พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 184.1K views



พระนิวาสสถานเดิม
สร้างกรุง
พระชัยหลังช้าง และพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
วังรอบพระนครป้องกันกรุง
ชุมชนต้นกรุงรัตนโกสินทร์
การป้องกันพระราชอาณาเขต
สัมพันธไมตรีเจ้าเขมร-เจ้าอนัมก๊ก
สัมพันธภาพกับจีนและโปรตุเกส
การสังคายนาพระไตรปิฎก
พระราชพงศาวดารและกฎหมายตราสามดวง
ปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทสระบุรี
ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
พระศรีสรรเพชญดาญาณและพระพุทธรูปโบราณ
พระอารามทรงสร้างและปฏิสังขรณ์
ทรงฟื้นฟูวรรณกรรมพระพุทธศาสนา
บทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์
นิทานเปอร์เซีย-พงศาวดารรามัญ-พงศาวดารจีน
ฟื้นฟูพระราชพิธีและราชประเพณีโบราณ
เบิกฟ้า...สร้างสยาม
การพระเมรุสมัยแรกในกรุงรัตนโกสินทร์-พระโกศทองใหญ่-พระมหาพิชัยราชรถ
ช้างเผือกมาสู่พระบารมี-ท่าช้างวังหลวง-ท่าช้างวังหน้า
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สถาปนาวังหน้าและวังหลัง
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์-เสาชิงช้ากลางพระนคร
ตำราพิชัยสงครามและปืนใหญ่ป้องกันพระนคร
อัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากเมืองสุโขทัย

                                           
                                                พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
                                            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
                                       (ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
                                                              มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง
พระราชประวัติ 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีทรงพระนามเต็มว่า
" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "
    ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
    คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
    คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่2)
    คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
    คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
    คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา"( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
    เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพรพระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
    พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐีทองกับส้ม
    พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อนตําแหน่งดังนี้
    พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
    พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายกเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
    พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
    พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
    พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มีพระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบางยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มีการมหรสพ
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนพ.ศ. 2325 ( วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 คํ่า ปีขาล ) ขณะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติทรงมีพระชนมายุได้ 45 ปี ทรงโปรดให้สถาปนาพระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระนัดดา ( พระยาสุริยอภัย ) เป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ถัดจากนั้นได้ประกอบกิจการที่สําคัญคือ

สร้างกรุงเทพมหานคร
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 21 เมษาย พ.ศ. 2325(วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 คํ่าปีขาล) คือทําพิธียกเสาเอก "เสาหลักเมือง" กรุงเทพมหานครได้ลงมือก่อสร้างอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2326 ปัจจุบันกรุงเทพฯมีชื่อเต็มว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์"

สาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ
    1. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวังออกไปได้อีก
    2. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ
    3. กรุงเทพมหานครอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวางเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก

การสร้างพระบรมมหาราชวัง
    พ.ศ. 2326 สร้างพระนคร ได้สร้างพระราชมณเฑียรสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
    พ.ศ. 2327 สร้างพระมหาปราสาท สร้างวัดพระแก้ว และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีมาสถิตอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทองกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรงพระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "หอพระเทพบิดร" ปฎิสังขรณ์วัดสลัก
    พ.ศ. 2328 หล่อปืนใหญ่ขึ้น 7 กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินขึ้นมากมายฟื้นฟูพระราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

การปกครอง
หลังจากปราบดาภิเษกแล้ว ทรงให้มีการตั้งข้าราชการที่มีความดีความชอบในราชการให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่น้อยตามฐานะทรงตั้งราชการวังหลวงขึ้น

ด้านกฎหมาย
ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา 3 ดวง ( คือ ตราราชสีห์ คชสีห์ บัวแก้ว ) เพื่อสําหรับวินิจฉัยอรรถคดี และบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย

การค้าขายกับต่างประเทศ
ผลประโยชน์ของประเทศไทยที่ได้รับขณะนั้นได้จากภาษีอากร เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด ภาษีค่านํ้าเก็บตามเครื่องมืออีกทั้งส่วนสินค้าต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์มาก ก็คือการค้าสําเภาอันสืบเนื่องมากแต่สมัยกรุงธนบุรี การค้ากับต่างประเทศได้แก่ประเทศจีน ลังกา อินเดีย มลายู สิงคโปร์ มาเก๊า

การสงคราม
การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุงโดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตีไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ ชุมพร ไชยา และเมืองถลาง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงปรึกษาการต่อสู้กองทัพพม่าแล้วโปรดฯให้แบ่งกองทัพเป็น4ทัพคือ
               กองทัพที่ 1 กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์
               กองทัพที่ 2 กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปตั้งรับที่เมืองกาญจนบุรี
               กองทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางลำเลียงติดต่อกองทัพ
               กองทัพที่ 4 เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพลํ้าก็จะยกไปช่วยทันที การสงครามครั้งนี้ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีไทยทีละทัพ ก็ถูกไทยตีแตกไปทุกทัพด้วยหลักยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า

สงครามกับพม่า ( พม่าล้อมเมืองถลาง พ.ศ. 2328 )
    กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึงข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาวคุณหญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะเอาเมืองถลาง สู้รบกันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบียงอาหาร จึงเลิกทัพกลับไปเมื่อข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็นท้าวเทพกษัตรีส่วนนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

สงครามกับพม่า ( ศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 )
    สงครามครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้อมเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกองทัพเข้ามาทางด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เนื่องจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ดําเนินการแผนผิด เพราะตั้งแต่ทําสงครามมาไม่เคยแพ้ใครมาก่อนจึงพยายามที่จะตีไทยให้ได้จึงรวบรวมกําลังผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ และให้พระมหาอุปราชคุมคน 5 หมื่นคนตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นจอมทัพหลวงทัพทั้งสองเข้าตีพร้อมกัน พม่าทิ้งค่ายแตกหนีทุกค่าย กองทัพไทยไล่ฆ่าฟันและจับเชลยได้เป็นอันมาก ได้ทั้งช้าง ม้า เสบียงอาหาร และอาวุธ ตลอดจนปืนใหญ่

สงครามกับพม่า ( ลําปางและป่าซาง พ.ศ. 2330 )
    การที่พม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เริ่มทําตัวกระด้างกระเดื่อง พม่าต้องใช้เวลาปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและลําปาง ซึ่งเป็นเขตไทยขณะที่ตีอยู่นั้น ข่าวทราบถึงกรุงเทพฯ ซึ่งกําลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้องเปลี่ยนแผน รัชกาลที่ 1โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองทั้งสองโดยให้คนที่อยู่ในตัวเมืองตีด้านในทหารที่ไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งนี้กรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์

ไทยตีเมืองทวาย พ.ศ. 2330
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวายโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล 3 หมื่น ยกไปทางเหนือส่วนพระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวนเรือทางลํานํ้าไทรโยคขึ้นยกที่ท่าตะกั่วข้ามทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีความลําบาก หนทางกันดาร ทําให้คนในทัพเหนื่อยล้าอิดโรยจึงตีเมืองไม่ได้ ต้องเสด็จยกทัพกลับ ภายหลังต่อมาอีก 4 ปี เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ได้มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย

การรบที่เมืองทวาย พ.ศ. 2336
    รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดําริจะรบกับพม่าให้ได้ ได้ตั้งพระทัยใช้เมืองทวายเป็นฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรงยกทัพทางบก และโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืนได้เกิดกบฎขึ้นในเมืองมะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจําต้องทําสงครามทั้งสองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะอาศัยเมืองทั้งสามไม่ได้จึงต้องยกทัพกลับไป

พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2340
    พม่ายกทัพมาคราวนี้ 7 ทัพ โดยมุ่งหมายจะตีลานนาไทยอีก รัชกาลที่ 1 โปรดให้กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรงโปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระยาวังหลังติดตามเสด็จขึ้นไปช่วยทรงบัญชาการรบจนมีชัยชนะทรงขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาจนหมด

ศาสนา 
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอารามและได้ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทําสังคายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง

การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้าน  การติดต่อกับญวน พ.ศ. 2325กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็คือ องเชียงสือ ได้ลี้ภัยจากพวกกบฎแห่งเมืองไกเชิงได้พามารดาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอุปถัมภ์ไว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้งอาวุธยุทธภัณฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายาลอง"

การติดต่อกับจีน ติดต่อในฐานะการค้า  การติดต่อกับเขมรนักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมรยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้สําเร็จราชการประเทศเขมรทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี จึงได้กลับไปครองประเทศเขมร ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี " และโปรดให้พระยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครองเมืองพระตะบองขึ้นกับไทย ผู้นี้เป็นต้นตระกูล" อภัยวงศ์ "

การติดต่อกับประเทศตะวันตก 
ประเทศโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. 2329 องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสมเกียรติ
ประเทศอังกฤษ  มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ 1 ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน

พระราชนิพนธ์
งานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1
                - กลอนนิราศท่าดินแดง
                - กลอนบทละครเรื่องอิเหนา
                - กลอนบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต่อจากสมัยกรุงธนบุรี
                - กลอนบทละครเรื่อง อุณรุธ
                - กฎหมายตราสามดวง

เสด็จสวรรคต  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครองราชสมบัติได้ 27 ปีเศษ ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะนั้นทรงพระชนมายุได้ 74 พรรษา พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑ 
เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๘

ที่มา : https://www.learners.in.th/blogs/posts/407289