สมัยกรุงศรีอยุธยา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 43.5K views



สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 1
สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 2
สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 3
สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 4
สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 5

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนองโสน แล้วทำการราชาภิเษกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก คือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ในบางรัชสมัยพระมหาธรรมราชาและพระเพทราชา

ปัจจัยที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง คือ

   1. มีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ดี - มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน เช่น ป่าสัก เจ้าพระยา และลพบุรี ทำให้เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการค้าขาย

   2. มีความเหมาะสมทางยุธศาสตร์ - ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำ มีแม่น้ำล้อมรอบ ในฤดูฝนจะเกิดฤดูน้ำหลาก ทำให้เป็นเกาะป้องกันข้าศึก 

   3. มีความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ - เป็นพื้นที่ดินตะกอนปากแม่น้ำ เหมาะแก่การเกษตร

   4. เกิดช่องว่างทางการเมือง - อาณาจักรโดยรอบกำลังอ่อนแอ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นอาณาจักรที่สำคัญ

          การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

           1.  จังกอบ หรือ จำกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ที่นำเข้ามาจำหน่ายตามที่ได้อธิบายข้างต้น

          2.  อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

          3.  ส่วย ความหมายของส่วย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า คำว่า ส่วย

         -  สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง ส่วยตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นเครื่องราชบรรณาการ 
         -   เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล เนื่องจากสังคมไทยแต่ดั้งเดิม มีระบบเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยรัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะให้ความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน ทั้งนี้เดิมราษฎรที่ถูกเกณฑ์แรงงาน จะมาประจำการเป็นเวลาปีละ 6 เดือน โดยผู้ที่ไม่มารับราชการเมื่อถึงเวรของตน จะต้องเสียส่วยเรียกว่า ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรงนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเงินรัชชูปการในระยะต่อมา ( รัชกาลที่ 6 ) 
         -  เงินที่ทางราชการกำหนดให้ราษฎรร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง เช่น เกณฑ์ให้ช่วยสร้างป้อมปราการ เป็นต้น 
         -  ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลวง อันเนื่องจากเกินกำลังของทายาทที่จะเอาไว้ใช้สอย เป็นต้น

          4.  ฤชา คือค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรซึ่งได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว เช่น ผู้ใดจะขอโฉนดตราสาร เพื่อมิให้ผู้อื่นบุกรุกแย่งชิงที่เรือกสวนไร่นา จักต้องเสียฤชาแก่รัฐ เป็นต้น ฤชาที่สำคัญได้แก่ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับทางการศาล

                เมื่อพิจารณาตามลักษณะการจัดเก็บภาษีอากรข้างต้น จะเห็นว่ามีการจัดเก็บภาษีทั้งในรูปของการบังคับจัดเก็บจะได้รับประโยชน์ในทางอ้อม คือ กรณีจังกอบและส่วย ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือในรูป ที่ผู้ถูกจัดเก็บจะได้รับผลประโยชน์จากรัฐโดยตรง คือ อากรและฤชา

           ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการศึกษาค้นคว้าถึงวิวัฒนาการในด้านการบริหารงานจัดเก็บในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะพบว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นช่วงเวลาที่มีการปฏิรูประบบการปกครองแผ่นดินครั้งใหญ่ ทั้งในด้านการวางระเบียบทางการคลัง การส่วยสาอากร ฯลฯ โดยพระองค์ได้ทรงแบ่งการบริหารการปกครองออกเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่ดังนี้

 
  • เวียง   เรียกว่า   นครบาล   มีหน้าที่ราชการปกครองท้องที่ และดูแลทุกข์สุขของราษฎรพลเมือง
  • วัง   เรียกว่า   ธรรมธิกรณ์   มีหน้าที่ว่าราชการศาลหลวง และว่าราชการอรรถคดีในพระราชสำนัก
  • คลัง   เรียกว่า   โกษาธิบดี   มีหน้าที่ราชการจัดการพระราชทรัพย์ เก็บส่วยสาอากรซึ่งเป็นผลประโยชน์แผ่นดิน
  • นา   เรียกว่า   เกษตราธิบดี   มีหน้าที่ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับ เรื่องนาและสวน การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร

        ทั้งนี้โดยรูปแบบการบริหารงานฯของพระองค์ข้างต้น ได้ถูกใช้เป็นแบบอย่างรูปแบบการปกครองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา มี 5 ราชวงศ์ คือ

  1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
  3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 พระองค์

รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์

รายพระนาม

ลำดับพระนามพระราชสมภพเริ่มครองราชย์สิ้นรัชกาลสวรรคตรวมปีครองราชย์
ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1)
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(พระเจ้าอู่ทอง)
พ.ศ. 1855 พ.ศ. 1893 พ.ศ. 1912 20 ปี
2
(1)
สมเด็จพระราเมศวร พ.ศ. 1885 พ.ศ. 1912 พ.ศ. 1913 พ.ศ. 1938 ไม่ถึง 1 ปี
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1)
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
(ขุนหลวงพะงั่ว)
พ.ศ. 1853 พ.ศ. 1913 พ.ศ. 1931 18 ปี
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน
(เจ้าทองจันทร์)
พ.ศ. 1917 พ.ศ. 1931 7 วัน
ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2)
2
(2)
สมเด็จพระราเมศวร พ.ศ. 1885 พ.ศ. 1931 พ.ศ. 1938 7 ปี
5 สมเด็จพระรามราชาธิราช พ.ศ. 1899 พ.ศ. 1938 พ.ศ. 1952 ? 15 ปี
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2)
6 สมเด็จพระอินทราชา
(เจ้านครอินทร์)
พ.ศ. 1902 พ.ศ. 1952 พ.ศ. 1967 15 ปี
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
(เจ้าสามพระยา)
? พ.ศ. 1967 พ.ศ. 1991 24 ปี
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1974 พ.ศ. 1991 พ.ศ. 2031 40 ปี
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ? พ.ศ. 2031 พ.ศ. 2034 3 ปี
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2015 พ.ศ. 2034 พ.ศ. 2072 38 ปี
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
(หน่อพุทธางกูร)
? พ.ศ. 2072 พ.ศ. 2076 4 ปี
12 พระรัษฎาธิราช พ.ศ. 2072 พ.ศ. 2077 5 เดือน
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช ? พ.ศ. 2077 พ.ศ. 2089 13 ปี
14 พระยอดฟ้า
(พระแก้วฟ้า)
พ.ศ. 2078 พ.ศ. 2089 พ.ศ. 2091 2 ปี
- ขุนวรวงศาธิราช ? พ.ศ. 2091 42 วัน
(ไม่ได้รับการยกย่อง แต่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
15 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
(พระเจ้าช้างเผือก)
พ.ศ. 2048 พ.ศ. 2091 พ.ศ. 2111 20 ปี
16 สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ. 2082 พ.ศ. 2111 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 1 ปี
เสียกรุงครั้งที่ 1
ราชวงศ์สุโขทัย
17 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1)
พ.ศ. 2059 พ.ศ. 2112 พ.ศ. 2133 21 ปี
18 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2)
พ.ศ. 2098 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 25 เมษายน พ.ศ. 2148 15 ปี
19 สมเด็จพระเอกาทศรถ
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3)
พ.ศ. 2104 25 เมษายน พ.ศ. 2148 พ.ศ. 2153 5 ปี
20 พระศรีเสาวภาคย์
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4)
? พ.ศ. 2153 2 เดือน
21 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
(สมเด็จพระบรมราชาที่ 1)
พ.ศ. 2125 พ.ศ. 2154 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 17 ปี
22 สมเด็จพระเชษฐาธิราช พ.ศ. 2156 พ.ศ. 2171 พ.ศ. 2173 1 ปี 8 เดือน
23 พระอาทิตยวงศ์ พ.ศ. 2161 พ.ศ. 2173 พ.ศ. 2173 พ.ศ. 2178 36 วัน
ราชวงศ์ปราสาททอง
24 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5)
พ.ศ. 2143 พ.ศ. 2173 พ.ศ. 2199 25 ปี
25 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6)
? พ.ศ. 2199 9 เดือน
26 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
(พระสรรเพชญ์ที่ 7)
? พ.ศ. 2199 2 เดือน 17 วัน
27 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3)
พ.ศ. 2175 พ.ศ. 2199 พ.ศ. 2231 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 32 ปี
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
28 สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. 2175 พ.ศ. 2231 พ.ศ. 2246 15 ปี
29 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
(สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี)
(พระเจ้าเสือ)
พ.ศ. 2204 พ.ศ. 2246 พ.ศ. 2251 5 ปี
30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)
พ.ศ. 2221 พ.ศ. 2251 พ.ศ. 2275 24 ปี
31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2223 พ.ศ. 2275 พ.ศ. 2301 26 ปี
32 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
(ขุนหลวงหาวัด)
พ.ศ. 2265 พ.ศ. 2301 พ.ศ. 2339 2 เดือน
33 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
(พระเจ้าเอกทัศ)
พ.ศ. 2252 พ.ศ. 2301 7 เมษายน พ.ศ. 2310 26 เมษายน พ.ศ. 2311 9 ปี

ที่มา: https://www.rd.go.th/publish/3459.0.html

        https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2