พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 152.8K views



พระราชประวัติ : ทรงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชประวัติ : สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนี เฉลิมพระยศพระราชวงศานุวงศ์
การป้องกันพระราชอาณาจักร : ยุทธศาสตร์ทางทะเล
การป้องกันพระราชอาณาจักร : ครัวมอญเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
การบริหารราชการแผ่นดิน : การปกครองส่วนกลางและหัวเมือง
การบริหารราชการแผ่นดิน : พระราชกำหนดห้ามสูบฝิ่นขายฝิ่นเล่นการพนัน
การทะนุบำรุงพระศาสนา : สืบพระศาสนาลังกาทวีป
การทะนุบำรุงพระศาสนา : บูรณปฏิสังขรณ์สถาปนาพระอาราม
การฟื้นฟูราชประเพณี : พระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ : โปรตุเกสเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : พระที่นั่งสนามจันทร์ เก๋งนารายณ์
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : เครื่องถม-เครื่องถ้วย ศิลปะพระราชนิยมในรัชกาลที่ 2
แผ่นดินพระพุทธเลิศหล้า ร่มเย็น
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : ซอสายฟ้าฟาด-เพลงพระราชนิพนธ์ บุหลันลอยเลื่อน
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : ขยายพระบรมมหาราชวังสร้างสวนขวา
การทะนุบำรุงพระศาสนา : พระราชพิธีวิสาขบูชา
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : โขน ละคร
การฟื้นฟูราชประเพณี : พระราชพิธีอาพาธพินาศและสังคายนาบทสวดมนต์
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ : อังกฤษเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
การบริหารราชการแผ่นดิน : พระราชกำหนดสักเลก-เดินสวนเดินนา
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : บทพระราชนิพนธ์ ละครใน-ละครนอก
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ : ช้างเผือกในรัชกาลและธงช้าง
การป้องกันพระราชอาณาจักร : เตรียมรับศึกด้านตะวันตก
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : ฝีพระหัตถ์งานช่าง
การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : ยุคทองของกวี

                                            
                                                 พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
                                                   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                                          (ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
                                                                   มีพระนามเดิมว่า ฉิม
พระราชประวัติ
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฏ
    1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
    2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา

พระราชกรณียกิจที่สําคัญ
    พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
    พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
    พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
    พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
    พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
    พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
    พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
    พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
    พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
    พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346

การทํานุบํารุงบ้านเมือง
    การปฎิสังขรณ์วัด โปรดให้แกะลายสลักที่บานประตู พระวิหารพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ สร้างพระประทานในพระอุโบสถวัดแจ้ง และพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชรายได้ของแผ่นดิน ได้จากการเก็บภาษีอากรทางด้านการค้า ที่ทําตามแบบเดิม คือให้พระคลังสินค้ามีอํานาจ ในการซื้อขายการปกครอง นั้นคงทรงไว้แบบเก่า แต่งตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้ากํากับราชการ กฎหมาย ทรงตราพระราชกําหนดสักเลข และพระราชกําหนดห้ามมิสูบและขายฝิ่น สถาปัตยกรรมขยายเขตพระบรมมหาราชวังสร้างสวนขวา พระสมุทรเจดีย์ และสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ประเพณีพิธีกรรม ได้แก่พระราชกรณียกิจลงสรง พระกําหนดพิธีวิสาขบูชา พระราชพิธีอาพาธพินาศ และการตั้งโรงทานการใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ช้างเผือก 3 เชือกได้แก่ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ศาสนา ทํานุบํารุงพุทธศาสนา เช่น การปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การสังคายนาสวดมนต์ การสร้างพระไตรปิฎก การส่งสมณทูตไปประเทศลังกาวรรณคดีและกวี มีรัตนกวีคู่พระหฤทัย เช่น พระสุนทรโวหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) พระยาตรัง

บทพระราชนิพนธ์ในพระองค์ ได้แก่
    1. บทละครในเรื่องรามเกียรติ์
    2. บทละครในเรื่องอิเหนา
    3. บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย
    4. กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
    5. บทกาพย์โขน ตอนนางลอย พรหมาสตร์ นาคบาศ และเอราวัณ
    6. กลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
การติดต่อกับพม่า
    พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระชนมายุได้ 43 พรรษา นาน 2 เดือน พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมทัพไปทรงปราบปรามพม่าได้
    พ.ศ. 2363 พม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยมีพระเจ้าจักกายแมง ต่อจากพระเจ้าปดุง ได้ข่าวว่า ไทยเกิดโรคระบาด จึงยกทัพมาตี ไทยได้จัดกองทัพไปป้องกันตามทางที่พม่าจะเดินทางเข้ามา เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ถลาง สงขลา พัทลุง และตาก พม่ารู้ข่าวก่อนจึงไม่กล้ายกทัพมา

การติดต่อกับญวน
    พ.ศ. 2353 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าเวียตนามยาลองกษัตริย์ญวน ได้แต่งตั้งให้ทูตเดินทางมาเคารพพระบรมศพ พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการเพื่อขอเมืองพุทธไธมาศกลับคืน จึงยอมให้เพื่อสมานพระราชไมตรี

การติดต่อกับกัมพูชา ( เขมร )
    พ.ศ. 2353 สมเด็จพระอุทัยราชา กษัตริย์เขมร ถูกรัชกาลที่ 1 บริภาษไปเมื่อคราวเข้าเฝ้า จึงผูกใจเจ็บไว้ ครั้นรัชกาลที่ 1 สวรรคต จึงหันไปพึ่งอํานาจญวนด้วยสมเด็จพระอุทัยราชากลัวว่าไทยจะยกทัพไปปราบปราม ญวนให้นักองโปโหคุมทหารมากํากับเขมร สมเด็จพระอุทัยราชาคิดเสียดายเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง จึงปรึกษากับญวนซึ่งมีนักองโปโหเป็นกองกําลัง นักองโปโหก็เสนอแนะให้ฟ้าทะละหะ ยกทัพไปไทยโดยทําทีว่าจะไปเก็บค้างคาวและยมศิลาตามประเพณี ถ้าเห็นว่าอ่อนแอก็ให้โจมตีเมืองพระตะบอง แต่ฝ่ายไทยไหวทัน จึงตีกองทัพเขมรแตกพ่ายไป

การติดต่อกับจีน ในรัชกาลที่ 2 โปรดให้ไปเจริญทางพระราชไมตรีถึง 2 ครั้งคือ
    พ.ศ. 2353 โปรดให้ราชทูตอันเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าเกียเข้งกรุงปักกิ่ง เพื่อให้จีนทราบว่าไทยเปลี่ยนแผ่นดินใหม่
    พ.ศ. 2364 โปรดให้อัญเชิญพระราชสาส์น โดยมีพระยาสวัสดิสมุทร เป็นทูตไปแสดงความยินดีต่อพระเจ้าเตากวาง ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเกียเข้ง พร้อมคํานับพระศพด้วย

การติดต่อกับโปรตุเกส
    พ.ศ. 2361 ประเทศโปรตุเกสแต่งตั้งให้ มร. คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เป็นทูตถือสาส์นนําเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดให้เป็น หลวงอภัยวาณิช

การติดต่อกับสหรัฐอเมริกา
    พ.ศ. 2364 กัปตันแฮน เป็นพ่อค้าชาวอเมริกันคนแรกได้ถวายปืนคาบศิลา 500 กระบอก จึงโปรดให้เป็น หลวงภักดีราช

การติดต่อกับอังกฤษ
    พ.ศ. 2365 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษตั้งผู้สําเร็จราชการอินเดียคือ มาร์ควิส เฮสติงค์ ได้ส่งจอห์นครอว์เฟิด มาเจริญราชไมตรี ผลของการเจรจาไทยเห็นว่าอังกฤษเอาเปรียบทุกอย่างไทยเลยไม่ติดต่อด้วย แต่ยังมีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ ยินยอมทําตามระเบียบของไทย และค้าขายเรื่อยมาจนได้โปรดให้เป็น หลวงอาวุธวิเศษ

เสด็จสวรรคต
    เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้วเจ้าอนุวงศ์หมดความเกรงกลัว เริ่มแข็งเมืองและเป็นกบฎขึ้นในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 คํ่า ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขณะนั้นทรงพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงเสวยราชย์สมบัติ 16 ปี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒
    เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี

ที่มา : https://www.learners.in.th/blogs/posts/407289
         https://www.youtube.com/watch?v=-3K0XeRc7OY
คลิปวิดีโอจาก : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี