันโดดเด่นของเธอได้รับการยอมรับในพ..๒๕๐๘  เมื่อมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มอบปริญญาเอกแก่เธอ  เธอยังอยู่ในแอฟฟริดาต่อ  จนถึงพ..๒๕๑๘

   •   •   •   • 

โจนาสซอลค
(..๒๔๕๗..๒๕๓๘)

       โจนาส ซอลค์ เกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาศึกษาวิชาแพทย์ที่นิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยมิชิแกนเมื่อพ..๒๔๙๒ เขาเริ่มวิจัยเกี่ยวกับเชื้อโรคโปลิโอซึ่งทำให้ร่างกายป่วยและพิการ จนได้เริ่มผลิตวัคซีนที่นำไปฉีดป้องกันโรคนี้อย่างได้ผลทั่วโลกเมื่อพ..๒๔๙๘ และเมื่อพ.๒๕๐๓ จากนั้นอัลเบิร์ต ซาบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อโรคชาวอเมริกานำวัคซีนนี้ไปดัดแปลงเพื่อให้เด็กๆสามารถกินยานี้ได้แทนการฉีดยา

   •   •   •   •

คาร์ล  พ็อบเพอร์
(..๒๔๔๕..๒๕๓๗)

       คาร์ล พ็อบเพอร์ เกิดที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทำงานอยู่กับอัลเฟรดอัดเลอร์ จิตแพทย์ชื่อดัง ก่อนจะอพยพไปอยู่ที่นิวซีแลนด์ ในพ..๒๔๘๐..๒๔๘๘ เขาย้ายไปประจำที่ลอนดอน สคูลออฟอีโคโนมิกส์ ประเทศอังกฤษเขาเขียนงานด้านปรัชญาวิทยาศาสตร์เอาไว้มากมาย เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีตรรกวิทยาบนพื้นฐานของข้อสรุปที่ว่านักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางอยู่ตลอดเวลาเพื่อทดสอบสมมุติฐานต่างๆ ด้วยวิธีพิสูจน์ให้เห็นว่าสมมุติฐานเหล่านี้ผิด เขามีความเชื่ออย่างมุ่งมั่นในเรื่องความสำคัญของเสรีภาพทั้งเสรีภาพในทางการเมือง และในทางวิทยาศาสตร์

   •   •   •   •

ไลนัส  พอลิง
(..๒๔๔๔..๒๕๓๗)

       ไลนัส  พอลิง เกิดในสหรัฐอเมริกา เขาเข้าศึกษาวิชาวิศวกรรมเคมี ก่อนจะหันไปทำปริญญาเอกสาขาเคมีกายภาพ  จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีพ..๒๔๙๗ สำหรับผลงานเกี่ยวกับพันธะเคมีซึ่งช่วยแสดง และอธิบายโครงสร้างตลอดจนรูปร่างของโมเลกุลจำนวนมาก เขาได้รับรางวัลโนเบลรางวัลที่สองในปีพ..๒๕๐๕ สาขาสันติภาพสำหรับการรณรงค์อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย เพื่อต่อต้านการใช้สงครามเป็นเครื่องมือแก้ไข  กรณีพิพาทระหว่างประเทศ  ตำราเรียนว่าด้วยโครงสร้างโมเลกุลซึ่งตีพิมพ์ในปีพ..๒๔๘๒ ของเขาเป็นตำราทางวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลมากเล่มหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่๒๐

   •   •   •   •

ลิเซ ไมต์เนอร์
(พ.ศ.๒๔๒๑ – พ.ศ.๒๕๑๑)

       ลิเซ ไมต์เนอร์ เกิดที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย เธอศึกษาที่เบอร์ลินกับ มักซ์ พลังค์ จากนั้นก็ทำงานบุกเบิกในด้านฟิสิกส์อะตอมเรื่อยมา เธอมีบทบาทสำคัญในการค้นพบกระบวนการแตกตัวของยูเรเนียมในพ.ศ.๒๔๘๑ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีเมื่อพ..๒๔๙๗ สำหรับผลงานเกี่ยวกับพันธะเคมีซึ่งช่วยแสดงและอธิบายโครงสร้างตลอดจนรูปร่างของโมเลกุลจำนวนมาก  เขาได้รับรางวัลโนเบลรางวัลที่สอง ในพ..๒๕๐๕  สาขาสันติภาพสำหรับการรณรงค์อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย เพื่อต่อต้านการใช้สงครามเป็นเครื่องมือแก้ไข กรณีพิพาทระหว่างประเทศ ตำราเรียนว่าด้วยโครงสร้างโมเลกุลซึ่งตีพิมพ์ในพ..๒๔๘๒ ของเขาเป็นตำราทางวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลมากเล่มหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐

   •   •   •   •

มารี คูรี่

       เกิดเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายนค..๑๘๖๗ ที่กรุงวอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์ บิดาของเธอมักพาไปห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนด้วยเสมอ ทำให้เธอมีความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์ เธอได้พบกับ Dmitri Mendeleev นักเคมีชาวรัสเซียผู้คิดตารางธาตุซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของบิดาของเธอ โดยDmitri Mendeleev ได้ทำนายไว้ว่าเธอมีแววจะเป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ถ้าเธอชอบเคมี 

       ต่อมาปีค..๑๘๙๕ มารีได้สมรสกับปิแอร์นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หลังจากนั้นไม่นานมีการประกาศข่าวการพบรังสีเอ็กซ์ว่าสามารถทะลุวัตถุที่หนาได้และสามารถทะลุร่างกายทำให้เห็นกระดูกได้ ทำให้ปิแอร์และมารีรู้สึกตื่นเต้นมาก และศึกษาเรื่องนี้ทันที ขณะเดียวกันก็มีข่าวว่า Henri Antoine Becquerel ได้พบในเวลาต่อมาอีกไม่นานว่าเกลือของแร่ยูเรเนียมสามารถเปล่งรังสีได้ทั้งๆที่ไม่มีแสงอาทิตย์รบกวนและรังสีนั้นทำให้ฟิล์มถ่ายรูปเปลี่ยนแปลงโดยความเข้มของรังสีขึ้นกับปริมาณยูเรเนียมในเกลือ

      ต่อมาเมื่อดือนกรกฎาคมค..๑๘๙๘ มารีได้ประกาศพบธาตุใหม่ชื่polonium ซึ่งเป็นชื่อที่เธอให้เป็นเกียรติแก่ประเทศโปแลนด์ของเธอ จากนั้นมารีได้เริ่มศึกษาธรรมชาติและสมบัติของ radium และจากการศึกษาของมารีทำให้พบว่าเกลือของ radium สามารถเรืองแสงได้และให้ความร้อนได้มากถึง ๒๕๐,๐๐๐ เท่าของความร้อนที่ได้จากถ่านหินที่มีน้ำหนักเท่ากัน radium หนึ่งตันสามารถต้มน้ำหนึ่งร้อยตันให้เดือดได้นาน1ปีหนูที่กระดูกสันหลังของมันถูกฝังด้วย radium ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดจะเป็นอัมพฤกษ์ภายในเวลา ๓ ชั่วโมงและจะชักภายในเวลา ๗ ชั่วโมงและเมื่อเวลาผ่านไป ๑๕ ชั่วโมงหนูจะตายและเวลาผิวหนังคนได้สัมผัส radium ผิวจะรู้สึกร้อนผ่าวและไหม้ และรังสีสามารถฆ่าเซลล์มะเร็ง อีกทั้งทำให้อากาศแตกตัวได้ ผลการค้นพบในครั้งนี้ทำให้มารีและปิแอร์ได้รับครึ่งหนึ่งของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกข์ร่วมกับ Becquerel จากผลงานการศึกษากัมมันตรังสีในเดือนตุลาคมค..๑๙๐๓

       การทดลองชิ้นต่อไปของมารีคือต้องสกัด radium บริสุทธิ์ออกมาให้ได้ ซึ่งเธอก็ทำได้ และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้มารีได้รางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปีค..๑๙๑๑ และทำให้เธอเป็นนักวิทยาศาสตร์คนเดียวในโลกที่รับรางวัลโนเบลทั้งสาขาฟิสิกข์และสาขาเคมี

       ต่อมาในปีค..๑๙๒๙ รัฐบาลฝรั่งเศสได้อนุมัติเงิน ๑.๕ ล้านฟรังก์ให้มารีสร้างห้องวิจัยกัมมันตรังสี แต่มารีได้ใช้ห้องปฏิบัติการนี้ไม่นานก็ต้องเสียชีวิตลงในวันที่​ ๔ กรกฏาคม..๑๙๓๔ สิริอายุ ๖๘ ปีด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และหลังจากที่มารีเสียชีวิตลงครอบครัวคูรี่ก็ยังคงสรั้างผลงานที่น่าจดจำให้กับโลกนี้อยู่อย่างต่อเนื่องโดยลูกสาวคนโต Irene ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับสามีชื่อ Frederic Joliot ในปี ๑๙๓๕ จากผลงานการสร้างธาตุกัมมันตรังสีประดิษฐ์ ทั้งสองได้รับรางวัลหนึ่งปีหลังจากที่มารีเสียชีวิต ส่วนลูกสาวคนที่สองชื่อ Eve นั้นก็เป็นนักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงก้องโลก เมื่อหนังสือที่เธอเขียนชื่อ Madame Curie ได้เป็นหนังสือเบสท์เซลเลอร์และถูกนำไปแปลกว่า ๕๐ ภาษา 

   •   •   •   •

ชินอิขิโร โตโมนางะ
(..๒๔๔๙ - ..๒๕๒๒)

       ชินอิขิโร โตโมนางะ เกิดที่ญี่ปุ่นในพ..๒๔๘๔ เขาเป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกข์ของมหาวิทยาลัย บุนริกะ กรุงโตเกียว และเริ่มค้นคว้าวิจัยเรื่องปัญหาและความไม่สม่ำเสมอในทฤษฎีควอมตัมถึงพ..๒๕๐๘ เขาได้รับรางวัลโนเบลาขาฟิสิกข์ร่วมกับ ริชาร์ด ไฟยน์แมน และจูเลียน ชวิงเกอร์ แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ศึกษาอย่างเป็นเอกเทศแต่พบคำตอบข้อสรุปอย่างเดียวกันกับโตโมนางะ ตลอดชีวิตของเขาได้รณรงน์คัดค้านการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องให้นำทรัพยากรที่ใช้ไปกับอาวุธนิวเคลียร์มาพัฒนาเรื่องการใช้พลังนิวเคลียร์เพื่อสันติ

   •   •   •   •

สตีเฟน เจย์ กูลด์

       สตีเฟน เจย์ กูลด์ (เกิด พ..๒๔๘๔เกิดและได้รับการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พ..๒๕๑๐ เขาได้เป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จนถึงพ..๒๕๑๕ เขาได้ร่วมกับนีลส์ เอลเรด พัฒนาทฤษฎีการเกิดความสมดุลเป็นพักๆ ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ทั้งนี้กลูด์ เสนอว่าสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ๆจะบังเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงเป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้น จากนั้นจึงติดตามมาด้วยระยะแห่งการวิวัฒนาการอย่างมั่นคง ซึ่งจะเป็นระยะเวลายาวนานกว่ามาก ทั้งนี้เขายังมีชื่อเสียงในฐานะนักเขียน และได้เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับวิวัฒนาการสำหรับผู้อ่านทั่วไป

   •   •   •   •

ยูริ กาการิน
(..๒๔๗๗ ..๒๕๑๑)

       ยูริ กาการิน เกิดใกล้กรุงมอสโกประเทศรัสเซีย ขณะศึกษาที่วิทยาลัยอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งเขาได้รับคัดเลือกให้เข้าฝึกอบรมเป็นนักบิน และต่อมาก็เข้าประจำการในกองทัพอากาศโซเวียต ในพ..๒๕๐๔ เขาเป็นมนุษย์คนแรกที่โคจรรอบโลกได้สำเร็จ เขาได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งตำแหน่ง "วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต"
 


ที่มา : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( อพวช.)
www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/evolution/Pioneers_Turing.htm